โรคหัวใจ หรือHeart Disease หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมอาการต่างกันไปในแต่ละชนิดดังนี้

หากท่านมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยภาวะหัวใจโต และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

โรคหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด รักษาไม่ทัน…อันตรายถึงชีวิต

รู้หรือไม่ว่า “โรคหลอดเลือดหัวใจ” เป็นอีกหนึ่งโรคที่คนไทยเป็นกันจำนวนมาก โดยพบว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ที่ติดอันดับ 1 ใน 4 ของประชากรโลกรวมทั้งในประเทศไทย โดยปัจจุบันมักพบในผู้ที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

“โรคหัวใจ ขาดเลือด เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะหากเกิดอาการแล้ว นั่นหมายถึง ทุกวินาทีคือชีวิต หากรักษาไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้”

ภาวะหลอดเลือดแข็ง คืออะไร

“ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)” หรือ “ภาวะหลอดเลือดตีบ” เป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือด ชั้นใน หนาตัวขึ้นเรื่อยๆ มีไขมันไปสะสมระหว่างหลอดเลือด จนในที่สุดทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการของอวัยวะต่างๆ ขาดเลือดเกิดขึ้น

สาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็ง เกิดจาก

▪ การอุดตันหรือตีบแคบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ
▪ เกิดการสร้างคราบตะกอนไขมันขึ้นตามผนังด้านในของหลอดเลือดแดงของหัวใจ
▪ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจลดลงหรือเลือดไปเลี้ยงไม่ได้
▪ ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม ไขมันสะสมอุดตันอันเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็งไม่ได้เกิดเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถพบได้ตั้งแต่อายุไม่มาก ทั้งนี้เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานในปัจจุบันนั่นเอง

โรคหัวใจ เกิดจากอะไร?

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท

ปัจจัยเสี่ยงที่แปรเปลี่ยนไม่ได้

1. อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดเพิ่มขึ้น
2. เพศ ผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าผู้หญิง แต่ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว มีโอกาสเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจใกล้เคียงกับผู้ชาย
3. ประวัติครอบครัว หากมีบุคคลในครอบครัว เช่น ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ก็มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่แปรเปลี่ยนได้

1. น้ำหนักเกินและอ้วน
2. กลุ่มอาการที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนร่วมกับปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นๆ (Metabolic Syndrome) หรืออาจเรียกว่า “อ้วนลงพุง” ร่วมกับมีภาวะความผิดปกติ ได้แก่

▪ ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
▪ ระดับ HDL ในเลือด (ไขมันดี) ต่ำ
▪ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
▪ ระดับความดันโลหิตสูง

3. ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะเป็นภาวะที่ไม่แสดงอาการ
4. ความเครียด
5. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวาน
6. ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
7. การไม่ออกกำลังกาย
8. การสูบบุหรี่
9. การรับประทานผักและผลไม้ในแต่ละวันน้อยเกินไป

เจ็บหน้าอกแบบไหนที่เป็นอาการ โรคหัวใจ

▪ เจ็บ แน่นหน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ บีบรัดบริเวณกลางเยื้องมาทางด้านซ้าย โดยมักมีอาการเวลาออกแรงที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
▪ ปวดร้าวไปบริเวณแขนซ้ายขึ้นหัวไหล่
▪ เหงื่อแตก
▪ หน้าซีด คล้ายจะเป็นลม
▪ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

หากมีอาการดังกล่าว บวกกับมีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย นั่นอาจหมายถึงคุณเสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

“เจ็บหน้าอก” แต่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ! อาจเป็นอาการของโรคอื่น

▪ แสบร้อนที่หน้าอก เจ็บกลางอกหรือลิ้นปี่ บางครั้งมีเรอเปรี้ยว มักเป็นขณะอิ่ม เกิดจากโรคกรดไหลย้อน
▪ เจ็บแปล๊บๆ เจ็บหัวใจเหมือนถูกเข็มทิ่มแทงหรือถูกไฟช็อต เกิดจากเส้นประสาทอักเสบ
▪ เจ็บเวลาหายใจเข้าลึกๆ หรือเมื่อเอี้ยวตัว เกิดจากกล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
▪ กดเจ็บบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกซี่โครงใกล้ๆ ทรวงอก เกิดจากกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
▪ เจ็บตลอดเวลา เป็นนานหลายชั่วโมง หรือเป็นวันโดยที่ไม่มีอาการร้ายแรงอื่นๆ เกิดจากกล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
▪ อาการเจ็บไม่สัมพันธ์กับความหนักเบาของกิจกรรม เช่น เจ็บเวลานั่งหรือนอน แต่ขณะทำงานบางครั้งก็ไม่เจ็บ แม้จะออกแรงมากกว่าหรือเหนื่อยกว่า
▪ อาการเจ็บหน้าอกเฉพาะด้านขวา

*ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการอาจจะไม่จำเพาะเสมอไป ถ้ามีอาการที่ไม่ชัดเจนร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นก็อาจจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติม

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ

▪ การซักประวัติและตรวจร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
▪ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG: Electrocardiogram)
▪ การถ่ายภาพรังสีของทรวงอก (Chest X-ray)
▪ การตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด (Cardiac Enzyme Test)
▪ การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST: Exercise Stress Test)
▪ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (ECHO: Echocardiogram)
▪ การตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Computed Tomographic Angiography)
▪ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiovascular MRI: CMR)
▪ การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization or Coronary Angiogram)

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาหายไหม?

แนวทางในการรักษาขึ้นอยู่กับอาการ และร่างกายของคนไข้ ว่าเหมาะกับการรักษาวิธีใด

▪ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ออกกำลังกาย ไม่ดื่มเหล้า งดสูบบุหรี่ พยายามไม่เครียด ควบคุมน้ำหนัก นั่งสมาธิ
▪ การรักษาด้วยยา หลังจากได้รับการผ่าตัดแล้วจะต้องมียาบางตัวที่ต้องรับประทานตลอด เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด ซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
▪ การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการใส่ขดลวด
▪ การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือการทำ “บายพาส”

สุดท้ายนี้โรคหัวใจ เป็นโรคที่พบเจอมากในประชากรไทย ซึ่งการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจนั้นเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากมะเร็ง และอุบัติเหตุ ด้วยเหตุนี้จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคหัวใจไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลตัวเราอีกต่อไป ทั้งนี้มาจากสาเหตุที่วิถีการดำรงชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป ได้แก่

– การบริโภคอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เช่น การรับประทานอาหารขยะบ่อยๆ ทานผักและผลไม้น้อยเกินไป

– ขาดการออกกำลังกาย

– มีภาวะเครียดในการทำงานและการดำรงชีวิต

– มีอาการผิดปกติทางร่างกาย อาทิ ความดันเลือดสูง ภาวะไขมันผิดปกติ เบาหวาน เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่คงไม่สายเกินไปหากเราจะเริ่มหันมาดูแลสุขภาพของหัวใจตนเองและของคนที่คุณรัก ให้ห่างไกลจากสารพัดปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายที่จะทำให้เกิดภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด

11 Responses

  1. Pingback: โกโก้
  2. Pingback: กาแฟดำ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *