ความดันโลหิตสูง

โรค ความดันโลหิตสูง (HYPERTENSION) คืออะไร

สภาวะผิดปกติที่บุคคลมีระดับ ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าระดับปกติของคนส่วนใหญ่  และถือว่าเป็นสภาวะที่ต้องควบคุม   เนื่องจาก ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดความเสียหาย และการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง  นำไปสู่สภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด  หรือหลอดเลือดแตกได้  นอกจากนี้ความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ  ตามมาได้เช่น โรคหัวใจวาย โรคอัมพาต  โรคสมองเสื่อมหรือโรคไตวายเรื้อรัง

สัญญาณเตือนโรค ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตทั่วโลก สูงถึง 7.5 ล้านคน หรือ ร้อยละ 12.8 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด  และมีการคาดการณ์ว่า จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นของโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลก เพิ่มขึ้นถึงเป็น 1.56 พันล้านคน ในปี พ.ศ. 2568  ด้วยเพราะโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่มีการแสดงอาการให้เห็นโดยชัดเจน จึงมักถูกเรียกว่า ฆาตกรเงียบ (Silen Killer) หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และความเสี่ยงของหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นอีกเป็นสี่เท่า

เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า อัตราปกติหัวใจของคนเรา จะเต้นอยู่ประมาณ 60-80 ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว  ทั้งนี้ โดยปกติคนเราจะมีอัตราความดันโลหิต อยู่ที่ 120/80 – 139/89 มิลลิเมตรปรอท  ดังนั้น เราควรหมั่นสังเกตทั้งตัวเราเอง และผู้สูงอายุในความดูแล ว่าเข้าข่ายอาการโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่  โดยสังเกตจาก 5 สัญญาณที่ควรระวัง :-

ถือเป็นหนึ่งสัญญาณที่สังเกตง่ายสุด  อาการเหนื่อยหอบ คืออาการที่หัวใจเต้นแรงผิดปกติ  มีการหายใจเข้าออกเร็ว ๆ ถี่ ๆ  บางครั้งอาจจะมีอาการเพลียร่วมอยู่ด้วย  อาจเกิดขณะทำงาน หรือ ออกกำลังกายหนัก ๆ จนร่างกายเกิดการเหนื่อยล้า และนำไปสู่อาการหัวใจล้มเหลว  เพราะเหนื่อยเกินมากนั่นเอง หรือแม้กระทั่ง เราเคยได้ยินว่า แม้แต่ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ บางทีเกิดอาการเฉียบพลัน แล้วเกิดเส้นเลือดในสมองแตก เนื่องจากโดยพื้นฐานเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ลักษณะอาการปวดหัว เป็นอาการปวดหัวแบบมึน ๆ และปวดหัวตลอดเวลา บางครั้งปวดมาก ถึงขั้นขนาดอาเจียนก็เป็นได้ นั่นคือ ภาวะ Hypertensive Crisis  เป็นภาวะความดันขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว คือมากกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท  ฉะนั้น ถ้ามีอาการแบบนี้ อย่าเพิ่งชะล่าใจ ต้องรีบตรวจความดันโลหิตตัวเอง จะดีที่สุด

ถือเป็นอาการเปลี่ยนแปลงจอรับภาพของผู้ป่วย  ซึ่งโดยส่วนใหญ่ คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มักมีปัญหาทางสายตา อาการตามัว ปัญหาในการมองเห็น  ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้นึกถึงโรคความดันโลหิตสูงเป็นลำดับแรก

เลือดกำเดาไหล เกิดจากเส้นเลือดฝอยในจมูกแตก อาจเกิดจากภาวะร่างกายต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ร้อนไป หนาวไป  แต่ถ้าเลือดกำเดาไหล โดยไร้สาเหตุ โดยมีการอาการปวดศีรษะควบคู่ไปด้วย ก็อาจจะเป็นไปได้ในภาวะความดันโลหิตสูง

ถือเป็นหนึ่งอาการที่อาจสืบเนื่องมาจาการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง  ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนไม่พอ  สมองตื้อ น้ำตาลในเลือดสูง ถือเป็นอาการบ่งชี้อย่างหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูง

จะเห็นว่า ถ้าเราสังเกตจากตัวเราเอง พร้อมใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน รวมทั้งเรียนรู้การป้องกันเพื่อป้องกันการเสี่ยงเกิดโรคความดันโลหิตสูง  ที่มีส่วนต่อการทำให้เกิดโรคภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและมีผลต่อชีวิตได้

เมื่อไหร่จะเรียกว่า ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง

   การวัดความดันโลหิตสูง ค่าความดันที่วัดได้จะออกมา 2 ค่า คือ ค่าความดันตัวบนและค่าความดันตัวล่าง 

ค่าความดันตัวบน คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 140 (mm/Hg) ขึ้นไป
ค่าความดันตัวล่าง คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) ขึ้นไป

ซึ่งตัวเลขทั้งสองค่าจะรายงานเป็นมิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) โดยระดับความดันทั้ง 2 ค่า ยิ่งสูงมากก็ยิ่งจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากขึ้นตามลำดับ

ค่าความดันโลหิตที่ควรระวัง
   สูงเล็กน้อย      สูงปานกลาง      สูงมาก   
140 – 159 (mm/Hg)
   90 – 99 (mm/Hg)
160 – 179 (mm/Hg)
100 – 109 (mm/Hg)
มากกว่า 180 (mm/Hg)
มากกว่า 110 (mm/Hg)

ใครว่า “ความดันโลหิตสูง Hypertension ไม่อันตราย”คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่
เหล่านี้คือกลุ่มอาการที่พบบ่อยๆ ของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่

   สาเหตุของความดันโลหิตสูง   มากกว่า 90 %   เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Essential  Hypertension)  มักพบได้บ่อยในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง อายุมากส่วนใหญ่กลุ่มที่ทราบสาเหตุพบได้น้อย ซึ่งเกิดได้ในผู้ป่วยที่มีโรคอยู่แล้ว  เช่น โรคไต หลอดเลือดที่ไตตีบบครรภ์เป็นพิษ  เนื้องอกบางชนิด  โรคทางต่อมหมวกไตยาบางอย่าง เป็นต้น

หากปล่อยไว้นาน ไม่รักษา! อาจส่งผลเสียต่อร่างกายดังนี้

ระดับความดันโลหิตเท่าไรเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง

เราสามารถเช็คว่าเป็นความดันโลหิตสูงได้หรือไม่ ด้วยวิธีการวัดความดันโลหิต หากมีค่าความดันซิสโตลี (ค่าความดันตัวบน) มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) หรือ ค่าความดันไดแอสโตลี (ค่าความดันตัวล่าง) มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) โดยวัดในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะพัก นั่นหมายถึงคุณกำลังมีอาการของโรคความดันโลหิตสูง 

ความดันโลหิตสูง เพชฌฆาตเงียบทำลายหัวใจ

1. โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะแรงกดดันในหลอดเลือดแดงที่มีค่าสูงเกินปกติ (140/90 มิลลิเมตรปรอท)

2. ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ ดังนั้นถ้าป้องกันความดันโลหิตสูง ก็สามารถป้องกันอันตรายจากโรคหัวใจได้

3. ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือน ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจได้สั้นลง เลือดกำเดาไหล

4. นอกจากโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น หากเป็นโรคเบาหวาน โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคอ้วน ก็สามารถเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน

5. สามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วยการ ลดกินเกลือ (โซเดียม) เพิ่มการรับประทานผักผลไม้(รสหวานน้อย) การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยลง งดสูบบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่

ระดับความดันโลหิตปกติควรอยู่ที่เท่าไร?

ความดันโลหิตที่ “เหมาะสม” ของคนอายุ 18 ปี ขึ้นไป
อยู่ที่ 120-129 มม.ปรอท สำหรับตัวบน และ 80-84 มม.ปรอท สำหรับตัวล่าง

วิธีการวัดความดันด้วยตนเองที่บ้าน

  1. ไม่ดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ หรือออกกำลังกายก่อนทำการวัด 30 นาที
  2. ก่อนทำการวัดควรปัสสาวะให้เรียบร้อย
  3. นั่งเก้าอี้โดยให้หลังพิงพนัก เพื่อไม่ให้หลังเกร็งเท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบกับพื้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายเป็นเวลา 5 นาที ก่อนวัดความดันโลหิต
  4. วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ
  5. ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุยหรือขยับตัว

วิธีป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง

เนื่องจากความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแต่สามารถป้องกันได้ โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ดังนี้

ทั้งนี้ หากพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงควรรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่องเพราะโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย แต่สามารถควบคุมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

One Response

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *