ไมเกรน เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีอาการปวดหัวรุนแรงชนิดหนึ่ง หลายคนเข้าใจว่าไมเกรนจะต้องมีอาการปวดหัวข้างเดียวเท่านั้น แต่ในบางคนก็มีอาการปวดหัวทั้งสองข้างได้เช่นกัน โดยผู้ป่วยมักมีอาการปวดหัวมาก และมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย
ผู้ป่วยไมเกรนบางรายอาจมีอาการนำ เช่น เห็นแสงไฟวาบ เห็นแสงขาวเป็นเส้นซิกแซก เห็นภาพมืดเป็นบางส่วน มีอาการชาส่วนต่างๆ แขนขาอ่อนแรง หูอื้อ มีปัญหาเรื่องการพูด ซึ่งมักจะเป็นก่อนเกิดอาการปวดหัวประมาณ 1 ชั่วโมง
ไมเกรนเป็นโรคปวดหัวเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่การรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาความปวด ลดความถี่ในการเกิดไมเกรน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ไมเกรน (Migraine) คืออะไร?

ไมเกรน (Migraine) คือ โรคทางระบบประสาท (Neurological Disease) ชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหัวข้างใดข้างหนึ่ง หรือในบางรายก็อาจมีอาการปวดหัวทั้งสองข้าง และมีระดับความรุนแรงปานกลางไปจนถึงขั้นกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง และมักจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียนร่วมด้วย รวมถึงผู้ป่วยจะมีความไวต่อแสงและเสียง

ไมเกรนถือเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ พบได้ทั่วไปตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่มักพบมากในวัยทำงาน เนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมที่มีความเครียดสูง และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ไมเกรน
ไมเกรนมีกี่แบบ?

โรคไมเกรนมีหลากหลายแบบ แต่ที่พบได้มากที่สุดมี 2 แบบคือ ไมเกรนที่มีอาการเตือน (Migraine with Aura) และไมเกรนที่ไม่มีอาการเตือน (Migraine without Aura) ในผู้ป่วยบางคนอาจเกิดไมเกรนทั้ง 2 แบบสลับกัน นอกจากนี้ยังมีไมเกรนแบบอื่นๆ ที่มีอาการบ่งชี้แตกต่างกันไป มาทำความรู้จักชนิดของไมเกรนกันว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละแบบเป็นอย่างไร

1. ไมเกรนที่ไม่มีอาการแจ้งเตือน (Migraine without Aura)

ไมเกรนที่ไม่มีอาการแจ้งเตือนพบได้มากกว่าไมเกรนที่มีการแจ้งเตือน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวโดยไม่มีอาการใดๆ ที่เป็นสัญญาณเลย มีลักษณะดังนี้

  1. มีอาการปวดหัวเกิดขึ้น 4-72 ชั่วโมง หากไม่ได้รับประทานยาหรือรักษาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
  2. ลักษณะของการปวดหัวจะมีอย่างน้อย 2 ข้อจากลักษณะทั้งหมดดังนี้
    • ปวดด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ
    • มีอาการปวดแบบตุบๆ
    • ระดับของอาการปวดจะอยู่ที่ปานกลางจนถึงขั้นปวดรุนแรง
    • อาการปวดจะรุนแรงขึ้นหากเคลื่อนไหวร่างกาย เดิน หรือขึ้นบันได
  3. อาการปวดหัวจะส่งผลให้เกิดอย่างน้อย 1 ข้อจากลักษณะดังนี้
    • มีอาการไวต่อแสง
    • มีอาการไวต่อเสียง
    • รู้สึกวิงเวียนศีรษะมาก อาจมีหรือไม่มีอาการอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย
  4. อาการปวดศีรษะดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคอื่นๆ
2. ไมเกรนที่มีอาการแจ้งเตือน (Migraine with Aura)

เป็นชนิดของไมเกรนที่พบได้ประมาณ 25% ของผู้ที่เป็นไมเกรนทั้งหมด โดยผู้ป่วยไมเกรนแบบที่มีอาการแจ้งเตือน มักจะมีอาการอย่างน้อย 2 ข้อจากอาการทั้งหมดดังต่อไปนี้

  1. มีสัญญาณเตือนนำมาก่อน ซึ่งจะต้องมีอย่างน้อย 1 ข้อจากสัญญาณเตือนทั้งหมด ดังนี้
    • อาการนำทางตา (Visual Aura) เช่น เห็นแสงแฟลช หรือเห็นไฟสีขาวเป็นเส้นซิกแซก เห็นแสงระยิบระยับ เห็นภาพมืดเป็นบางส่วน เห็นภาพเบลอหรือบิดเบี้ยว มองไม่เห็นชั่วขณะ
    • อาการนำทางความรู้สึก (Sensory Aura) เช่น อาการชาบริเวณต่างๆ ของร่างกาย อารมณ์แปรปรวน รู้สึกเวียนหัว ทรงตัวไม่อยู่
    • อาการนำทางการพูด (Speech Aura) เช่น มีอาการพูดไม่ได้ชั่วขณะ นึกคำพูดไม่ออก หรือไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด
    • อาการนำที่ก้านสมอง (Brainstem Aura) เช่น รู้สึกเวียนหัวเหมือนบ้านหมุน (Vertigo) มีเสียงดังในหู หูอื้อ ได้ยินเสียงวิ้งๆ สูญเสียการได้ยินชั่วขณะ เห็นภาพซ้อน เดินเซ
    • อาการนำแบบอ่อนแรงครึ่งซีก (Hemiplegic Aura) จะมีอาการแขนขาอ่อนแรงที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
  2. สัญญาณเตือนต่างๆ มักจะเกิดขึ้นอย่างน้อย 5 นาทีหรืออาจเป็นชั่วโมง และอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นพร้อมๆ กับอาการปวดหัว หรือเกิดก่อนอาการปวดหัวประมาณ 1 ชั่วโมง
  3. อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack: TIA)
3. ไมเกรนเรื้อรัง (Chronic Migraine)

ผู้ป่วยที่มีอาการไมเกรนเรื้อรังจะมีอาการปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน และต่อเนื่องนานกว่า 3 เดือนหรือมากกว่านั้น จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่แย่ลง

นอกจากนี้เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดหัวต่อเนื่อง จึงทำให้ต้องรับประทานยาแก้ปวดต่อเนื่องหรือเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ตัวยาไม่สามารถออกฤทธิ์แก้ปวดได้อีกและส่งผลเสียทำให้เกิดอาการปวดหัวแทน เรียกว่า Medication Overuse Headache หรือ MOH

เมื่อเทียบกับผู้ป่วยไมเกรนชนิดอื่น ผู้ป่วยไมเกรนชนิดเรื้อรังมีแนวโน้มสูงกว่าที่เกิดอาการเหล่านี้

4. ไมเกรนเฉียบพลัน (Acute Migraine)

เป็นอาการปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่อาการเรื้อรัง หรือเรียกว่าอาการปวดไมเกรนแบบนานๆ ครั้ง (Episodic Migraine) โดยอาการปวดหัวไมเกรนชนิดนี้จะเกิดขึ้นไม่เกิน 14 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป และอาการที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรงเท่าผู้ที่เป็นไมเกรนเรื้อรัง

5. ไมเกรนตา (Ophthalmic Migraine)

หรือเรียกภาษาอังกฤษแบบอื่นได้ว่า Eye Migraine, Ocular Migraine, Optical Migraine, Monocular Migraine หรือ Retinal Migraine เป็นชนิดของไมเกรนที่พบได้ไม่บ่อยนักและจะมีสัญญาณเตือน อาการไม่รุนแรง โดยไมเกรนตามักจะมีอาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง ดังนี้

โดยอาการผิดปกติที่ดวงตาเหล่านี้ มักเกิดขึ้นพร้อมกับอาการปวดศีรษะได้นานเป็นชั่วโมง ไม่ถือเป็นอาการที่ไม่ทำให้เกิดโรคต้อหิน ผู้ที่เป็นไมเกรนตามักจะเป็นไมเกรนชนิดอื่นร่วมด้วย

6. ไมเกรนในช่วงมีประจำเดือน (Menstrual Migraine)

ไมเกรนชนิดนี้จะมีความสัมพันธ์กับการมีประจำเดือน พบได้ถึง 60% ของผู้หญิงที่มีประจำเดือนทั้งหมด สามารถเกิดขึ้นโดยมีอาการนำหรือไม่มีก็ได้ และสามารถมีอาการทั้งก่อน ระหว่าง และหลังมีประจำเดือน รวมทั้งช่วงที่มีการตกไข่อีกด้วย เนื่องมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และอาการจะลดน้อยลงหรือหายไปเมื่อถึงวัยใกล้หมดประจำเดือน ยาที่ใช้รักษาอาการไมเกรนชนิดนี้ ควรเป็นตัวยาที่ออกฤทธิ์กับสารเซโรโทนินหรือฮอร์โมน

7. ไมเกรนที่มีอาการนำแต่ไม่มีอาการปวดหัว (Acephalgic Migraine)

เป็นอาการไมเกรนที่มักจะมีอาการนำมาก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นอาการนำเกี่ยวกับสายตา แต่ไม่มีอาการปวดศีรษะตามมา มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยอาการนำ (Aura) จะเกิดขึ้นหลายนาที และค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นอาการอื่นๆ เช่น อาการชา มีปัญหาด้านการพูด รวมถึงปัญหาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วน แม้จะไม่ปวดหัวแต่ก็ทำให้เกิดความรำคาญ และอันตรายต่อการทำกิจกรรมบางอย่าง โดยเฉพาะการขับขี่ยานพาหนะ

ไมเกรน
สาเหตุของไมเกรน

ไมเกรน เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงในสมองมีการบีบและคลายตัวที่มากกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุที่เกิดนั้นยังไม่มีความชัดเจน แต่เป็นไปได้ว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าในสมอง สารเคมีในสมองโดยเฉพาะสารเซโรโทนิน (Serotonin) หรือความไวในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น แสงแดดจ้า อากาศร้อน ฯลฯ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไมเกรน
ไมเกรน
อาการปวดหัวไมเกรนเป็นอย่างไร?

อาการปวดหัวไมเกรนหลักๆ คือ จะปวดหัวข้างเดียว ซึ่งอาจเป็นสลับข้างซ้ายและขวา หรือเป็นทั้ง 2 ข้าง สามารถปวดไปถึงท้ายทอยและกระบอกตาได้เช่นกัน โดยอาการปวดจะมีลักษณะปวดเป็นจังหวะหรือปวดตุบๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมงไปจนถึงหลายวัน มักมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เดิน ขึ้นบันได หรือเปลี่ยนท่าทาง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แพ้แสงหรือเสียงร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนจากไมเกรน
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์

หากอาการไมเกรนมีความรุนแรง มีอาการปวดหัวมาก คลื่นไส้ และอาเจียน 2-3 ครั้งขึ้นไป มีอาการปวดบ่อยๆ เรื้อรัง หรือปวดหัวแต่ละครั้งเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

การรักษาไมเกรน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *