เมลาโทนิน

เมลาโทนิน (Melatonin) คือฮอร์โมนที่สมองของเราสร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติ เพื่อช่วยควบคุมการนอนและเป็นนาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ของร่างกาย โดยสมองจะหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นมาในช่วงเวลากลางคืน ทำให้ร่างกายรู้สึกง่วงและทำให้หลับ อาการนอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่พบได้ในหลายช่วงอายุ ทั้งวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ นอนไม่หลับเกิดได้จากหลายสาเหตุ ท่านสามารถป้องกันปัญหานอนไม่หลับได้จากการปรับพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ในช่วงเวลาเย็นหรือใกล้เวลาเข้านอน เป็นต้น

หากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่สามารถช่วยให้ท่านนอนหลับได้ง่ายขึ้น การรับประทานยาหรือฮอร์โมนทดแทนเพื่อช่วยบรรเทาปัญหานอนไม่หลับอาจเป็นทางเลือกหนึ่ง โดยฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อให้ร่างกายเข้าสู่การนอนหลับ  คือ “เมลาโทนิน”

เมลาโทนิน

เมลาโทนินคืออะไร?

เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากสมอง โดยสมองจะถูกกระตุ้นให้สร้างเมลาโทนินในเวลาที่ไม่มีแสงหรือมีแสงสว่างน้อย เมื่อถึงเวลากลางคืนสมองจะหลั่งเมลาโทนินออกมาสู่กระแสเลือด ทำให้ร่างกายรู้สึกง่วง ซึ่งปกติจะเป็นเวลาประมาณ 21.00 น. 

ระดับของเมลาโทนินจะคงอยู่ในกระแสเลือดของเราเป็นเวลา 12 ชั่วโมงแล้วจะค่อยๆ ลดลงพร้อมกับการกลับมาของแสงอาทิตย์ และในเวลาประมาณ 9.00 น. ระดับเมลาโทนินจะลดต่ำลงจนวัดระดับไม่ได้

ปัจจัยใดบ้าง ที่ส่งผลต่อการสร้างเมลาโทนิน?

ช่วงเวลากลางวันและกลางคืน เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและหลั่งเมลาโทนิน นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องแสงและความสว่างก็ส่งผลต่อการหลั่งเมลาโทนินเช่นกัน บางครั้งจึงเรียกฮอร์โมนชนิดนี้ว่า “Dracula of hormones” เนื่องจากเมลาโทนินจะหลั่งออกมาในเวลากลางคืน หรือเมื่ออยู่ในที่มืด มีแสงน้อย และร่างกายจะถูกยับยั้งการหลั่งเมลาโทนินเมื่ออยู่ภายใต้แสงไฟ ความสว่างของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

บทบาทของเมลาโทนินต่อนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm) ของร่างกาย

นาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm) คือ ลักษณะทางชีววิทยาตลอด 24 ชั่วโมงของแต่ละคนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน อุณหภูมิของร่างกาย การหลับและการตื่น เป็นต้น

วงจรการหลับและการตื่นก็เป็นวงจรหนึ่งที่นาฬิกาชีวภาพเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก  นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อวงจรดังกล่าว ได้แก่ ระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด ระดับเมลาโทนิน อุณหภูมิในร่างกาย และแสงสว่าง เป็นต้น

เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่มีผลเป็นอย่างมากต่อการนอนหลับ หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเมลาโทนินสูงจะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น และมีส่งผลต่อระยะเวลาในการนอนที่นานขึ้นอีกด้วย

เมลาโทนิน

ประโยชน์ของเมลาโทนิน มีอะไรบ้าง?

เนื่องจากเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับโดยตรง จึงทำให้ประโยชน์ของฮอร์โมนนี้เกี่ยวข้องกับวงจรการนอนหลับเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันฮอร์โมนดังกล่าวสามารถสร้างขึ้นภายนอกร่างกายด้วยวิธีการสังเคราะห์ และนำมาผลิตเป็นอาหารเสริม หรือยาที่ใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาในการนอนหลับได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ โดยประโยชน์ของการใช้เมลาโทนินเพื่อบรรเทาปัญหาการนอนหลับ มีดังนี้

อาการข้างเคียงจากการใช้เมลาโทนิน?

แม้ว่าเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกาย แต่การใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนดังกล่าว อาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากการได้รับฮอร์โมนนี้ติดต่อกันในระยะยาว ดังนั้น แพทย์จึงมักแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนดังกล่าวในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงต่างๆ เช่น อาการง่วงเหงาหาวนอนระหว่างวัน  ปวดศีรษะ  วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *