สมรสเท่าเทียม

สมรสเท่าเทียม เป็นการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อสนับสนุนสิทธิความเท่าเทียม ทางเพศของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่ถูกพูดถึงและเป็นที่ถกเถียง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนเกิดแฮชแท็ก #สมรสเท่าเทียม ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 บนโซเชียลมีเดียหลายครั้ง นำไปสู่การลงชื่อ เรียกร้องให้มีการร่าง พ.ร.บ.

เพื่อผลักดันเป็นกฎหมายต่อไป เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศทั่วโลก ที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกัน สามารถสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ล่าสุด สภาฯ มีมติรับหลักการร่างกฎหมาย ที่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ทั้งร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม-คู่ชีวิต จำนวน 4 ฉบับ ในวาระแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การพิจารณา และศึกษาร่างกฎหมายอย่างละเอียด ในขั้นตอนต่อไปอีกครั้ง ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ที่น่ายินดีที่จะสร้างความเท่าเทียม ทางกฎหมายให้เกิดขึ้น กับประชาชนทุกเพศ

สมรสเท่าเทียม

ทำความรู้จักสมรสเท่าเทียมคืออะไร?

สมรสเท่าเทียมคือ สิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐานในการสร้างครอบครัว โดยไม่จำกัดเพศ ซึ่ง ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเคยเป็นร่างกฎหมาย ที่พรรคก้าวไกลยื่นร่างต่อสภาฯ ในปี พ.ศ.2563 ก่อนที่จะผ่านวาระแรก พร้อมกับร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศ ทั้งหมดจำนวน 4 ฉบับ เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดต่างๆ ในการสมรส จดทะเบียนสมรส และใช้ชีวิตคู่เป็นคู่สมรส ไม่ว่าบุคคลเพศสภาพใดเมื่อสมรสกัน ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ ที่กฎหมายรองรับ โดยไม่จำเป็นว่าคู่สมรสนั้น ต้องเป็นชายและหญิงเท่านั้น ทำให้มีการร่างข้อกฎหมาย ที่แก้ไขถ้อยคำระบุรายละเอียด ให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น

สมรสเท่าเทียม

ประโยชน์ของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมสนับสนุนสิทธิ LGBTQIA+ อย่างไร?

หาก พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมผ่านมติสภาฯ และการพิจารณาของ คณะกรรมาธิการ ในทุกวาระ และถูกบังคับใช้เป็นกฎหมาย ในไทยสมรสเท่าเทียม จะมีประโยชน์ในการมอบสิทธิ และความเท่าเทียมให้แก่ทุกเพศ เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายยังยอม รับการสมรสเฉพาะแค่เพศชาย-หญิง เท่านั้น แต่หากมีการผ่าน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมกลุ่ม ผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ไม่ว่าจะเพศสภาพใด ก็สามารถสมรส จดทะเบียนสมรส และเข้าถึงสวัสดิการจากรัฐที่เป็นประโยชน์ได้ ยกตัวอย่าง ดังนี้

ความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมและ “พ.ร.บ.คู่ชีวิต”

อย่างไรก็ตาม การผลักดันเรื่องสมรสเท่าเทียม ให้ผ่านเป็นกฎหมายในไทย ยังคงเป็นประเด็นที่สังคม ให้ความสนใจและจับตามอง หากในที่สุดแล้วถูกนำมาปรับใช้ เป็นกฎหมายอย่างถูกต้อง นับเป็นก้าวสำคัญของกฎหมายไทย สู่การส่งเสริมความเท่าเทียม และเสมอภาคให้แก่กลุ่ม ผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) และทุกเพศสภาพในสังคม ซึ่งถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ที่ทุกคนต้องตระหนักร่วมกัน.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *