ผื่นกุหลาบ

ผื่นกุหลาบ หรือ โรคขุยดอกกุหลาบ เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ถึงแม้จะไม่ใช่โรคที่อันตรายอะไรมากนัก แต่กลับเป็นโรคที่สร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้พอสมควร เพราะจะเกิดผื่นขึ้นทั่วร่างกาย หรือในบางรายก็อาจพบอาการอื่นๆร่วมด้วย วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่าโรคผื่นกุหลาบมีสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา อย่างไรบ้าง

สาเหตุของ ผื่นกุหลาบ หรือผื่นขุยกุหลาบ

ผื่นกุหลาบ

พญ.กมลวรรณ พงศ์ปริตร แพทย์ผู้ชำนาญด้านผิวหนังและความงาม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC) ระบุว่า ผื่นกุหลาบ เป็นโรคผิวหนังที่ไม่ค่อยรุนแรง ไม่ใช่โรคติดต่อ เป็นโรคที่เกิดจากปฏิกิริยาของผิวหนังต่อภาวะบางอย่าง เช่น โรคติดเชื้อไวรัสบางชนิดในกลุ่ม Human herpes virus 6, 7 ซึ่งไม่ใช่ไวรัสสายพันธ์ุที่เป็นสาเหตุของโรคเริมและโรคอีสุกอีใส และผื่นกุหลาบไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสผิวหนังที่เป็นโรคได้

สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจ การใช้ยาบางประเภทก็อาจกระตุ้นให้เกิดผื่นกุหลาบได้ เช่น Captopril ยาลดความดันโลหิตกลุ่มยาต้านเอนไซม์เอซีอี ยาฆ่าเชื้อ Metronidazole ยา Isotretinoin ที่ใช้รักษาสิว ยา Omeprazole สำหรับรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ยา Terbinafine สำหรับรักษาเชื้อรา เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงผื่นกุหลาบ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นถึงวัยกลางคน พบน้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ส่งผลให้เกิดผื่นขึ้นบริเวณหน้าอก หลัง ต้นแขน ต้นขา คอ ซึ่งมีความกว้างประมาณ 4 นิ้ว โดยผื่นจะปรากฎขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป 6-12 สัปดาห์ และอาจหายไปเองภายใน 1-3 เดือน โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา ทั้งยังไม่สามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นโดยการสัมผัส ผื่นกุหลาบมักส่งผลกระทบต่อเด็ก ผู้ใหญ่ และวัยรุ่นช่วงอายุ 10-35 ปี แต่สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคนี้แล้วมักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

อาการของผื่นกุหลาบ

ผื่นจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

บางคนอาจรู้สึกไม่สบายร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดข้อ ร่วมด้วย ทั้งนี้อาการผื่นขุยทั้ง 2 ระยะจะปรากฏอยู่นาน 2-12 สัปดาห์ อาจหายแล้วทิ้งรอยดำได้ แต่จะไม่ทำให้เกิดแผลเป็น บางรายอาจมีอาการคงอยู่นานถึง 5 เดือนและหายไปเอง

การวินิจฉัย ผื่นกุหลาบ

ผื่นกุหลาบ

ในเบื้องต้น แพทย์มักวินิจฉัยผื่นกุหลาบด้วยการตรวจดูผิวหนังบริเวณที่เกิดความผิดปกติ หากยังไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน แพทย์อาจสั่งตรวจด้านอื่นเพิ่มเติม เช่น

วิธีการรักษาผื่นกุหลาบ

ผื่นกุหลาบ ไม่ใช่โรคติดต่อ โดยปกติแล้วอาการผื่นกุหลาบมักจะหายไปได้เองภายใน 2-12 สัปดาห์ การรักษาเป็นแบบการประคับประคองตามอาการเป็นหลัก

การใช้ยารักษา

การดูแลตัวเองสำหรับโรคผื่นกุหลาบ

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยบางรายสังเกตตัวเองว่า มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นได้บ่อย ก็อาจหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นนั้นๆ เช่น ยาบางชนิด อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง เหงื่อ สิ่งแวดล้อมบางอย่าง เป็นต้น

การป้องกันโรค ผื่นกุหลาบ

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรค เนื่องจากยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้อย่างแน่ชัด ผื่นกุหลาบ สามารถพบได้ตลอดทั้งปี โดยส่วนใหญ่มักพบบ่อยในช่วงฤดูฝน อาจเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลง เป็นโรคที่ไม่รุนแรง หายไปได้เองภายใน 2-12 สัปดาห์ การทราบถึงตัวโรคและสาเหตุ รวมถึงคำแนะนำในการปฏิบัติตนและพยากรณ์โรค จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจภาวะที่เป็นมากขึ้น ไม่เครียดไม่กังวลจนเกินไป การรักษาตามอาการ เช่น ยารับประทานลดอาการคัน หรือยาทากลุ่ม Steroid จะช่วยบรรเทาอาการคันได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *