เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ราคาสินค้า-บริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้นจะกระทบฐานะ และความเป็นอยู่ของประชาชน

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อ คือ กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย

โลกกำลังเผชิญสารพัด “ความท้าทาย” ที่โหมซัดเข้ามาไม่หยุด ทั้งวิกฤติโควิด ศึกสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ดันราคาพลังงานทั่วโลกพุ่งสูงทะลุเพดาน อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยเสี่ยงของศึกสงครามที่อาจยืดเยื้อ บานปลาย ประเมินจุดจบไม่ได้ กลายเป็นปัจจัยลบฉุดให้เศรษฐกิจทั้งโลกดิ่งเหว ความท้าทายมากมายเหล่านี้กดดันให้ “ธุรกิจ” ต้องปรับแผนปรับยุทธศาสตร์องค์กรเพื่อรับมืออย่างเร่งด่วน ทั้งการควบคุมต้นทุน การกระจายความเสี่ยง เน้นลงทุนในคอร์บิซิเนสที่เชี่ยวชาญ

กระทรวงพาณิชย์ ส่วนหนึ่งคือการดูแลราคาสินค้า และบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาส หรือเอาเปรียบผู้บริโภค หรือตรึงราคาไว้ในช่วงที่สินค้าขาดแคลนระยะสั้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ติดตามรวบรวมข้อมูลราคาสินค้า และบริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำทุกวันจากตลาดและแหล่งจำหน่ายต่างๆ ทั่วประเทศ นำมาคำนวณจัดทำเป็นดัชนีที่เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภาวะเงินเฟ้อสามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัดนี้ว่า “อัตราเงินเฟ้อ”

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูและเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และความกินดีอยู่ดีของประชาชน

เงินเฟ้อ เกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้ 2 สาเหตุหลักๆ คือ

  1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้า และบริการเพิ่มขึ้น (เรียกว่า Demand-Pull Inflation) ประกอบกับสินค้าและบริการนั้นๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
  2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า Cost-Push Inflation) คือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย
เงินเฟ้อกับเงินฝืดต่างกันอย่างไร

ตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนลดลง หรือ ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งอาจทำให้ราคาสินค้าปรับลดลง ผู้ผลิตก็อาจไม่ต้องการผลิตสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม ทำให้ลดกำลังการผลิตลง และส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซาในที่สุด

จะเห็นได้ว่า ทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด เกิดจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของเศรษฐกิจตามวัฏจักร แต่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อ ก็ล้วนส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น

ผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป

รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทาให้ประชาชนมีอานาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทาให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ

อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง ยกตัวอย่างกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี แต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีเท่านั้น แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ – 0.5 ต่อปีซึ่งถือว่ากาลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง การฝากเงินทาให้ได้รับผลตอบแทนจริงๆ ติดลบ ทาให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์และหุ้น เป็นต้น ทาให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ ก็อาจทำให้เกิดเป็นภาระหนี้สินได้

ผลต่อผู้ประกอบการ-นักธุรกิจ

เงินเฟ้อ

เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น

ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่นๆ

ผลต่อประเทศ

ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย

ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทาให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน

บทบาทของหน่วยงานในการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงพาณิชย์ จะใช้เครื่องมือนโยบายการเงินดูแลคาดการเงินเฟ้อ โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงินดูแลรักษาระดับของเงินเฟ้อผ่านเครื่องมือ 3 ประเภท ดังนี้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *