การทำ ดีท็อกซ์ ด้วยการถ่ายอุจจาระ ทำให้รู้สึกตัวเบา แต่การขับถ่ายมีเพียงอุจจาระและน้ำเท่านั้น ร่างกายไม่ได้เผาผลาญไขมันส่วนเกินออกไป
น้ำหมักที่ได้จากการหมักผักและผลไม้ไม่สามารถล้างสารพิษออกจากร่างกายได้ แต่กลับเสี่ยงเพิ่มสารพิษตกค้าง หาก ล้างผักและผลไม้ไม่สะอาด
ยาระบาย มีฤทธิ์ช่วยดึงน้ำออกจากผนังลำไส้ ส่งผลให้เนื้ออุจจาระนิ่มและขับถ่ายออกได้ง่าย ซึ่งยาระบายไม่สามารถชะ ล้างสารพิษ ตกค้างในร่างกายได้ กรณีที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์
ปัจจุบันการแชร์และส่งต่อข่าวสารสุขภาพเกิดขึ้นมากมายทุกวัน หลายเรื่องเป็นความจริงที่ผ่านการวิจัย พิสูจน์และรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ แต่หลายครั้ง ข่าวสารกลับเผยแพร่อย่างบิดเบือนจนน่าตกใจ
ดีท็อกซ์ คืออะไร?
ดีท็อกซ์ (Detox) คือคำที่ใช้เรียก การกำจัดสารพิษ สิ่งสกปรก ที่ตกค้างในร่างกายออกมา จริงๆ แล้วคำว่า Detox นั้นมาจากคำเต็มว่า Detoxification ที่มีความหมายว่าล้างพิษนั่นเอง
การดีท็อกซ์นั้นสามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่จะพูดถึงในบทความนี้คือ การดีท็อกซ์ด้วยการสวนล้างลำไส้ (Colon cleanse, Colonic irrigation หรือ Colonic detoxification) ซึ่งเป็นวิธีดีท็อกซ์ยอดนิยม
วิธีการก็คือใช้อุปกรณ์ใส่น้ำ หรือสารบางอย่าง เช่น น้ำเกลือ (NSS) บีบสวนเข้าทางทวารหนัก เพื่อให้น้ำเข้าไปกวาดเอาสิ่งสกปรก แล้วขับออกมาทางอุจจาระ (ลักษณะคล้ายการเร่งถ่าย)
ประโยชน์ของการดีท็อกซ์
การดีท็อกซ์ ด้วยการสวนล้างลำไส้ มีประโยชน์ที่อาจเป็นไปได้ดังนี้
- ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก อุจจาระไม่ออก
- ช่วยบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome) ท้องผูกสลับกับท้องเสีย
- อาจมีส่วนช่วยให้น้ำหนัก ลดลงชั่วคราว เพราะถ่ายของเสียออกมา
- อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยง มะเร็งลำไส้ เพราะของเสียที่ตกค้างเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งได้
- อาจมีส่วนช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น เนื่องจากลำไส้ดูดซึมได้ดีขึ้น รู้สึกมีพลังงานมากขึ้น
แต่ก่อนจะตัดสินใจ! ประโยชน์จากการดีท็อกซ์ ด้วยการสวนลำไส้นี้ยังคงไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยัน ได้ชัดเจน การดีท็อกซ์ ด้วยการสวนลำไส้จึงเป็นการรักษา แบบทางเลือกเท่านั้น
นั่นหมายความว่าควรขอ คำแนะนำจากแพทย์ หรือต้องทำโดยมีบุคลากรทางการแพทย์ เช่น หมอ พยาบาล คอยกำกับดูแล
ใครไม่ควรดีท็อกซ์ล้างลำไส้
แม้คนส่วนใหญ่จะไม่ต้อง ทำดีท็อกซ์ล้างลำไส้ เพียงแค่รับประทานอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำเยอะๆ และการออกกำลังกายเป็นประจำก็ช่วยให้ลำไส้ ทำงานได้อยู่แล้ว
แต่สำหรับบางคนอาจถึงขึ้น ต้องหลีกเลี่ยงการทำดีท็อกซ์ล้างลำไว้ เพราะอาจเกิดผลกระทบ ที่เป็นอันตรายได้ ดังนี้
- ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) โรคระบบทางเดินอาหารอักเสบเรื้อรัง (Crohn’s Disease) ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) เป็นต้น
- ผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดลำไส้
- ผู้ที่เป็นโรคไต (Kidney Disease)
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
ผู้ที่มีเงื่อนไขต่างๆ ดังที่กล่าวมา อาจเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ไตวาย เกิดการติดเชื้อ หรือภาวะอื่นๆ ได้ เว้นแต่ แพทย์ผู้ดูแลจะอนุญาตเท่านั้น
ควรดีท็อกซ์สวนล้างลำไส้บ่อยแค่ไหน?
ไม่มีจำนวนแน่ชัด ในการให้แนะนำว่า ควรสวนล้างลำไส้บ่อยแค่ไหน เพราะโดยปกติร่างกายมีกลไกการกำจัดสารพิษและ สิ่งสกปรกออกได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว
แพทย์จะสวนล้างลำไส้ ในกรณีที่เห็นสมควรเท่านั้น เช่น ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกอย่างหนัก ผู้ที่กำลังจะรับการผ่าตัดบางชนิด ผู้ที่กำลังจะรับการเอกซเรย์ลำไส้ (และกลัวอุจจาระบังภาพ)
ดังนั้น การดีท็อกซ์สวนล้างลำไส้ ควรทำเฉพาะเวลา ที่มีปัญหาอันสมควรเท่านั้น หรือเลือกทำด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น ดื่มน้ำมากๆ กินผักผลไม้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยาก
ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการดีท็อกซ์
การดีท็อกซ์ล้างลำไส้ อาจมีความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
- ปวดหรือเจ็บช่องท้อง
- รู้สึกแน่น
- ท้องอืด
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- เจ็บบริเวณทวารหนัก
- อาจทำให้ลำไส้ทะลุ
การดีท็อกซ์ล้างลำไส้ จึงควรทำกับผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับการฝึกอบรมมา เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ ลงให้ได้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้
ข้อควรระวังในการดีท็อกซ์
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การดีท็อกซ์สวนลำไส้นั้น ควรทำโดยบุคลากรทางการแพทย์ หรือได้รับการอนุมัติจากบุคลากรทางการแพทย์ เพราะหากซื้ออุปกรณ์มา ทำด้วยตัวเอง อาจเกิดปัญหา ดังนี้
- ร่างกายขาดน้ำ หลายคนสวนลำไส้ เพราะต้องการลดน้ำหนัก ด้วยความรวดเร็ว ทำให้ของเหลวออกจากร่างกายมากเกินไป อาจเกิดภาวะขาดน้ำได้
- ทำไม่ระวัง… ลำไส้ทะลุได้ หากใช้น้ำปริมาณมากเกินไป หรือใช้อุปกรณ์ผิดวิธี อาจทำให้ลำไส้โป่ง แตกจากแรงดันที่มากเกินไปได้
- อาจเกิดการติดเชื้อ การหาซื้อของเหลว สารมาสวนล้างด้วยตัวเอง เช่น กาแฟ หรือน้ำเปล่าก็ตาม อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ยังอาจล้างเอาแบคทีเรีย บางชนิดที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ออกมาอีกด้วย
- เกลือแร่เสียสมดุล อย่างที่หลายคนทราบว่า ลำไส้อวัยวะที่ดูดซึมน้ำและสารอาหาร ดังนั้นเมื่อทำการสวนล้างลำไส้ จึงเกิดการแลกเปลี่ยนของเหลว ในร่างกายและของเหลวที่สวนเข้าไป หากใช้ส่วนผสมที่เข้มข้นไป อาจทำให้เกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุลได้