ตะเกียบ

เชื้อโรคจากหมูดิบทำเราเสี่ยงอันตรายได้หลายโรค ทั้งไข้หูดับ หรือพยาธิก่อโรคต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ต้องระวังเนื้อหมูปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ตามเมนูอาหารเท่านั้น แต่การกินเมนูปิ้งย่างอย่างหมูกระทะ หรือพวกจิ้มจุ่ม ชาบู หากใช้ ตะเกียบ คู่เดียวตลอดทั้งมื้อ คีบหมูดิบไปปิ้ง ไปจุ่ม แล้วคีบหมูที่สุกเข้าปาก ก็อาจได้เชื้อปนเปื้อนติดมากับอาหารที่กินได้ ซึ่งอันตรายต่อสุขภาพหลายประการเลยทีเดียว

โรคเสี่ยงอันตรายถ้าไม่แยก ตะเกียบ

ตะเกียบ

นพ.สิทธา ลิขิตนุกูล แพทย์สังคมสื่อสารเพื่อคุณธรรม กล่าวถึงการติดเชื้อโรคไข้หูดับ จากพฤติกรรมการใช้ตะเกียบคีบเนื้อหมูดิบในการรับประทานนหมูกระทะว่า ในเนื้อหมูดิบมีเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงเชื้อโรคที่ทำให้เป็นโรคไข้หูดับ โดยจะมีอาการปวดศีรษะ คอแข็ง ชักเกร็ง เยื่อบุสมองอักเสบ ทำให้ไม่ได้ยินเสียง และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และหากรับการรักษาไม่ทันอาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดจนทำให้เสียชีวิตได้

ส่วนการใช้ตะเกียบคีบหมูดิบ สามารถติดเชื้อได้จริง แม้จะเป็นตะเกียบที่แกะออกมาใหม่จากซอง แต่หากเนื้อหมูที่รับประทานมีเชื้อที่ทำให้เป็นโรคไข้หูดับ ตะเกียบที่นำมาคีบก็จะมีเชื้อโรคนั้นติดอยู่ แม้เนื้อหมูที่ติดเชื้อจะผ่านความร้อนถูกย่างจนสุก แต่เชื้อโรคที่ติดอยู่กับตะเกียบไม่ได้ถูกความร้อน จึงมีโอกาสเกิดโรคได้ ทางออกที่ดีที่สุดคือการนำตะเกียบลวกน้ำร้อนทุกครั้งก่อนคีบอาหารทาน หรือ แยกตะเกียบที่คีบเนื้อหมูสด และเนื้อหมูที่สุกแล้ว

อาหารเป็นพิษ ติดเชื้อในลำไส้

ตะเกียบ

การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือแค่ได้รับเชื้อจากตะเกียบที่คีบหมูดิบ จะเพิ่มความเสี่ยงให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ และเจ้าเชื้อโรคหรือแบคทีเรียที่ไม่ได้ถูกความร้อนฆ่าเชื้อให้ตาย อาจทำให้เราติดเชื้อในลำไส้ มีอาการอาหารเป็นพิษ ท้องเสีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งหากปริมาณเชื้อมากก็อาจทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น จนบางรายก็รักษาไม่ทัน เสียชีวิตจากอาการท้องร่วงได้เช่นกันนะคะ

พยาธิตัวตืดหมู

ตะเกียบ

หากเรากินหมูไม่สุก หรือใช้ตะเกียบที่คีบหมูดิบมาคีบอาหารเข้าปาก ก็อาจเปิดโอกาสให้ร่างกายได้รับพยาธิตัวตืดหมู ที่ทำให้มีอาการผิดปกติ เช่น ท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ท้องร่วงเรื้อรัง หรือมีรอยบวมแดงบนผิวหนังที่เคลื่อนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ จากการชอนไชของพยาธิ หรืออาการคันก้น เนื่องจากพยาธิจะออกมาวางไข่รอบ ๆ ทวารหนักตอนกลางคืน ซึ่งใครพบอาการดังที่กล่าวมาควรไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยยาถ่ายพยาธิที่เหมาะสมกับชนิดพยาธิที่ได้รับ เพราะในกรณีที่รุนแรง พยาธิอาจขึ้นสมองจนเป็นอันตรายถึงชีวิต

เชื้อไวรัสตับอักเสบอี

ไวรัสตับ

เชื้อไวรัสตับอักเสบอี เป็นเชื้อที่แฝงมากับเนื้อหมูที่ติดโรค และพบว่าสามารถติดต่อสู่คนได้จากการใช้ตะเกียบคีบหมูดิบที่ปนเปื้อนเชื้อ แล้วใช้ตะเกียบเดียวกันนั้นคีบอาหารเข้าปาก โดยไวรัสตัวนี้จะฟักตัวประมาณ 15-60 วัน แต่การติดเชื้อในคนส่วนใหญ่มักจะไม่รุนแรง เว้นแต่การติดเชื้อในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยที่เปลี่ยนอวัยวะ ผู้ที่กินยากดภูมิต้านทาน ซึ่งคนกลุ่มนี้อาจเสี่ยงมีภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบอีได้

โรคไข้หูดับ

ไข้หูดับ

โรคไข้หูดับ (Streptococcus suis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดที่พบในสุกรเกือบทุกตัว โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะติดต่อสู่คนได้จากการรับประทานเนื้อหมูสุก ๆ ดิบ ๆ หรือการได้รับเชื้อจากตะเกียบที่คีบหมูดิบ และหากร่างกายได้รับเชื้อเข้าไปก็จะมีอาการไข้ภายใน 3 วัน ร่วมกับอาการคลื่นเหียน ปวดศีรษะ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที เชื้อก็จะเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าไปสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบ ตามมา

และเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอยู่ใกล้กับปลายประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง เชื้อจึงสามารถลุกลามและทำให้เกิดหนองบริเวณปลายประสาทรับเสียงและประสาททรงตัว ทำให้หูตึง หูดับ จนหูหนวก ร่วมกับอาการเวียนศีรษะและเดินเซตามมาได้ รวมทั้งเกิดอาการ Toxic Shock Syndrome ซึ่งอาการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไข้นะคะ กรณีเป็นมากอาจเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็วดังที่ปรากฏให้เห็นในหลาย ๆ ข่าว

วิธีกินหมูกระทะ-ชาบูให้ปลอดภัย

หมูกระทะ

หมูกระทะ ชาบู จิ้มจุ่ม หรือเมนูไหน ๆ ก็รับประทานได้อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงเชื้อโรคที่มากับหมูดิบ แค่ทำตามนี้

โรคภัยจากการกินอาหารไม่สุก อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคใด ๆ ก็ตาม เป็นโรคที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ไม่ยาก ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนดูแลตัวเองให้ดี เพราะเชื่อเหลือเกินว่าคงไม่มีใครอยากเจ็บอยากไข้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *