เพิ่มความจำ

เพิ่มความจำ ให้สมอง เพราะสมองคือส่วนสำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่นๆ เพราะต้องคิด วิเคราะห์ วางแผนและสั่งการให้ร่างกายทำในสิ่งต่างๆ ได้อย่างเชื่อมโยงกัน ด้วยความมีประสิทธิภาพคนที่สมองดี มีพลังมักคิดและลงมือทำสิ่งต่างๆ ออกมาได้อย่างราบรื่น เมื่อพบปัญหาพวกเขาก็ย่อมสามารถแก้ไขปัญหาชีวิตตนเองได้ดังนั้น หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่เคยมีความจำดีแต่จู่ๆ วันเวลาเปลี่ยนไป อาจเพราะปัญหามากมายที่รุมเร้า ทำให้เครียดต้องใช้สมองคิดและแก้ไขปัญหาอย่างหนัก รวมทั้งอายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะทำให้เซลล์สมองตายลงไปบ้างพร้อมกัน อาการขี้หลงขี้ลืมจึงเกิดขึ้น และทำให้กระบวนการคิดไม่คล่องตัวดังเดิมอีกแล้ว

ถ้าเช่นนั้น ถึงเวลากันแล้วที่เราจะหันมารับมืออาการเหล่านี้ ด้วยการเสริมสร้างสมองให้กลับมาทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพและปกติดังเดิมโดยผลการวิจัยได้บอกไว้ว่า หากเราพยายามกระตุ้นพัฒนาการสมองมากเท่าไร สมองก็จะยิ่งได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น มาดูกันว่า 7 วิธีสร้างความจำ และกำราบอาการขี้ลืมได้อยู่หมัด ที่เราหยิบมานำเสนอในวันนี้นั้นมีอะไรบ้าง

1. บริหารสมองเสมอ

หากเราหมั่นบริหารสมองอยู่เป็นประจำเซลล์สมองก็จะยิ่งได้รับการกระตุ้นให้เจริญเติบโตมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพทางด้านของการจดจำดีขึ้น สำหรับวิธีบริหารสมองนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ เช่น เล่นหมากฮอส ต่อจิ๊กซอว์และเล่นครอสเวิร์ด เป็นต้น

2. ทานสมุนไพรช่วยเสริมความจำ
เพิ่มความจำ

มีผลการวิจัยระบุว่า เมื่อเราทานโสมเข้าไปแล้วในปริมาณ 400 มิลลิกรัม หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จะส่งผลให้ความสามารถในด้านของการจดจำดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถส่งผลดีต่อสมองได้นานถึง 6 ชั่วโมงอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการยืนยันเพิ่มเติมอีกว่า แปะก๊วย ก็เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง ที่มีผลดีต่ระบบความจำเช่นเดียวกัน เพราะมันจะเข้าไปช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตภายในสมอง ให้หมุนเวียนดีขึ้นนั่นเอง

3. ทานผักผลไม้สด

เนื่องจากผักผลไม้สดจากธรรมชาติ ล้วนมีวิตามินและแร่ธาตุ ที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอย่างครบถ้วน อีกทั้งสารอนุมูลอิสระที่ได้มาพร้อมกัน ยังมีผลดีต่อการทำงานของสมองและช่วย เพิ่มความจำ ไปพร้อมกันด้วย เพราะเหล่าสารต้านอนุมูลอิสระทั้งหลาย ที่ได้จากการทานผักผลไม้สด มีประสิทธิภาพในด้านของการช่วยทำลายอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดขึ้นจากการสะสมตัวเป็นเวลานานของเนื้อเยื่อไขมัน จนส่งผลให้สมองทำงานอ่อนแอลง อีกทั้งยัง สามารถช่วยชะลออาการความจำเสื่อม หรืออาการขี้ลืมในผู้สูงอายุได้ด้วย โดยผักผลไม้สดที่อยากแนะนำได้แก่ ผัก ผลไม้ที่มีสีแดง ม่วงและน้ำเงิน ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ตระกูลเบอรี่ต่างๆ โดยมักจะมีอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ในปริมาณเข้มข้นสูงที่เราเรียกกันว่า Anthocyanidi ซึ่งเป็นสารที่พบได้มาก ในตระกูลพืชพรรณเหล่านี้

นอกจากนี้แล้ว คุณยังสามารถหาทานได้กับแอปเปิ้ล องุ่นม่วง องุ่นแดง มะเขือเทศ มะเขือม่วง หอมแดง กะหล่ำปลีม่วง ข้าวแดง ข้าวนิล ข้าวเหนียวดำ ลูกหว้า ถั่วแดง ถั่วดำ มันเทศสีม่วง พริกแดงและผลเชอร์รี่ เป็นต้น

4. ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
เพิ่มความจำ

แอลกอฮอล์หลายท่านทราบดีกันแล้วว่า เป็นเครื่องดื่มที่ไร้คุณประโยชน์ ทั้งยังมีผลร้ายต่อตับ และยังลดสมรรถภาพในการขับขี่ ให้เสื่อมถอยลงจนมักก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ได้บ่อยครั้งนอกจากนี้ ผลกระทบต่อสมอง ของคนเรานั้นยังมีอยู่มากทีเดียว เนื่องจากมันจะปล่อยสารสำคัญเข้าสู่สมอง โดยจะเข้าไปขัดขวางความสามารถ ไม่ให้สมองสามารถรับรู้ หรือจดจำสิ่งใหม่ต่างๆ ได้ โดยเฉพาะกับข้อมูลในด้านของตัวเลข รวมทั้งเหตุการณ์หลายอย่าง ที่เพิ่งเกิดขึ้นอีกทั้งยังช่วยลดทอนประสิทธิภาพ ในการจดจำเหตุการณ์ในอดีตต่างๆ ไปด้วย แต่หากเมื่อไรเราเลิกดื่ม หรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง ก็ย่อมช่วยให้สมองสามารถสร้างเสริมความทรงจำ และพร้อมรับรู้สิ่งใหม่ต่างๆ ได้ดีเยี่ยมมากขึ้น

5. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้สุขภาพดี ยังทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง แล้วยังส่งผลดีต่อสมองไม่น้อยทีเดียว เพราะในขณะที่ร่างกายของเราเกิดการเคลื่อนไหวอยู่นั้น สมองจะได้รับเลือด เข้าไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น เนื่องจากสมองจะได้รับกลูโคส และออกซิเจนที่แล่นสู่ร่างกาย และถูกลำเลียงส่งต่อมายังสมองพร้อมกัน จึงทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นความจำของสารเคมี ในสมองที่มีชื่อว่า Brain-Derived Neurotrophic Factor ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นไปด้วย ตรงกันข้าม การออกกำลังกายแบบหักโหมมากเกินไป กลับไม่เป็นผลดีต่อระบบความจำเช่นเดียวกัน

6. จดบันทึกสร้างเสริมความจำ

โดยธรรมชาติของคนเรา เมื่อสมองเราคิด และจดจ่อกับบางสิ่งบางอย่างตรงหน้า ความทรงจำหรือประสิทธิภาพ ในการจดจำเรื่องราวอื่นๆ ที่ลดน้อยลง ดังนั้น แนะนำให้คุณหมั่นย้ายข้อมูลจากสมองมาเก็บไว้ที่อื่นบ้าง เช่น การจดบันทึกลงสมุด คอมพิวเตอร์ ปาล์มและโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น เพื่อช่วยปลดภาระ ในการจดจำสิ่งต่างๆ อย่างหนาแน่นเกินไป

ทำให้สมองเกิดการทำงานหนัก และเมื่อเราย้ายข้อมูลจากสมองไปสู่ที่อื่นไว้ได้ เช่นนี้ก็ย่อมช่วยให้สมองของเรา ปล่อยวางจากภาระการนึกจำสิ่งเหล่านั้นลง ส่งผลให้สมองมีพื้นที่ว่างมากขึ้น และแน่นอนว่ามันจะทำให้ ระบบความจำดีขึ้นตามด้วย

7. ทำสมาธิเป็นประจำ

สมองของคนเราจะทำงานที่ความถี่ หรือจากคลื่นสมองใ นภาวะที่แตกต่างกัน ทั้งหมดนั้นล้วนขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เรากำลังทำ หรือคิดอยู่ สำหรับภายใต้ความคิดที่เกิดขึ้นเหล่านั้น คลื่นเบต้าของสมองจะทำงานรวดเร็วขึ้น จึงส่งผลให้สมองลดเลือนสิ่งต่างๆ ได้ง่ายดายยิ่ง ขึ้นพร้อมกัน ดังนั้น เราควรฝึกคิดให้ช้าลง ทำสิ่งต่างๆ ให้ช้าลงบ้าง แนะนำให้คุณทำสมาธิด้วยการหลับตาช้าๆ แล้วหายใจเข้าเบาๆ ช้าๆ พร้อมกับตั้งสติไว้ที่ปลายจมูก จากนั้นหายใจออกอย่างช้าๆ แล้วตั้งสติไว้ที่ช่องจมูกด้านขวาจากนั้นให้คุณหายใจเข้าอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เวลาที่ผ่อนลมหายใจออกให้คุณตั้งสติ ที่ช่องจมูกด้านซ้าย โดยทำสลับกันประมาณ 10 นาที

หากคุณหมั่นทำเป็นประจำทุกวัน รับรองได้ว่าสมองที่เคยตื้อตันคิดอะไรไม่ออก จะกลับมาปลอดโปร่งโล่งสดใส และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้นอีกครั้งแน่นอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *