เคยสังเกตเล็บของตัวเองบ้างไหม ว่ามีลักษณะอย่างไร? หากสังเกตดูดีๆ เล็บบางคนมีจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง สี ความสั้น ความยาวของหน้าเล็บ และสุขภาพของเล็บก็ขึ้นอยู่กับการดูแลของแต่ละคน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของเล็บนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงของเล็บไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง สี ความหนา ความบางนั้นสามารถบ่งบอกถึงเรื่องสุขภาพของเราได้ เล็บที่ผิดปกติไปจากเดิมเกิดได้จากหลายสาเหตุ คือ อาจเกิดจากการติดเชื้อ สารเคมีระคายเคือง มะเร็งหรือเกิดจากโรคทางกายอื่นๆ เพราะฉะนั้นเราต้องคอยหมั่นสังเกตดูแลสุขภาพของเล็บอย่างสม่ำเสมอ หากเล็บสุขภาพดีเป็นสีชมพูจางๆ พื้นผิวเรียบ ผิวหนังรอบเล็บแข็งแรง หากต่างจากนี้ออกไปอาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของร่างกาย

เล็บ ที่มีสุขภาพดี คือ

เล็บที่มีสีออกชมพูจาง ๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ มีพื้นผิวที่เรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรงไม่ถอยร่น และเล็บมีความหนาไม่มากไปและไม่น้อยจนเกินไป แต่ถ้าแตกต่างจากนี้ เช่น มีภาวะเล็บซีดหรืออื่นๆอาจจะถือว่าเล็บผิดปกติได้

พญ.ชินมนัส ตั้งจาตุรนต์รัศมี สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เล็บที่ผิดปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซี่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อ สารเคมีที่ก่อการระคายเคือง การกระแทก โรคมะเร็ง หรือเกิดจากโรคทางกายอื่นๆ

เล็บ

การสังเกตลักษณะของ เล็บ ทำได้ง่ายๆ ดังนี้

1. สังเกตุความหนา-บาง ว่าผิดปกติหรือไม่

2. เล็บที่มีพื้นผิวขรุขระ

เป็นอาการที่พบได้บ่อย ผิวเล็บอาจเป็นหลุมเล็กๆ ถ้าเป็นหลายเล็บ อาจบ่งบอกถึงโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคภูมิแพ้ได้ แต่อาจพบได้ในเด็กบางคนโดยที่ไม่มีสาเหตุ บางกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง อาจพบเล็บเป็นร่องลึกตามแนวขวางจากการที่เล็บมีการสร้างเล็บผิดปกติขณะป่วย

3. ผิวหนังรอบเล็บบวมแดง

ในคนที่สัมผัสกับน้ำบ่อยๆ ผิวหนังรอบเล็บอาจมีการเปื่อยยุ่ย จึงเกิดการระคายเคืองจากสารเคมีได้ง่าย เช่น สารเคมีจากน้ำยาล้างจานและน้ำยาทำความสะอาดบ้าน ในบางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อราตามมาได้ เช่นกัน ในผู้ป่วยบางคนที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังที่อ่อนแอนี้ ผิวหนังรอบเล็บอาจบวมแดงและมีหนองร่วมด้วย อาการบวมแดงมักเป็นมาไม่นาน ซึ่งต่างจากคนที่มีผิวหนังรอบเล็บบวมจากการระคายเคืองของสารเคมี

4. เล็บเปลี่ยนสี ภาวะโรคทางกายมีผลกับสีของเล็บได้

5. ปลายเล็บร่น (Onycholysis)

ปกติแล้วผิวหนังส่วนปลายจะติดกับเล็บ แต่หากมีโรคบางอย่าง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคไทรอยด์ โรคเชื้อราและโรคผดผื่นผิวหนังอักเสบ รวมถึงยาบางชนิด อาจทำให้ขอบของผิวหนังที่ติดกับเล็บมีการร่นลงได้

การวินิจฉัยโรคขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาจากอาการที่แสดงออกมา

เล็บ


เล็บ ขาดสารอาหารสัญญาณของโรคใด

เมื่อเล็บขาดสารอาหาร เล็บจะมีรอยสีขาว หรือเป็นจุด เป็นเส้นสีขาว หรือเล็บเป็นดอกที่เราเห็นกันเรียกว่า Apparent leukonychia ซึ่งเกิดบริเวณที่เนื้อเยื่อใต้เล็บ ลักษณะการเกิดจุดขาว ๆ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.เล็บมีเส้นสีขาวแนวขวางสลับสีชมพู (Muehrcke’s nails)
เล็บจะมีเส้นสีขาวพาดในแนวขวาง โดยมีสีขาวสลับกับสีชมพูบริเวณเล็บ ซึ่งส่วนมากพบในผู้ป่วยที่มีระดับโปรตีน (albumin) ในเลือดต่ำ ซึ่งมักพบในคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องการทำงานของตับ

2.เล็บเป็นสีขาว แต่มีปลายสุดของเล็บสีชมพู (Terry’s nails)
เล็บเป็นสีขาว แต่มีปลายสุดของเล็บสีชมพู อาจพบในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ

3.เล็บเป็นสีขาวครึ่งหนึ่ง ส่วนปลายเล็บอีกครึ่งหนึ่งเป็นสีชมพู (Lindsay nails / Half and half nails)
เล็บจะมีลักษณะเห็นเป็นสีขาวกินพื้นที่ครึ่งหนึ่งของเล็บ และที่ปลายเล็บอีกครึ่งหนึ่งมีสีชมพูไปจนถึงแดงเข้ม สามารถพบลักษณะแบบนี้ได้ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย

นอกจากสภาพดอกเล็บ จะบ่งบอกโรคต่างๆแล้ว สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดดอกเล็บ อาจเกิดจากภาวะเล็บขาดสารอาหารอื่นๆด้วย เช่น ถ้าขาดธาตุเหล็กจะทำให้เล็บมีลักษณะซีด หรือ ถ้าขาดแคลเซียมจะทำให้เล็บมีลักษณะจุดขาว ๆ ตามแนวขวาง ถ้าขาดธาตุสังกะสี อาจทำให้เล็บมีลักษณะเปราะ เกิดร่องตามขวางของเล็บได้

โรคดอกเล็บคืออะไร
ดอกเล็บเป็นจุดหรือขีด เส้นสีขาวขนาดเล็กที่เกิดขึ้นบนเล็บ  ส่วนใหญ่มาจากการบาดเจ็บเล็กน้อย ตัวดอกเล็บอาจเป็นตัวบ่งชี้ สุขภาพภายในร่างกาย หรือการมีโรคเรื้อรังต่างๆ มีภาวะเล็บขาดสารอาหาร

ดอกเล็บเกิดได้ในหลายลักษณะ จุดเล็ก ๆ เหมือนรอยปากกา  เส้นหนาจุดขนาดใหญ่ โดยจะแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บบริเวณเล็บมือ ที่อาจทำให้เกิดดอกเล็บที่มีลักษณะเป็นจุดสีขาวขนาดใหญ่กลางเล็บ หรือจุดหลายจุดกระจายทั่วเล็บ ทั้งนี้รูปร่างหรือลักษณะของดอกเล็บจะไม่เหมือนกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดดอกเล็บ
ในความคิดของคนส่วนใหญ่จะเชื่อว่าดอกเล็บเกิดจากการขาดสารอาหารไม่ครบถ้วน แต่ทางการแพทย์ ดอกเล็บอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
**การบาดเจ็บ – ดอกเล็บมักเกิดขึ้นบริเวณฐานเล็บหรือแผ่นเล็บ ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุเล็ก ๆ เช่น ถูกของหนักหล่นทับเล็บ ถูกประตูหนีบ หรือ ทำเล็บบ่อยเกินไปก็อาจสร้างแรงกดให้เนื้อเยื่อรองเล็บหรือฐานเล็บเสียหายได้ บางรายเกิดขึ้นหลังจากการบาดเจ็บ แต่เมื่อเล็บยาวขึ้นก็สามารถตัดเล็บส่วนที่เป็นดอกเล็บออกได้ และเล็บใหม่ก็จะงอกมาตามปกติ

**การติดเชื้อราที่เล็บ – เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ โดยชนิดที่เกิดได้บ่อย ได้แก่ชนิดที่เกิดกับแผ่นเล็บด้านบนจากการติดเชื้อราบางกลุ่ม บางส่วนอาจขยายไปยังฐานเล็บ

**อาการแพ้ – บางคนเกิด ดอกเล็บจากสาเหตุอื่น ๆ แต่พบได้ค่อนข้างน้อยเช่น การใช้ยาบางชนิด ยาเคมีบำบัด ได้รับสารพิษหรือโลหะหนักบางชนิด สารตะกั่ว สารหนู หรือ โรคบางอย่างของร่างกาย เช่นโรคปอด โรคหัวใจวาย หรือ โรคไตเรื้อรัง

การป้องกันการเกิดดอกเล็บ
อาการดอกเล็บในแต่ละคนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นควรรักษาตามสาเหตุ ร่วมกับ การรักษาสุขอนามัยของเล็บเบื้องต้น ดังนี้
-ไม่กัดเล็บ ไม่ใช้มือฉีกเล็บหรือหนังหุ้มด้านข้างเล็บออก เพราะจะทำให้เล็บเกิดความเสียหาย
-ดูแลทำความสะอาดมือและเล็บอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้เปียกชื้น
-ควรเล็มหนังข้างเล็บที่เป็นส่วนเกินออก ซึ่งควรตัดเล็บหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ เพราะเล็บจะนิ่มมากกว่าปกติ
-ผู้ที่มีปัญหาเล็บเปราะบางควรหมั่นทาโลชั่นบำรุงมือและเล็บอย่างสม่ำเสมอ
-หลีกเลี่ยงการใช้ยาทาเล็บ ยาล้างเล็บ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรปล่อยให้เล็บมือได้พักบ้าง
-รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ มีสารอาหารครบถ้วน จะช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารได้อย่างดี

การรักษาอาการดอกเล็บ รักษาตามสาเหตุ ซึ่งต้องพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง
1.ควรหลีกเลี่ยงยาและสารเคมีที่ทำให้เกิดอาการแพ้
   2.กำจัดเชื้อราโดยยาต้านเชื้อรา
   3.การเลือกรับประทานอาหาร
หากต้องการให้เล็บคุณแข็งแรง ไม่เกิดดอกเล็บ ก็ควรบำรุงตั้งแต่ภายในสู่ภายนอกด้วยการเลือกสารอาหารที่ประกอบด้วย วิตามินบี 12, วิตามินบี 9, ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, โปรตีน, วิตามินซี, สังกะสี และกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นต้น

เมื่อเล็บได้รับการปฏิบัติอย่างถูกวิธี หมั่นเติมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อเล็บ หลีกเลี่ยงในสิ่งที่จะก่อให้เกิดดอกเล็บ เล็บของคุณก็จะสวยงามและแข็งแรง
หากท่านใดมีอาการ ของโรคดอกเล็บ เล็บขาดสารอาหาร และอยากปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการรักษาเฉพาะทางที่ถูกวิธีได้ที่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *