โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง (Cancer) คือภาวะที่เซลล์ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม ทำให้มีการเจริญเติบโตมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมและจำกัดขอบเขตได้ และทำให้มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นในร่างกาย เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก เป็นต้น ความผิดปกติของเซลล์นี้สามารถเกิดได้ทุกอวัยวะ เช่น ปอด ตับ เต้านม เป็นต้น ซึ่งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งแต่ละที่ก็มีความแตกต่างกันไป

รู้จัก โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรม (DNA) ในเซลล์ของร่างกาย ซึ่งความผิดปกตินี้ทำให้เกิดการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็วอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติขึ้น ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นสามารถที่จะลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงหรือแพร่กระจาย (Metastasis) ไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายได้ อย่างไรก็ตามมะเร็งบางชนิดไม่ได้ทำให้เกิดก้อนเนื้อ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น โดยความผิดปกตินี้สามารถเกิดได้กับเซลล์ตามอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยจะเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะนั้น ๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามวิธีการรักษามะเร็งจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะ ระยะของมะเร็ง และสภาพร่างการของผู้ป่วย

ปัจจัยเสี่ยงก่อ โรคมะเร็ง

ดังที่กล่าวไปข้างต้น มะเร็ง เกิดมาจากความผิดปกติของสารพันธุกรรม ดังนั้นสิ่งที่ส่งผลต่อความผิดปกติของสารพันธุกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ

  1. ความผิดพลาดในขั้นตอนการสร้างสารพันธุกรรมของเซลล์ ซึ่งโดยปกติร่างกายมีระบบที่จะตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเหล่านี้อยู่แล้ว แต่พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการตรวจสอบความผิดพลาดเหล่านี้จะด้อยลง จึงเป็นเหตุผลที่เรามักพบมะเร็งในคนที่อายุเยอะมากกว่าในคนที่อายุน้อย
  1. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้เกิดความเสียหายของสารพันธุกรรมและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมที่เป็นตัวต้นเหตุของมะเร็ง ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมได้แก่ รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่มีสารอัลฟาทอกซิน พบได้ในถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่ไม่ถูกเก็บรักษาอย่างเหมาะสม
  1. ปัจจัยภายในร่างกายที่ป่วยโดยโรคบางโรค เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ตับอักเสบซี เอชพีวี (HPV) เอชไอวี หรือโรคพยาธิใบไม้ในตับ ก็เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งในบางอวัยวะ หรือแม้กระทั่งโรงอ้วนก็พบว่าเป็นความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิด นอกจากนี้มะเร็งบางชนิดยังสามารถถ่ายทอดในครอบครัวได้ด้วย

สัญญาณเตือน โรคมะเร็ง

แม้มะเร็งจะเป็นภัยเงียบก็จริง แต่หากหมั่นสังเกตความปกติแม้เพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เราจะสามารถเห็นสัญญาณเตือนได้ อาทิ

มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝ ที่มีขนาดที่โตมากขึ้น

มีก้อนหรือตุ่มโตอย่างรวดเร็วที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

มีแผลที่รักษาแล้วแต่ไม่ยอมหาย

เลือดออกอย่างผิดปกติจากทวารต่าง ๆ (ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นแต่โรคมะเร็งเท่านั้น อาจมีโรคอื่น ๆ อยู่ในการวินิจฉัยแยกโรคด้วย)

มีอาการเสียงแหบหรือไอเรื้อรัง

กลืนอาหารลำบากหรือมีอาการเสียดแน่นท้องเป็นเวลานาน

มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย อุจจาระและปัสสาวะ

ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด

น้ำหนักลด เบื่ออาหาร

อาการข้างต้นเป็นเพียงอาการที่น่าสงสัยของโรคมะเร็ง การจะยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่นั้น จำเป็นต้องมีผลชิ้นเนื้อของส่วนที่ผิดปกติยืนยันอย่างชัดเจนว่าพบเซลล์มะเร็งจริง หลายครั้งที่คนไข้มีอาการเหล่านี้ และกังวลใจอยู่เป็นนาน กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ส่งผลให้สภาพร่างกายและสภาพจิตใจย่ำแย่ไปด้วย แต่เมื่อตรวจยืนยันแล้วพบว่า เป็นโรคอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งโดยสิ้นเชิง ดังนั้นถ้าสงสัยควรไปตรวจให้ชัดเจน อย่าพึ่งกังวลไปก่อน

โรคมะเร็ง รู้ก่อน รักษาได้

แน่นอนว่าก่อนที่เราประสบความสำเร็จในการรักษาโรคมะเร็งตามวลีที่ว่า “โรคมะเร็ง รู้ก่อน รักษาได้” พื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สังเกตอาการของตนเอง ตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจคัดกรองมะเร็งตามอายุ ที่สามารถบ่งให้ทราบถึงมาเสี่ยงเบื้องต้น และนำไปสู่การตรวจอย่างละเอียดลงไปในบริเวณหรืออวัยวะที่สงสัยว่าจะเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ซึ่งเมื่อพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็สามารถเริ่มขั้นตอนการรักษาได้ทันที และด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยในปัจจุบันมีส่วนอย่างมากในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย และมากกว่านั้นคือ แม้สถิติจำนวนมะเร็งจะเพิ่มขึ้นทุกปีก็จริง แต่จำนวนผู้รอดชีวิตก็เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน

โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชาย ได้แก่


โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง
 ได้แก่

โรคมะเร็ง

สาเหตุโรคมะเร็ง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคมะเร็ง แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งอยู่หลายปัจจัย ดังนี้

1) สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย

1.1 สารเคมีบางชนิด เช่น

1.2 รังสีต่าง ๆ รวมทั้งรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด

1.3 การติดเชื้อเรื้อรัง เช่น

1.4 พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ตับ มีความสัมพันธ์กับมะเร็งท่อน้ำดีในตับ

2) สาเหตุภายในร่างกาย

อาการน่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง

ไม่มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็ง แต่เป็นอาการเช่นเดียวกับการอักเสบของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เป็นมะเร็ง โดยที่แตกต่างคือ มักเป็นอาการที่แย่ลงเรื่อย ๆ และเรื้อรัง ดังนั้นเมื่อมีอาการต่าง ๆ นานเกิน 1 – 2 สัปดาห์ จึงควรรีบพบแพทย์ อย่างไรก็ตามอาการที่น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง ได้แก่

 

อาการ โรคมะเร็ง

 

วินิจฉัยมะเร็ง

การวินิจฉัยโรคมะเร็งมีหลายวิธี เช่น

 

ระยะของมะเร็ง

ระยะโรคมะเร็ง คือ ตัวบอกความรุนแรงของโรค (การลุกลามและแพร่กระจาย) บอกแนวทางการรักษา และแพทย์ใช้ในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง

โดยทั่วไปโรคมะเร็งมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 – 4 ซึ่งทั้ง 4 ระยะ อาจแบ่งย่อยได้อีกเป็นอีกเป็น เอ (A) บี (B) หรือ ซี (C) หรือ เป็น (1) หรือ (2) เพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้ช่วยประเมินการรักษา ส่วนโรคมะเร็งระยะศูนย์ (0) ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริง เพราะเซลล์เพียงมีลักษณะเป็นมะเร็ง แต่ยังไม่มีการรุกราน (Invasive) เข้าเนื้อเยื่อข้างเคียง

ระยะ ที่ 1 : ก้อนเนื้อ / แผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม

ระยะที่ 2 : ก้อน / แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อ/อวัยวะ

ระยะ ที่ 3 : ก้อน / แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ / อวัยวะที่เป็นมะเร็ง

ระยะ ที่ 4 : ก้อน / แผลมะเร็งขนาดโตมาก และ / หรือลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียง จนทะลุ และ / หรือเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง โดยพบต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้ และ / หรือมีหลากหลายต่อม และ / หรือ แพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และ / หรือ หลอดน้ำเหลือง / กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ / อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก ไขกระดูก ต่อมหมวกไต ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ในช่องอก และ / หรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า

 

รักษามะเร็ง

การตรวจพบโรคมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกย่อมเป็นผลดีต่อการรักษา ซึ่งวิธีการรักษามีดังต่อไปนี้

  1. การผ่าตัด การเอาก้อนที่เป็นมะเร็งออกไป
  2. รังสีรักษา การให้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  3. เคมีบำบัด การให้ยา (สารเคมี) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  4. ฮอร์โมนบำบัด การใช้ฮอร์โมนเพื่อยุติการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  5. การรักษาแบบผสมผสาน การรักษาร่วมกันหลายวิธีดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค

การรักษาโรคมะเร็งอาจเป็นวิธีใดวิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

โรคมะเร็งเป็นโรคที่รักษาหายได้ แต่ทั้งนี้โอกาสรักษาหายขึ้นอยู่กับ

ในภาพรวมโดยประมาณ อัตราอยู่รอดที่ 5 ปี (โอกาสรักษามะเร็งได้หาย) ภายหลังการรักษาโรคมะเร็ง คือ

 

ทางเลือกอื่น (Alternatives)

เนื่องจากโรคมะเร็งส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง แต่มะเร็งบางตำแหน่งสามารถทราบสาเหตุนำหรือสาเหตุร่วม ซึ่งอาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นทุกคนควรจะต้องตรวจ สำรวจร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หรือถ้าพบอาการผิดปกติก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง คือ การตรวจให้พบโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะยังไม่มีอาการ (มักเป็นมะเร็งในระยะ 0 หรือระยะ 1) ทั้งนี้เพราะโรคมะเร็งในระยะนี้มีโอกาสรักษาได้หายสูงกว่าโรคมะเร็งในระยะอื่น ๆ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ การตรวจที่เมื่อพบโรคแล้ว ภายหลังการรักษาผู้ป่วยจะมีอัตรารอดจากมะเร็งสูงขึ้นหรือมีอัตราเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลดลงนั่นเอง

ปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ป้องกันโรคมะเร็ง

วิธีป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ ซึ่งที่สำคัญ คือ

สัญญาณอันตราย 7 ประการ

สัญญาณอันตราย 7 ประการที่ควรรีบมาพบแพทย์ ได้แก่

  1. มีเลือดหรือสิ่งผิดปกติออกจากร่างกาย เช่น มีตกขาวมากเกินไป
  2. มีก้อนหรือตุ่มเกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งของร่างกายและก้อนนั้นโตเร็วผิดปกติ
  3. มีแผลเรื้อรัง
  4. มีการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิม
  5. เสียงแหบ ไอเรื้อรัง
  6. กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  7. มีการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน เช่น โตผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์

5 Responses

  1. Pingback: โกโก้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *