ไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) คือการอักเสบของไส้ติ่งที่อยู่ระหว่างลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น นับเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและอันตราย เพราะถ้าหากไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ไส้ติ่งที่อักเสบจะแตก ทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในไส้ติ่งแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย อาจเข้าสู่กระแสเลือดจนทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 

ไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดถึงหน้าที่ของไส้ติ่ง ไส้ติ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ระหว่างลำไส้เล็กตอนปลายและลำไส้ใหญ่ตอนต้น เนื้อเยื่อของไส้ติ่งประกอบไปด้วยต่อมน้ำเหลือง โดยตำแหน่งของไส้ติ่งจะอยู่ตรงกับท้องด้านล่างขวา ทำให้คนส่วนใหญ่มักกังวลว่าการปวดท้องบริเวณนี้มีสาเหตุมาจากไส้ติ่งอักเสบ แต่ไม่จำเป็นเสมอไป

อาการของโรคไส้ติ่งอักเสบ

อาการของโรคไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน มักเป็นมากขึ้นและอาการแย่ลงภายใน 6-24 ชั่วโมง ซึ่งอาการของภาวะไส้ติ่งอักเสบที่พบโดยทั่วไปมีดังนี้

  • มีอาการปวดอย่างเฉียบพลัน ที่บริเวณรอบสะดือ ต่อมาย้ายไปปวดที่ท้องด้านล่างขวาเนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น
  • มีอาการปวดมากขึ้นขณะที่ไอ เดิน หรือแม้แต่ขยับตัว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • มีไข้ต่ำ ๆ ระหว่าง 37.2-38 องศาเซลเซียส และอาจสูงกว่า 38.3 องศาเซลเซียสหากเกิดภาวะไส้ติ่งแตก
  • มีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้นของไส้ติ่งไปกระตุ้นท่อไตของระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งอยู่ใกล้กัน
  • หากเป็นผู้ป่วยเด็ก สตรีมีครรภ์ หรือคนสูงอายุ อาจมีอาการบางอย่างที่แตกต่างจากคนโดยปกติทั่วไป ดังนี้

  • ในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก เด็กที่มีอายุต่ำว่า 2 ปี ลงไป จะมีอาการที่เห็นได้ชัดคือ อาเจียนมาก ท้องอืด หากใช้มือกดบริเวณหน้าท้องจะรู้สึกเจ็บ ส่วนเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไปจะเริ่มบ่งบอกอาการได้ ซึ่งอาการก็จะไม่แตกต่างจากคนทั่วไป
  • ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ ที่ถูกดันให้สูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของมดลูก ไส้ติ่งของสตรีมีครรภ์จะเคลื่อนไปอยู่ที่บริเวณหน้าท้องส่วนบน ซึ่งถ้ามีอาการไส้ติ่งอักเสบจะทำให้ปวดบริเวณหน้าท้องส่วนบนด้านขวาแทน นอกจากนี้อาจมีอาการปวดบีบที่ท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร หรืออาการแสบร้อนที่กลางอก บางรายอาจพบอาการท้องเสีย หรือท้องผูกควบคู่กัน
  • หากผู้ป่วยมีอาการข้างต้นเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ และควรได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เนื่องจากไส้ติ่งที่อักเสบสามารถแตกได้ภายใน 48-72 ชั่วโมง

    ไส้ติ่งอักเสบ

    ไส้ติ่งอักเสบ

    สาเหตุของโรคไส้ติ่งอักเสบ 

    สาเหตุของโรคไส้ติ่งอักเสบ 

    ไส้ติ่งอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักจะพบในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 10-30 ปี ทั้งนี้ อาจพบในกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ด้วย โดยสาเหตุเกิดจากภาวะการอักเสบในไส้ติ่ง ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันภายในไส้ติ่ง สิ่งที่ไปอุดตันอาจเป็นได้ทั้ง เศษอุจจาระขนาดเล็กที่ทำให้ไส้ติ่งเกิดการติดเชื้อและบวมขึ้น หรืออาจเป็นก้อนเนื้อมะเร็ง บางครั้งก็อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดการปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการขยายตัวขึ้นจนไปปิดกั้นไส้ติ่ง และทำให้ไส้ติ่งที่อาจมีเชื้อโรคอาศัยอยู่เกิดอาการอักเสบในที่สุด 

    การวินิจฉัยโรค ไส้ติ่งอักเสบ

    การวินิจฉัยโรค ไส้ติ่งอักเสบ

    การวินิจฉัยอาการไส้ติ่งอักเสบค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอาการของไส้ติ่งอักเสบนั้นค่อนข้างคลุมเครือ และมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ อาทิ

  • ปัญหาถุงน้ำดี 
  • การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ 
  • โรคลำไส้อักเสบโครห์น (Crohn’s disease) 
  • โรคกระเพาะอาหารอักเสบ 
  • my review herehttps://www.dublincitybikramyoga.com/the-5-poses-you-should-never-concentrate-on-when-practicing-yoga/fake luxury watches

  • การติดเชื้อในลำไส้
  • ปัญหารังไข่
  • อุ้งเชิงกรานอักเสบ
  • โรคถุงน้ำรังไข่
  • ลำไส้อักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ทั้งนี้ก็สามารถวินิจฉัยได้ด้วยตัวเองอย่างคร่าว ๆ คือ หากมีอาการปวดท้องด้านขวาล่างติดต่อกันนาน ๆ และมีอาการคลื่นไส้ หรือ รู้สึกปวดอย่างรุนแรงเมื่อขยับตัว ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด โดยเมื่อถึงมือแพทย์แล้ว แพทย์จะมีการซักถามถึงอาการและระยะเวลาที่เป็น และอาจมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อระบุอาการให้แน่ชัดขึ้นกับความเหมาะสม โดยวิธีตรวจที่ใช้ ได้แก่

  • การตรวจเลือดเพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อ
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวด์ (Ultrasonogram) เป็นวิธีการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนปรากฏเป็นภาพ 
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) คือการเอกซเรย์ด้วยลำแสงเอกซ์ (X-ray) ด้วยคอมพิวเตอร์ 
  • เมื่อระบุได้แล้วว่าเป็นภาวะไส้ติ่งอักเสบ แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดโดยเร็วที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไส้ติ่งแตก และอาการข้างเคียงต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง ถ้าผ่าตัดแล้วแพทย์พบว่าไส้ติ่งที่ตัดออกมีความผิดปกติ อาจมีการส่งตรวจเพิ่มเติมได้เช่นกัน

    ไส้ติ่งอักเสบ

    ไส้ติ่งอักเสบ

    การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ

    การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ

    ไส้ติ่งอักเสบสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น เพราะจะช่วยรักษาอาการและช่วยกำจัดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไส้ติ่งแตก โดยการผ่าตัดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) เพราะเป็นการผ่าตัดเล็กสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ทันที เหมาะกับกรณีไส้ติ่งที่อักเสบยังอยู่ในระยะไม่ร้ายแรงนัก หากรุนแรงถึงขั้นไส้ติ่งแตก ก็จะต้องใช้การผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery) ซึ่งเป็นผ่าตัดแบบมาตรฐาน เพราะนอกจากจะต้องนำไส้ติ่งที่แตกออกแล้ว ยังต้องทำความสะอาดภายในช่องท้อง และใส่ท่อเพื่อระบายหนองจากฝีที่เกิดขึ้นอีกด้วย

    หลังจากผ่าตัดแล้ว หากผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดแบบส่องกล้องจะสามารถกลับมาหายเป็นปกติภายในไม่กี่วัน แต่หากเป็นการผ่าตัดแบบเปิด ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการ โดยอาจนานประมาณ 1 สัปดาห์ และควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก ๆ หลังการผ่าตัดประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องผูกหลังจากผ่าตัด แพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการ หรือแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเพื่อช่วยในการขับถ่าย

    ไส้ติ่งอักเสบเป็นปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดได้กับคนทุกกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มอาจมีค่ารักษาที่แตกต่างกันไปตามสภาพร่างกาย ความซับซ้อนของการรักษา อีกทั้งยังเป็นอาการฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น ซึ่งการผ่าตัดแบบส่องกล้องที่นิยมใช้นั้นมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผ่าตัดเปิด เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วย ขณะเดียวกันแม้ว่าเป็นการผ่าตัดเปิดหน้าท้องจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า แต่ผู้ป่วยนั้นจำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลในระยะหนึ่ง จึงมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้นแทน

    นอกจากนี้ หากเป็นกรณีที่ไส้ติ่งแตก นอกจากจะต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้องแล้วยังจำเป็นต้องระบายหนองร่วมกับป้องกันการติดเชื้อด้วยวิธีอื่น ๆ จึงทำให้การรักษาไส้ติ่งอักเสบมักจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดแบบใด ด้วยเหตุนี้ จึงควรวางแผนรับมือกับค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นในกรณีฉุกเฉิน อย่างการเข้าร่วมโครงการสวัสดิการจากรัฐบาล สำรองเงินออม หรือทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาไส้ติ่งอักเสบหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่มีค่ารักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูงโดยไม่ต้องสำรองจ่าย เพื่อลดภาระทางด้านการเงินและยังอาจช่วยให้เข้าถึงสถานพยาบาลที่มีบริการหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ครบครัน

    อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีไข้สูง อาเจียนอย่างรุนแรง เจ็บที่บริเวณแผลผ่าตัด หรือบริเวณแผลผ่าตัดมีลักษณะที่ผิดปกติ เช่น จับแผลแล้วรู้สึกร้อน แผลบวมแดง ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของอาการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคไส้ติ่งอักเสบ

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคไส้ติ่งอักเสบ

    ภาวะแทรกซ้อนของไส้ติ่งอักเสบจะเกิดขึ้นหากไม่มีการรักษาอย่างทันท่วงทีจนทำให้เกิดภาวะไส้ติ่งแตก โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการที่เกิดจากเชื้อโรคที่แพร่กระจายจากไส้ติ่งที่แตก ได้แก่

    โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ 

    โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ 

    เมื่อไส้ติ่งที่อักเสบแตก เชื้อโรคจะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างเคียง และก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในช่องท้อง ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงตลอดเวลา รู้สึกไม่สบาย มีไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ และมีอาการบวมบริเวณหน้าท้อง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการจะเรื้อรังและอันตรายถึงชีวิต วิธีการรักษาก็คือการใช้ยาปฏิชีวนะและผ่าตัดเพื่อนำไส้ติ่งที่แตกออก 

    ฝี 

    ฝี 

    ในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะไส้ติ่งแตก อาจมีฝีเกิดขึ้นภายในช่องท้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการต่อสู้เชื้อโรคของร่างกาย โดยแพทย์จะทำการรักษาด้วยการต่อท่อระบายหนองออกจากฝีในช่องท้อง ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดการติดเชื้อ ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์

    การป้องกันโรคไส้ติ่งอักเสบ

    การป้องกันโรคไส้ติ่งอักเสบ

    ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการค้นพบวิธีป้องกันอาการไส้ติ่งอักเสบ เนื่องจากไส้ติ่งอักเสบเป็นอาการเฉียบพลันที่ไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ จึงทำได้แค่เพียงลดความเสี่ยงเท่านั้น โดยควรป้องกันไม่ให้มีอาการท้องผูกด้วยการรับประทานผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง นอกจากนี้ หากพบว่ามีอาการติดเชื้อหรือการอักเสบที่ลำไส้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เนื่องจากการอักเสบนั้นอาจลุกลามไปถึงไส้ติ่งได้เช่นกัน

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *