โรคแพนิค

โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นเรื่องที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้นในสังคมปัจจุบัน สังเกตได้จากการที่เราใช้คำว่า “แพนิค” กันมากขึ้น เช่น เวลาพูดกับเพื่อนที่กำลังตกใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง มักพูดว่า “อย่าแพนิค มีสติเข้าไว้” เป็นต้น

อย่างไรก็ตามเราอาจไม่รู้เลยว่าแท้จริงแล้วอาการต่าง ๆ ที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคแพนิคนั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง แล้วมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง เราควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการดังกล่าวหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่นได้อีกหรือไม่

โรคแพนิค
โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร ?

โรคแพนิค (Panic Disorder) คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่า โรคตื่นตระหนก ผู้ที่เป็นมักมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก แบบไม่คาดคิดมาก่อน และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และมีความกังวลว่าจะเป็นขึ้นมาอีก

อาการของโรคแพนิค

สาเหตุของโรคแพนิค (Panic Disorder) มีสาเหตุมาจากอะไร?

โรคแพนิคเกิดขึ้นได้ในคนทั่ว ไป  เกิดจากได้หลายสาเหตุ  ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง

สาเหตุทางกาย  ได้แก่

สาเหตุทางจิตใจ

โรคแพนิค
อาการของโรคแพนิค (Panic Disorder) มีอะไรบ้าง และอาการร่วมกับโรคอื่นมีอะไรบ้าง ?

ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค จะมีอาการที่เรียกว่า “panic attack” นั่นก็คือกลุ่มอาการตามที่ปรากฎอยู่ในแบบทดสอบข้างต้นตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไป โดยเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างคาดการณ์ไม่ได้ และมีอาการอื่น ๆ ต่อเนื่องจากอาการเหล่านั้น เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน (หรือมากกว่า) ดังต่อไปนี้

  1. กังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นอีกอยู่ตลอดเวลา
  2. กังวลว่าอาจเกิดโรคร้ายแรงหรือกังวลเกี่ยวกับผลติดตามมา (เช่น คุมตัวเองไม่ได้ เป็นโรคหัวใจ เป็นบ้า เป็นต้น)
  3. พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เช่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวจะเกิดอาการขึ้น หรือไม่กล้าใช้ชีวิตประจำวันตามปกติที่เคยทำเป็นประจำ

เนื่องจากการเกิดอาการอาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่นได้หลายอย่าง เช่น อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น จึงจำเป็นต้องตรวจร่างกายเพื่อค้นหาโรคทางด้านร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุให้มีอาการนั้น ๆ ก่อน เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ หรือ ส่งเจาะเลือดวัดระดับไทรอยด์ เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ แม้ว่าผลการตรวจร่างกายปกติดี ก็ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนว่าเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) เนื่องจากว่ายังมีโรคทางจิตเวชอื่นๆ สามารถเกิดอาการ panic attack ได้เช่นกัน ได้แก่

กังวลต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไปอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่อาจหลีกเลี่ยงได้ลำบาก หรืออาจไม่ได้รับการช่วยเหลือ เช่น การออกนอกบ้านตามลำพัง การอยู่ท่ามกลางหมู่คนหรือยืนต่อแถว การอยู่บนสะพาน และการเดินทางโดยรถเมล์ รถไฟ หรือรถยนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *