แพ้กัญชา

ในช่วงที่กัญชาสามารถนำมาปลูกกินเองในบ้านได้ รวมถึงนำมาปรุงอาหารทั้งกินเองและทำขายได้ ทำให้คนเริ่มมีโอกาสได้ลิ้มรสของใบกัญชาด้วยตัวเอง แต่เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดปริมาณในการใส่กัญชาที่เหมาะสม ในบางรายอาจมีอาการ แพ้กัญชา ได้ด้วย

ใบกัญชาสด เป็นส่วนของกัญชาที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยเป็นใบสดที่เพิ่งเก็บจากต้น ไม่มีสารเมา แต่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ อาจนำมากินกับน้ำพริก หรือผสมกับผักอื่นๆ กินแบบสลัด แต่เมื่อใบกัญชาผ่านความร้อน หรือเก็บไว้นานๆ จะมีสารเมา THC และสารต้านเมา CBD ขึ้น โดยใบอ่อนมีปริมาณสารข้างต้นมากกว่าใบแก่ สารสองชนิดนี้ พบปริมาณสูงสุดเมื่อพืชมีอายุ 2 เดือน

ใครเสี่ยงอันตรายจาก แพ้กัญชา บ้าง

แพ้กัญชา
  1. เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  2. ผู้ที่แพ้ หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนิบอล หรือสารแคนนาบิไดออล ควรระวังในการรับประทาน
  3. ผู้ที่จำเป็นต้องขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์
  4. ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับตับ ไตบกพร่อง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  5. ผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาฟาร์ริน
  6. ผู้ที่ใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
  7. มีประวัติความผิดปกติทางจิตเวช
  8. ผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ในกลุ่มดังกล่าว บางกลุ่มอาจสามารถบริโภคกัญชาได้ แต่ต้องเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

อาการข้างเคียงของผู้ที่ แพ้กัญชา

แพ้กัญชา

อาการอาจเกิดขึ้นภายใน 30-60 นาทีหลังที่กินเข้าไป อาการชัดๆ อาจปรากฏภายใน 1 ชั่วโมง และอาการอยู่ได้นานมากถึง 6 ชั่วโมง ดังนั้น ผู้ที่เริ่มกินใบกัญชาครั้งแรก อาจลองกินแค่ครึ่งใบก่อนต่อวัน และรอผลหลังกิน 2 ชั่วโมง หากมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ให้ดื่มน้ำมากๆ หรือหากมีอาการมึนเมาหลังกิน สามารถดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง หรือดื่มชารางจืดเพื่อบรรเทาอาการได้

ปริมาณของใบกัญชาที่เหมาะสมป้องกันการ แพ้กัญชา

กัญชา

ใครที่เริ่มกินใบกัญชาครั้งแรก อาจแนะนำให้ลองกินแค่ครึ่งใบต่อวันก่อนได้

ใบกัญชา ในอาหารทอดทอด 

ใบกัญชา ในอาหารผัด

ใบกัญชา ในอาหารแกง

ใบกัญชา ในอาหารต้ม

ใบกัญชา ในเครื่องดื่ม

ใบกัญชาแห้ง

ส่วนของกัญชง และกัญชา ที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้

กัญชา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *