อินซูลิน แบบยาฉีดแบ่งประเภทตามการออกฤทธิ์ของยาได้เป็น 4 ประเภท คือ Rapid-acting Insulin, Short-acting Insulin, Intermediate-acting Insulin, Long-acting Insulin

ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องฉีดอินซูลินเข้าบริเวณกล้ามเนื้อ หลอดเลือดดำ และใต้ผิวหนัง เพื่อให้อินซูลินเข้าไปลดและรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด

เครื่องมือที่ใช้ในการฉีดอินซูลิน มีให้เลือกทั้งแบบปากกาฉีดอินซูลิน (Insulin Pen) อินซูลินปั๊ม (Insulin Pump) และหลอดฉีดยา (Syringe insulin)

อินซูลิน คืออะไร?

อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถผลิตเองได้จากตับอ่อน โดยอินซูลินจะทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของระดับกลูโคสในเลือด และยังช่วยให้เซลล์ในร่างกายเก็บสะสมกลูโคสเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน และยังช่วยเก็บกลูโคสส่วนเกินไว้ในตับเพื่อให้ร่างกายเอามาใช้เป็นพลังงานได้เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

อินซูลิน

อินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีภาวะผิดปกติของอินซูลิน จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หลักๆ แล้วจะพบโรคเบาหวาน 2 ชนิดคือ

ดังนั้นจึงมีการผลิตอินซูลินทดแทนโดยการฉีดเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด

ประเภทของอินซูลิน

อินซูลินมีลักษณะเป็นน้ำใสและน้ำขุ่น โดยมีทั้งโครงสร้างคล้ายอินซูลินที่ร่างกายผลิตเองได้ หรือที่เรียกว่า ฮิวแมนอินซูลิน (Human insulin) และมีทั้งการดัดแปลงจากฮิวแมนอินซูลินให้ออกฤทธิ์ได้ตามต้องการ เรียกว่า อินซูลินอะนาล็อก (Insulin analog) ซึ่งสามารถแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์เป็น 4 ประเภท ดังนี้

อินซูลิน

การออกฤทธิ์ของอินซูลิน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 อินซูลินแบบฉีดจะเข้าไปแทนที่อินซูลินตามธรรมชาติที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ ส่วนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะใช้การฉีดอินซูลินก็ต่อเมื่อไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เมื่อฉีดแล้วอินซูลินจะเข้าไปควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากมีปริมาณน้ำตาลหรือกลูโคสยังสูงอยู่ อินซูลินจะทำหน้าที่นำกลูโคสไปเก็บไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อสำรองไว้ใช้เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง

รูปแบบของอินซูลิน

อินซูลินที่ใช้ในปัจจุบันเป็นรูปแบบของยาฉีด โดยจะฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อ หลอดเลือดดำ และใต้ผิวหนัง เป็นต้น

วิธีใช้อินซูลิน และปริมาณที่เหมาะสม

วิธีการใช้อินซูลินโดยการฉีด มีดังนี้

ปริมาณอินซูลินที่เหมาะสมในการฉีด จะต้องได้รับการประเมินระดับน้ำตาลและแนวโน้มของความไวต่ออินซูลินของแต่ละบุคคลก่อนใช้ โดยเบื้องต้นแพทย์จะให้เริ่มต้นใช้ที่ขนาด 0.4-0.6 ยูนิตต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันและจะให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็มักขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่แพทย์วินิจฉัยร่วมด้วย

อินซูลิน

ข้อควรระวังในการใช้อินซูลิน

ผลข้างเคียงและอาการแพ้อินซูลิน

เบื้องต้นผู้ที่มีผลข้างเคียงหรือมีอาการแพ้อินซูลิน ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *