อาการชา

อาการชา เกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบได้บ่อย คือ บริเวณมือและเท้า เช่น มือชา เท้าชา ชาปลายนิ้วมือ โดยลักษณะของอาการชาอาจเป็นได้ทั้งสูญเสียความรู้สึก รู้สึกแบบผิวหนังหนาๆ เป็นปื้นๆ หรือมีความรู้สึกที่แสดงออกมากกว่าปกติ เช่น ยิบๆ ซ่าๆ เหมือนเข็มทิ่ม ปวดแสบร้อน เสียวคล้ายไฟช็อต โดยลักษณะของอาการชาเหล่านี้ อาจเป็นอาการของโรคหรือเป็นสัญญาณแรกของโรค เช่น อาการชาจากการขาดวิตามิน จากโรคเบาหวาน อาการชาที่เกิดจากบางสาเหตุ หากทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการเสียหายของเส้นประสาทอย่างถาวร ทำให้การรักษาหรือฟื้นฟูกลับมา ต้องใช้เวลามากกว่าปกติ หรือรักษาแล้วอาจเกิดความพิการหลงเหลืออยู่ได้

อาการชา

สาเหตุของ อาการชา

1. อาการชาที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง คือ สมองหรือไขสันหลัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โดยตำแหน่งของอาการชามักเป็นด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย อาจมีอาการทางระบบประสาทอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อ่อนแรง ทรงตัวลำบาก โดยอาการมักเป็นฉับพลันทันที หรือ โรคปลอกประสาทส่วนกลางอักเสบ (Multiple Sclerosis) อาจพบอาการปวดตามตำแหน่งของประสาทที่มีอาการอักเสบ มีอาการเกร็ง รีเฟลกซ์การตอบสนองไวกว่าปกติร่วมกับอาการชาได้หลายตำแหน่งของร่างกาย

2. อาการชาที่เกิดจากระบบเส้นประสาทส่วนปลาย

อาการชา

3. อาการชาที่เกิดจากโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย เช่น

4. โรคข้ออักเสบ อาการอักเสบของข้อ ส่งผลต่อเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงกับข้อ ทำให้มีอาการชาร่วมด้วยได้

5. โรคกล้ามเนื้อ เช่น โรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทหรือการไหลเวียนเลือดไปยังเส้นประสาท อาจพบอาการชาร่วมกับอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว

อาการชาแบบไหนที่ควรรีบมาพบแพทย์

โดยทั่วไป อาการชาที่เกิดร่วมกับอาการปวด มักทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญหรือรบกวนชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและบรรเทาอาการอันไม่พึงประสงค์ดังกล่าว แต่อาการชาที่มีลักษณะร่วมอื่นๆ ที่ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ ทำการรักษา และหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

การรักษาอาการชา

จากสาเหตุของอาการที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าการดูแลรักษาอาการชาเบื้องต้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การทานวิตามินบีเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีสาเหตุการเกิดอาการชานั้นมีมากมาย ซึ่งแนวทางการรักษาอาการชา มีดังนี้

อาการชาอาจเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ หากผู้ป่วยที่มีอาการชามาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ นอกจากจะรักษาอาการชาเพื่อลดการรบกวนของผู้ป่วยแล้ว แต่ยังสามารถนำไปสู่การค้นหาโรคที่เป็นสาเหตุร่วม รวมถึงให้การวินิจฉัยก่อนเกิดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนของโรคนั้นๆ ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *