หุ้น หรือ Stock เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ (Holder) เพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ถือตราสารทุนจะมีฐานะเป็น “เจ้าของกิจการ” ซึ่งจะมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีสิทธิในทรัพย์สิน และรายได้กิจการ รวมทั้งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล (Dividend) ซึ่งอยู่กับผลกำไร และข้อตกลงของกิจการนั้นๆ

1

หุ้นและประเภทของ หุ้น

บริษัทเอกชน จำกัด(Company Limited, Ltd.) หรือบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 กำหนดให้มีหุ้นทุน 2 ประเภท คือ

1. หุ้นสามัญ (Common Stock) 

เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด (บมจ.) ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท  มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ กล่าวคือ ร่วมเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน การจ่ายปันผล การควบรวมกิจการ ฯลฯ

นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามัญยังมีสิทธิได้รับเงินปันผลเมื่อบริษัทมีผลกำไร และมีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคาเมื่อราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นตามศักยภาพของบริษัท รวมถึงมีโอกาสได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่ เมื่อบริษัทเพิ่มทุนหรือจัดสารใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น

2

2. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) 

คือ ตราสารทุน ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหุ้นสามัญ (Common Stock) นั่นคือ ผู้ที่ถือหรืเป็นเจ้าของหุ้นบุริมสิทธิจะมีสถานะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ ทำให้มีสิทธิในส่วนแบ่งรายได้จากการดำเนินกิจการ รวมถึงมีส่วนเป็นเจ้าของในทุนของบริษัทตามสัดส่วนที่ถือหุ้นไว้

อย่างไรก็ดี หุ้นบุริมสิทธิก็ยังมีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญตรงที่

● ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ต่างจากผู้ถือหุ้นสามัญที่มีสิทธิโหวตในที่ประชุมอย่างเต็มที่

● เมื่อได้กำไรจากการดำเนินกิจการ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะมีสิทธิจะได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ โดยผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้เงินปันผลคงที่ ขณะที่ผู้ถือหุ้นสามัญมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะได้รับหรือไม่ได้รับเงินปันผลก็ได้ หรือได้มากกว่าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก็ได้ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ  

● หากมีการเลิกกิจการและต้องมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สินของบริษัท จะมีการนำตัวเงินที่ได้ไปชำระหนี้สินและภาระค่าดำเนินกิจการก่อน จากนั้นหากมีเงินเหลือจึงแบ่งคืนให้กับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ และหากยังมีเงินเหลือก็จะแบ่งกลับมายังผู้ถือหุ้นสามัญ ซึ่งเราจะพบว่าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะมีสิทธิรับชำระก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

ดังนั้น แม้ว่าการถือหุ้นบุริมสิทธินั้นจะไม่ได้ทำให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่ก็ยังทำให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิในเงินปันผลและสินทรัพย์ของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ซึ่งนับเป็นข้อได้เปรียบที่สุดของสินทรัพย์ตัวนี้

3

ประเภทของหุ้นบุริมสิทธิ

สำหรับหุ้นบุริมสิทธิที่เราได้กล่าวมาแล้วว่ามีจุดเด่นในแง่ที่ผู้ถือจะมีสิทธิในเงินปันผลและสินทรัพย์เรียกชำระก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ แต่เงื่อนไขของหุ้นบุริมสิทธิก็ยังสามารถแบ่งให้แตกต่างกันออกไปได้ ซึ่งแน่นอนว่าเงื่อนไขของหุ้นบุริมสิทธิแต่ละประเภทก็จะกระทบกับประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับด้วย ดังนั้นเราจึงควรมาทำความรู้จักกับหุ้นบุริมสิทธิประเภทต่าง ๆ ที่มีให้เลือกอยู่ในตลาดด้วย ได้แก่

1.หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม (Cumulative Preferred Stock)

หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม คือ หุ้นที่ผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลในปีที่ไม่ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลทุกปี โดยสามารถสะสมเงินปันผลของปีที่ไม่ประกาศจ่ายไปทุกปี จนกว่าบริษัทจะประกาศจ่ายเงินปันผล หากมีการสะสมเงินปันผลค้างจ่ายของผู้ถือหุ้นประเภทนี้แล้วมีการจ่ายเงินปันผลคืน บริษัทจะต้องจ่ายเงินปันผลสะสมของผู้ถือหุ้นประเภทนี้ให้ครบเสียก่อนประกาศจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นสามัญ 

2.หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม (Non – Cumulative Preferred Stock)

หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม คือ หุ้นที่หากไม่ได้มีการจ่ายเงินปันผลในปีใด จะไม่สามารถยกยอดไปจ่ายในปีถัดไปได้ นั่นเอง 

3.หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ (Participating Preferred Stock)

หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลร่วมกับผู้ถือหุ้นสามัญได้อีก หลังจากที่ได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดแล้ว ซึ่งหุ้นบุริมสิทธิประเภทนี้มักไม่ได้รับความนิยมในการออกหุ้นจากบริษัท

4.หุ้นบุริมสิทธิชนิดเรียกไถ่คืนได้ (Callable Preferred Stock)

หุ้นบุริมสิทธิชนิดเรียกไถ่คืนได้ คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ออกหุ้นสามารถไถ่ถอนหุ้นคืนก่อนครบกำหนดได้ 

5.หุ้นบุริมสิทธิชนิดเปลี่ยนแปลงสภาพได้ (Convertable Preferred Stock)

หุ้นบุริมสิทธิชนิดเปลี่ยนแปลงสภาพได้ คือ หุ้นบุริมสิทธิที่แปลงสภาพเป็นหลักทรัพย์ชนิดอื่นได้ตามอัตราหรือราคาที่แสดงไว้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยปรกติแล้วจะให้สิทธิในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ

6.หุ้นบุริมสิทธิชนิดมีกองทุนไว้สำหรับไถ่ถอน (Sinking Funds Provision)

หุ้นบุริมสิทธิชนิดมีกองทุนไว้สำหรับไถ่ถอน คือ หุ้นบุริมสิทธิที่บริษัทได้มีการจัดสรรเงินกำไรไว้สำหรับการไถ่ถอนคืน ทำให้ราคาหุ้นประเภทนี้ในตลาดมีเสถียรภาพมากกว่า

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง หุ้น สามัญและหุ้นบุริมสิทธิ

4

ความแตกต่างระหว่างหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิมีการกล่าวถึงโดยละเอียดในจุดที่ระบุด้านล่าง:

  1. หุ้นสามัญหมายถึงประเภทของหุ้นที่ บริษัท ออกตามปกติเพื่อระดมทุนซึ่งแสดงความเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งและมีสิทธิออกเสียง หุ้นบุริมสิทธิ์คือประเภทของหุ้นที่ได้รับความสำคัญเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลและการชำระคืนทุน
  2. หุ้นสามัญมีศักยภาพในการเติบโตสูงเมื่อเทียบกับหุ้นบุริมสิทธิ์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่ำ
  3. ผู้ถือหุ้นสามัญคืนทุนไม่มีการรับประกันหรือจำนวนเงินที่ได้รับการแก้ไข ซึ่งแตกต่างจากผู้ถือหุ้นที่ต้องการรับประกันผลตอบแทนและที่อัตราคงที่
  4. หุ้นสามัญมีสิทธิแตกต่างกันเกี่ยวกับการลงคะแนนการจ่ายเงินปันผลและการชำระคืนทุน ในทางตรงกันข้ามหุ้นบุริมสิทธิ์ถือสิทธิบุริมสิทธิ์ในการจ่ายเงินปันผลและการชำระคืนทุน
  5. หุ้นสามัญให้สิทธิ์บุคคลที่จะเข้าร่วมและลงคะแนนในการประชุมสามัญของ บริษัท ในกรณีนี้หุ้นบุริมสิทธิ์ไม่อนุญาตให้บุคคลเข้าร่วมและลงคะแนนเสียงในการประชุมสามัญของ บริษัท
  6. บริษัท ไม่สามารถแลกหุ้นสามัญได้ ในทางกลับกันหุ้นบุริมสิทธิถูกไถ่ถอนโดย บริษัท ไม่ว่าจะครบกำหนดหรือเมื่อ บริษัท ต้องการซื้อคืน
  7. หุ้นสามัญไม่สามารถแปลงเป็นหลักทรัพย์อื่นใดได้ในขณะที่หุ้นบุริมสิทธิสามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญหรือตราสารหนี้ได้อย่างง่ายดาย
  8. ผู้ถือหุ้นสามัญไม่ได้รับสิทธิในการจ่ายเงินปันผลหากไม่ได้รับการจ่ายโดย บริษัท ในปีที่แล้วเนื่องจากเงินทุนไม่เพียงพอ ในทางกลับกันผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลหากไม่ได้รับในปีที่ผ่านมามิฉะนั้นพวกเขาจะได้รับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนหาก บริษัท ข้ามการจ่ายเงินปันผลเป็นเวลาสามปีติดต่อกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *