วิกฤตวัยกลางคน

Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน คือ วิกฤตทางจิตวิทยาคนอายุ 40 ปีขึ้นไป  หลายคนมักคิดว่าเป็นโรคจิต หรือโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด แต่เป็นเพียงการแสดงออก ที่มาจากผลกระทบของความเครียดเท่านั้น 

ทำความรู้จัก Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน

Midlife Crisisวิกฤตวัยกลางคน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่อายุ 40ปีขึ้นไป คนในวัยนี้จะเกิดการตกใจ คิดไปต่างๆนานาว่า ตนเองแก่แล้ว เหลือเวลาในชีวิตอีกไม่มาก

อยากทำอะไรก็ทำเลย จึงทำให้เกิดการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว  ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต ซึ่งก่อน หรือหลังการตัดสินใจ มักจะมีอาการเครียด

น้อยใจ วิตกกังวล ในสิ่งที่จะกระทำ หรือตัดสินใจกระทำไปแล้ว 

การเจอกับสิ่งที่เป็นผลกระทบด้านจิตใจ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก็ทำให้เกิด Midlife Crisisวิกฤตวัยกลางคน ได้เช่นกัน 

Midlife Crisisวิกฤตวัยกลางคน ไม่ใช่โรคจิตเภทแต่อย่างใด แต่จะส่งผลให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในอนาคต

สาเหตุในการเกิด Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน

วิกฤตวัยกลางคน

วิกฤตวัยกลางคนเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ?

– ความเสื่อมถอยของร่างกาย

          เมื่ออายุมากขึ้น เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกายชัดเจนขึ้น อย่างแรกที่ใครก็หนีไม่พ้นคือ สภาพร่างกายที่อ่อนแอลง โรคเริ่มรุมเร้า และภาวะฮอร์โมนที่ลดน้อยลงไป หรือที่เรียกว่าอาการวัยทอง ซึ่งก็จะทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว อ่อนล้า สิ้นหวัง จนอาจทำให้รู้สึกแย่กับตัวเองมากขึ้นทุกวัน

– ความกดดันจากสภาพสังคม

          เมื่อมาถึงจุดที่คิดว่าโตเป็นผู้ใหญ่มากพอแล้ว แต่ชีวิตกลับไม่เป็นอย่างที่หวัง ความสำเร็จยังไม่เกิดขึ้นในชีวิต หรืออาจมีแรงกดดันและความคาดหวังจากสังคมที่ทำให้รู้สึกว่าชีวิตเรายังไม่ถูกเติมเต็ม จึงต้องการแสวงหาหนทางไปสู่ความสำเร็จนั้น ๆ จนบางครั้งความกดดันก็ผลักให้เราตัดสินใจทำอะไรที่เหนือความคาดหมายลงไป

– ความไม่พอใจกับชีวิตตัวเอง

          เมื่อรู้สึกว่ายังไม่พอสักทีกับชีวิตที่เป็นอยู่ตอนนี้ ความสุขก็ไม่เกิด จนต้องดิ้นรนทำอะไรสักอย่างที่คิดว่าน่าจะช่วยเติมเต็มความสุขในชีวิตได้ และเมื่อทะเยอทะยานมาก ดิ้นรนมาก ๆ ก็อาจรู้สึกเหนื่อยกับชีวิตจนเกิดความรู้สึกท้อแท้หมดหวัง

– ต้องการรื้อฟื้นความสดใส อยากได้ความท้าทาย

          เมื่อชีวิตดำเนินมาถึงกลางทาง คนวัยนี้อาจรู้สึกว่าเวลาตัวเองเหลือไม่มากแล้ว ต้องรีบเติมความสดใสให้ชีวิต หาสิ่งท้าทายมาให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น คนวัยกลางคนบางรายจึงอาจมองหาคู่เดทที่อายุน้อยกว่า หรืออาจตัดสินใจลงทุนไปกับการศัลยกรรมยกเครื่องหน้าใหม่ เป็นต้น

– สับสนจนไม่รู้ว่าชีวิตที่แท้จริงคืออะไร

          อย่างที่บอกไปยังไงล่ะคะว่า ช่วงชีวิตของวัยกลางคนก็ไม่ต่างอะไรจากโมเมนต์หัวเลี้ยวหัวต่อที่มักจะเกิดกับวัยรุ่น โดยเมื่อถึงจุดหนึ่งของชีวิต ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ อาจมานั่งทบทวนความเป็นไปของตัวเอง ไตร่ตรองว่าที่เหนื่อยมาเกือบจะทั้งชีวิตนี่เราได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันมาบ้าง ซึ่งในกรณีนี้หากไม่เข้าใจคำว่าแก่นแท้ของชีวิตอย่างแท้จริง อาจนำไปสู่ความรู้สึกนึกคิดในแง่ลบกับตัวเองได้อย่างไม่น่าจะเกิดเลยล่ะ

– ความรู้สึกผิดหวังเมื่อต้องเสียคนที่รัก

          หากเพื่อนสนิท คนรัก หรือพ่อแม่ทยอยเสียชีวิตลง ช่วงเวลาเหล่านี้คุณจะรู้สึกว่าตัวเองเริ่มเขยิบมาอยู่ใกล้ความตาย และตระหนักรู้ว่า สิ่งใด ๆ ในโลกนี้ก็ไม่แน่นอน ฉะนั้นอยากทำอะไรต้องรีบลงมือทำก่อนจะสาย

– รู้สึกได้ถึงบทบาทและความสำคัญของตัวเองที่ลดน้อยลง

          หากต้องเป็นคุณปู่ คุณย่า หรืออาจจะเริ่มมีหลาน ๆ เป็นของตัวเอง หลายคนจะเริ่มรู้สึกถึงความแก่ชราที่มาเคาะประตูหัวใจ รวมไปถึงบางรายก็อาจจะถูกลดบทบาทจากที่ทำงานและสังคมรอบข้างกดดันเพิ่มมาด้วย จนนำไปสู่ภาวะเครียดและท้อแท้กับชีวิต

 อาการของ Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน

โดยจะแบ่งอาการด้านร่างกาย และอาการทางจิตใจ และอารมณ์ที่ทำให้เกิด Midlife Crisisวิกฤตวัยกลางคน

อาการด้านร่างกาย

อาการทางจิตใจ และอารมณ์

รับมืออย่างไรกับอาการ Midlife Crisis

วิกฤตวัยกลางคน

ทุกๆช่วงเวลาของชีวิตล้วนแล้วแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงกันทั้งนั้น มีทั้งเรื่องดีและไม่ดี การที่มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ก่อนตัดสินใจจะทำอะไร และการเข้าใจในเรื่องของ Midlife Crisisวิกฤตวัยกลางคน จะเป็นเรื่องที่ดีก่อนที่จะเกิดโรคซึมเศร้า

 พยายามแยกแยะอารมณ์ชั่ววูบกับความต้องการของตัวเองจริง ๆ

          อย่าปล่อยให้อารมณ์ชั่ววูบของตัวเองเป็นใหญ่ ณ ช่วงเวลาหนึ่งคุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองอยากลาออกจากงาน อยากหลบหนีความน่าเบื่อในครอบครัวไปเจออะไรใหม่ ๆ แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่อารมณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่สติไม่ได้อยู่กับเราหรือเปล่า

– คิดบวกเข้าไว้

          จงขอบคุณตัวเองที่ทำให้ชีวิตเดินมาถึงจุดนี้ ขอบคุณครอบครัวที่อยู่เคียงข้างกัน และขอบคุณทุก ๆ อย่างรอบตัวแม้จะเป็นเรื่องที่เล็กน้อยมาก เพราะนั่นคือจุดเริ่มต้นของความคิดในแง่บวกที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องเสี่ยงกับภาวะวิกฤตวัยกลางคน

– เมื่อมีปัญหา ปรึกษาคนใกล้ตัว

          พยายามอย่าคิดอะไรด้วยตัวเองคนเดียว มีปัญหาหรือรู้สึกแย่เมื่อไรให้แชร์ความหนักอกหนักใจนั้นกับคนรอบข้างโดยด่วน เชื่อเถอะว่าการระบายออกไปมันช่วยให้รู้สึกโล่งขึ้นเยอะ

– ทำในสิ่งที่สร้างสรรค์

          รู้สึกเบื่อจะแย่แล้วกับชีวิตก็ลองกลับไปเยี่ยมโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่ตัวเองเคยเรียนดูบ้าง นัดเจอเพื่อนเก่า ๆ ที่ไม่ได้เจอหน้ากันนาน หรืออยากได้ความท้าทายก็ลองลงทุนทำธุรกิจที่ตัวเองคิดว่าถนัดและน่าจะเหมาะดูสิ

– อย่าเหวี่ยงวีนใส่คนรอบข้าง

          เข้าใจว่าหลาย ๆ ปัจจัยอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิด แต่พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะกับคนในบ้านและคนที่คุณรักจะดีกว่า เพราะหากทำอะไรตามอารมณ์ตัวเองโดยไม่ยั้งคิด อาจทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

– ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

          ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดีอารมณ์ก็แจ่มใสไปด้วยได้ง่าย ๆ ฉะนั้นอย่าลืมดูแลสุขภาพของตัวเองให้ยังฟิตปั๋งเหมือนวัยหนุ่มสาวด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ

– พักผ่อนให้เพียงพอ

          นอนไม่พออาจเป็นสาเหตุให้รู้สึกหงุดหงิดได้ง่ายขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้นหากไม่อยากรู้สึกแย่ก็ควรพักผ่อนให้เพียงพอ อีกทั้งการนอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายยังช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัยได้อีกด้วยนะ

    อย่าปล่อยให้อายุและความชรามาจำกัดความสุขในชีวิตเราเลยนะคะ หากอยากผ่านช่วงวัยกลางคนไปได้อย่างชิล ๆ ก็พยายามทำตามคำแนะนำที่เราบอกไป รวมทั้งใส่ใจเรื่องอาหารการกินให้ครบทั้ง 5 หมู่ และดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เพื่อช่วยบำรุงความแข็งแรงของร่างกายด้วยล่ะ เพราะแค่มีร่างกายที่แข็งแรงแจ่มใส อะไร ๆ ในชีวิตก็ดี๊ดีไปหมดแล้ว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *