มด

วันนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับมดมาแบ่งปัน มด เป็นแมลงประเภทหนึ่ง ในประเทศเขตร้อนคาดคะเนว่า มีมดอยู่ประมาณ 10,000 ชนิด แต่ที่พบแล้วมีประมาณ 8,800 ชนิด สำหรับประเทศไทยคาดว่า มีมดประมาณ 800 – 1,000 ชนิด ที่รู้จักกันมีไม่กี่ชนิด เช่น มดคันไฟ มดแดง มดดำ มดตะนอย ส่วนใหญ่เป็น มด ที่พบในบ้าน และส่วนที่เหลือเป็น มด อยู่ในป่าต่างๆ

มด เป็นสัตว์ที่อยู่ร่วมกันโดยแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ บางชนิดมีรังมหึมาอยู่ร่วมกันถึง 22 ล้านตัว อยู่กันอย่างเป็นระเบียบ ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งหรือเกี่ยงงานกัน โดยจะสื่อสารกันโดยใช้อวัยวะ ที่เรียกว่า หนวด สัมผัสกันและใช้สารเคมีที่ปล่อยออกมา หรือใช้เสียงสื่อสารกันได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังพบว่า มดบางชนิด เมื่อไปพบแหล่งอาหารก็จะปล่อยสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาจากต่อมภายนอก (Exocrine gland) ที่เรียกว่า ต่อมดูเฟอร์ (Dufoue’s gland) สารเคมีชนิดนี้ เรียกว่า ฟีโรโมน, มด จะปล่อยฟีโรโมนขณะเดินไปพบอาหาร และ ฟีโรโมนนี้ จะระเหยได้ทำให้ปริมาณของฟีโรโมนจะจางลงไปเรื่อยๆ ฟีโรโมนของมดบางชนิด จะจางหายไปในเวลาไม่เกิน 100 วินาที ซึ่งการระเหยของสารเคมีนี้ มีประโยชน์ต่อการสื่อสารของมด คือ ถ้าแหล่งอาหารเก่าหมด เจอแหล่งอาหารใหม่ มดจะสามารถติดตาม กลิ่นใหม่ไปยังแหล่งอาหารได้อย่างถูกต้อง ไม่สับสนกับกลิ่นเดิม นอกจากนี้ยังพบว่า มดชอบเดินตามรอยฟีโรโมนที่มีกลิ่นแรงมากกว่า กลิ่นที่จาง

ส่วนเอวมด อาจมี 1 หรือ 2 ปล้อง, ส่วนเอวแท้จริงคือ ท้องปล้องที่ 2 หรือ ปล้องที่ 3 จะมีลักษณะเป็นตุ่ม หรือ เป็นท่อ, มดมีปาก แบบกัดกิน, หนวดแบบ หักข้อศอก, ตารวม มีขนาดใหญ่ถึงขนาดเล็กมากหรือไม่มี, ปลายส่วนท้อง อาจมีเหล็กในหรือไม่มี

ภายในครอบครัวของมด

ประกอบด้วย แม่รัง (queen) และลูกมด ประกอบด้วย มดงาน (worker) ซึ่งเป็นเพศเมีย แต่เป็นหมัน บางช่วงอาจพบ มดตัวผู้ (male) มีปีก และ มดเพศเมีย (female) มีปีก มดเหล่านี้ ทำหน้าที่สืบพันธุ์ สร้างครอบครัวใหม่ และภายในครอบครัวหนึ่งของมด จะมีจำนวน ประชากรที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยตัวไปจนถึงเป็นล้านๆตัว ขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของแม่รัง

มด เป็นแมลงที่มีถิ่นอาศัยในหลายลักษณะ คือ อยู่ใต้ดิน ตามพื้นดิน ใต้ใบไม้ ใต้ก้อนหิน ใต้ขอนไม้ ในขอนไม้ผุ ตามลำต้นต้นไม้ หรือ ตามเรือนยอด รวมไปถึงตามอาคารบ้านเรือน โดยทั่วไป มดสร้างรัง ได้ 2 แบบ คือ รังแบบอย่างง่าย และ รังแบบซับซ้อน

ส่วนใหญ่ มดสร้างรังแบบซับซ้อน ซึ่งภายในรังจะมีการแบ่งออกเป็นห้องๆ จะมีจำนวนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ชนิดและขนาด ประชากรมด ไม่เคลื่อนย้ายรัง เช่น รังมดคันไฟ รังมดแดง เป็นต้น

ส่วนมดสร้างรังแบบอย่างง่าย นั้น จะมีการเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการแบ่งเป็นห้องๆ ส่วนมากอาศัย ใต้ใบไม้ หรือ โพรงตาม พื้นดิน รวมถึงรอยแตกตามผนัง หรือ สวนอื่นๆ ของอาคารบ้านเรือน

มด

การสื่อสารของมด จะมีการติดต่อสื่อสารโดยทั่วไป 2 แบบ คือ 

  1. การใช้สารเคมี ที่เรียกว่า ฟีโรโมน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเตือนภัย การจับคู่ผสมพันธุ์ การหาอาหาร
  2. การใช้หนวด จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การดมกลิ่น การขออาหาร หนวดของมด จะเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จนทำให้เกิดเป็น ภาษาหนวดมด ขึ้นมา

ลักษณะของมด

มดคันไฟ

มดดำ

มดแดง

มดตะนอย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *