ฟังเพลง

ว่ากันว่าการทานข้าวไป ฟังเพลง ไปไม่ดี แต่เชื่อได้เลยว่าคนส่วนใหญ่ก็ชอบหาอะไรฟังระหว่างทานข้าวเพื่อความเพลิดเพลิน อีกทั้งในร้านอาหารก็ยังมีเพลงบรรเลงเปิดคลอไว้ตลอดเวลา การกินอาหารไปด้วยฟังเพลงไปด้วยจะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรหรือไม่? ความเกี่ยวข้องระหว่างอาหารกับดนตรี รวมถึงแนวดนตรีที่เหมาะกับการกินอาหาร จะมีแบบใดบ้างนะ?

เมื่อการกินอาหารไม่ใช่แค่การรับรส

ว่ากันว่าการทานข้าวไปฟังเพลงไปไม่ดี แต่เชื่อได้เลยว่าคนส่วนใหญ่ก็ชอบหาอะไรฟังระหว่างทานข้าวเพื่อความเพลิดเพลิน อีกทั้งในร้านอาหารก็ยังมีเพลงบรรเลงเปิดคลอไว้ตลอดเวลา การกินอาหารไปด้วยฟังเพลงไปด้วยจะส่งผลอย่างไรหรือไม่? ความเกี่ยวข้องระหว่างอาหารกับดนตรี รวมถึงแนวดนตรีที่เหมาะกับการกินอาหาร จะมีแบบใดบ้างนะ?

เมื่อเราลิ้มรสอาหาร เราจะรู้สึกว่าใช้เพียงการรับรสเท่านั้น แต่จะพูดแบบนั้นก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เมื่อเราเห็นอาหารหน้าตาสวยงามก็กระตุ้นความหิวได้ เราเพลิดเพลินกับเสียงเคี้ยวที่กรุบกรอบ เมื่อดื่มน้ำผลไม้เย็นๆ ในวันที่อากาศร้อนก็รู้สึกว่าอร่อยกว่าปกติ จะเห็นว่าปัจจัยต่างๆ ทั้งการมองเห็น การได้ยิน อุณหภูมิอากาศ และอุณหภูมิของอาหาร ล้วนมีส่วนช่วยให้การกินอาหารเอร็ดอร่อยมากขึ้น

แต่ผู้คนรู้สึกอย่างไรเมื่อฟังเพลงไปด้วยระหว่างที่กินอาหาร? ความจริงแล้วไม่ค่อยมีรายงานที่อธิบายไปถึงกลไกการทำงานของเสียงเพลงมากนัก แต่อย่างที่ทราบกันว่าดนตรีสามารถควบคุมความรู้สึกของผู้คนได้ ดนตรีที่สดใสจะทำให้รู้สึกสดใส และดนตรีที่มืดมนจะทำให้รู้สึกหม่นมัว ดนตรีจึงอาจส่งผลต่อความอยากอาหารและความรู้สึก “อร่อย” ได้บ้างเช่นกัน

กินอาหารคนเดียวเลือกเพลงแบบไหนดี?

แม้ว่าเราจะไม่ทราบกลไกโดยเฉพาะของดนตรี แต่ก็มีการวิจัยที่สำรวจว่าการฟังดนตรีระหว่างกินอาหารนั้นส่งผลอย่างไร ตัวอย่างเช่น ในการประชุมสมาคม Cookery Science แห่งญี่ปุ่นในปี 2008 ได้นำเสนอเรื่อง “ผลกระทบจากความแตกต่างในสภาพแวดล้อมการกินอาหารที่ส่งผลต่อความอยากอาหาร” จากผลการสำรวจนี้ พบว่าการรับประทานอาหารขณะฟังเพลงโปรดจะทำให้รู้สึกตื่นเต้นและเพิ่มความอยากอาหารได้ แต่หากเป็นเพลงที่ไม่ชอบหรือเป็น เสียงรบกวนในชีวิตประจำวันจะทำให้รู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย ดังนั้นเมื่ออยู่คนเดียว การฟังเพลงแบบที่ตนเองชอบโดยไม่ต้องกังวลกับสิ่งรอบข้างจึงเป็นเรื่องที่ดี มีคำกล่าวว่า ความหิวเป็นเครื่องปรุงรสที่ยอดเยี่ยมที่สุด และเพลงโปรดจะยิ่งช่วยให้รู้สึกดีขึ้นและเพิ่มความอยากอาหารได้อีก

ในทางกลับกัน สำหรับเด็กเล็ก หากเปิดเพลงที่ชอบก็อาจจะลุกขึ้นมาเต้นแทนที่จะมีสมาธิกับอาหารตรงหน้า ปฏิกิริยาที่มีต่อดนตรีก็ขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยและความชอบของแต่ละคน ดังนั้น เหล่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องลองเปิดเพลงที่หลากหลาย และสังเกตว่าเพลงแบบไหนที่ทำให้ลูกๆ กินอาหารได้เยอะ

อีกสิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่นิยมทำกันคือการดูคลิปวิดีโอจากสมาร์ทโฟนหรือดูโทรทัศน์ไปด้วยระหว่างกินอาหาร แต่นี่เป็นวิธีการที่ไม่แนะนำ เนื่องจากจะทำให้ต้องละสายตาจากอาหารเพื่อไปโฟกัสที่หน้าจอโทรทัศน์ และไม่ได้สนใจการกินอาหารเท่าที่ควร จึงควรหลีกเลี่ยงการทานไปดูไปจะดีกว่า

กินอาหารหลายคนต้องเพลงคลาสสิก

ฟังเพลง

แต่ละคนต่างมีเพลงโปรดของตัวเอง เมื่อไปกินอาหารร่วมกันหลายคน การผลัดกันเปิดเพลงที่แต่ละคนชอบก็เป็นความคิดที่ดี แต่นั่นก็ยังไม่เหมาะสำหรับการกินอาหารร่วมกัน มีงานวิจัยที่นำเสนอในการประชุมประจำปีครั้งที่ 63 ของสมาคม Home Economics แห่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งจัดขึ้นในปี 2011 ชื่อว่า “ผลกระทบของ BGM ในสภาพแวดล้อมการกินอาหารที่ส่งผลต่อความอยากอาหาร”

การศึกษานี้ทำการทดลองเพื่อวัดระดับความอยากอาหาร โดยการวัดคลื่นสมองในสภาพแวดล้อมการกินอาหารที่มีเสียง 5 แบบ ได้แก่ ดนตรีตะวันตกที่เสียงดังอึกทึก ดนตรีตะวันตกที่นุ่มนวล ดนตรีคลาสสิก เสียงในโรงอาหารของโรงเรียน และ ไม่มีเสียง ผลที่ได้คือ ดนตรีตะวันตกที่เสียงดังอึกทึกทำให้ความอยากอาหารลดต่ำลงเป็นพิเศษ ในขณะที่ดนตรีคลาสสิคกับเสียงในโรงอาหารของโรงเรียนทำให้ในสมองมีระดับความผ่อนคลายสูงซึ่งนำไปสู่การเพิ่มความอยากอาหาร

เมื่อกินอาหารร่วมกับเพื่อนๆ แล้วไม่อยากให้บรรยากาศเงียบเชียบเกินไป ลองเปิดดนตรีคลาสสิกเพราะๆ ฟังสบายๆ สักเพลง จะช่วยเพิ่มความอยากอาหารและทำให้กินอาหารร่วมกับผู้อื่นได้เอร็ดอร่อยมากขึ้น

ทานให้อร่อยมากขึ้น สนุกมากขึ้น

อาหารที่ทานในชีวิตประจำวันไม่เพียงแต่เป็นโภชนาการสำหรับร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นโภชนาการสำหรับจิตใจด้วย ต้องทานให้อร่อย และทานให้สนุกไปด้วยในเวลาเดียวกัน นอกจากเสียงเพลงแล้ว สถานที่ บรรยากาศ หรือแม้แต่ภาชนะที่ใส่อาหาร ก็มีส่วนช่วยให้การกินอาหารสนุกขึ้น เหมือนเวลาที่ได้ไปร้านอาหารสวยๆ หรือทานขนมบนจานชามลายน่ารักๆ ที่จะทำให้ยิ่งน่าทานขึ้นไปอีก ลองผสมผสานการ ฟังเพลง ไปพร้อมกับการกินอาหาร เพื่อให้หัวใจได้ผ่อนคลายดู

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *