ขนุน

ขนุน ผลไม้รสหวานฉ่ำที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่างวิตามินซี โพแทสเซียม ทองแดง และแมงกานีส มีแป้งและเส้นใยอันเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ทั้งยังกล่าวกันว่าผลหรือส่วนต่าง ๆ ของพืชชนิดนี้มีสรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง ต้านอนุมูลอิระ ช่วยลดการอักเสบ และอาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน

คุณประโยชน์ด้านสุขภาพของการรับประทานขนุนที่เชื่อกันนั้นจริงเท็จประการใด มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กล่าวรับรอง ดังนี้

ดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผลไม้ที่มีรสหวานและน้ำตาลสูงอย่างขนุนคงไม่เหมาะกับการนำมาให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานเพื่อลดน้ำตาลในเลือดหรือควบคุมอาการของโรค แต่น้ำที่สกัดจากใบของขนุนนั้นถูกใช้เป็นยาตามตำรับพื้นบ้านเพื่อรักษาเบาหวานมาอย่างยาวนาน จนเริ่มมีงานวิจัยที่หาคำตอบในด้านนี้ตามมา

การทดลองชิ้นหนึ่งทดสอบประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดของสารสกัดจากใบขนุนโดยให้หนูที่เป็นเบาหวานกินสารสกัดดังกล่าว ผลลัพธ์พบว่าให้ผลดีเทียบเท่ากับการใช้ยาสำหรับรักษาโรคเบาหวานอย่างไกลเบนคลาไมด์ในปริมาณ 0.6 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทำให้คาดว่าสารสกัดจากใบขนุนอาจมีประโยชน์ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่เกี่ยวข้องกับการมีไขมันในเลือดสูง เช่นเดียวกับการศึกษาลักษณะคล้ายคลึงกันในหนูทดลองอีกชิ้นหนึ่งที่ให้ผลลัพธ์ในทางเดียวกัน และพบข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมว่าคุณสมบัติดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบในใบขนุน

อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของขนุนในด้านนี้ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากล้วนเป็นการศึกษากับสัตว์ทดลองจำนวนน้อย จึงไม่อาจรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ได้แน่ชัด จำเป็นต้องมีการทดลองกับคนจำนวนมากต่อไปในอนาคต

เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ สารอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นสูงในร่างกายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ เสียหายจนอาจเกิดโรคร้ายแรงหลายชนิดตามมา เช่น มะเร็ง เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ อัลไซเมอร์ ต้อกระจก รวมถึงความเสื่อมที่เป็นไปตามอายุอย่างริ้วรอยหรือความเหี่ยวย่นของผิวหนัง

มีงานวิจัยระบุว่าผงสกัดจากเปลือกขนุนมีสารบางชนิดที่มีอานุภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง รวมทั้งสารชีวภาพอื่น ๆ ที่อาจนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง ยารักษาโรค และอาหารเสริม ซึ่งการศึกษาในปีถัดมาได้ให้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่าสารต้านอนุมูลอิสระดังกล่าวคืออาร์โทนินเอ อาร์โทนินบี และไซโคลเฮเทอโรฟิลลิน ซึ่งเป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบได้ในขนุนนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การรับประทานขนุนปริมาณมากเพื่อคุณประโยชน์ด้านนี้คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เพราะเนื้อขนุนมีรสหวานและมีน้ำตาลมาก อีกทั้งการทดลองข้างต้นไม่ได้พิสูจน์กับเนื้อขนุนแต่เป็นเปลือกขนุุน เพื่อสุขภาพที่ดีจึงควรเลือกรับประทานผักผลไม้ให้หลากหลายในปริมาณมากแทน ซึ่งจะช่วยให้ได้รับแร่ธาตุ วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างครบถ้วน โดยมีงานวิจัยหลายงานชี้ว่าการรับประทานอาหารที่มีผักผลไม้ปริมาณมากนั้นอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งบางชนิด โรคเกี่ยวกับตาและระบบย่อยอาหาร รวมทั้งอาจส่งผลดีต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด

ต้านมะเร็ง สรรพคุณอีกประการหนึ่งของขนุนที่ถูกกล่าวถึงในวงกว้างคือการต้านและฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งมีที่มาจากงานวิจัยในหลอดทดลองที่พบว่าสารสกัดจากเนื้อไม้ของต้นขนุนมีสารประกอบบางอย่างที่มีฤทธิ์ยับยั้งและฆ่าเซลล์มะเร็งของคนได้มากกว่าสารต้านเซลล์มะเร็งบางชนิด เช่นเดียวกับงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ที่ทดลองกับเซลล์มะเร็งในห้องทดลองเช่นกัน ผลลัพธ์พบว่าสารอาร์โทคาร์ปิน (Artocarpin) จากขนุนอาจมีคุณสมบัติเป็นสารป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ทั้งนี้ ขนุนจะมีประโยชน์ด้านนี้มากน้อยเพียงใด ใช้ได้ผลจริงหรือไม่ และควรใช้ในรูปแบบใด ยังคงต้องมีการวิจัยในคนเพื่อหาคำตอบเพิ่มเติมต่อไป เนื่องจากงานวิจัยที่มีในปัจจุบันล้วนกระทำในห้องทดลองหรือทดสอบกับสัตว์ จึงไม่อาจยืนยันว่าจะให้ผลดีและปลอดภัยเช่นเดียวกันเมื่อนำมาใช้กับคน

ต้านการอักเสบและต้านแบคทีเรีย ตำรับยาตามภูมิปัญญาชาวบ้านอ้างว่าขนุนมีสรรพคุณลดภาวะอักเสบและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งความเชื่อดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่กล่าวถึงสารประกอบอาร์โทคาร์เปซิน (Artocarpesin) ในขนุนอันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟีนอลิก โดยคาดว่าสารนี้มีคุณสมบัติช่วยลดภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นจากการต่อต้านปฏิกิริยาบางอย่างภายในร่างกาย รวมทั้งอาจมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ส่วนงานวิจัยด้านคุณสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียชิ้นหนึ่งที่ทำในห้องทดลองก็ชี้ว่าผงสกัดสารอาร์โทคาร์ปินและอาร์โทคาร์ปาโนน (Artocarpanone) จากเนื้อไม้ของต้นขนุนมีฤทธิ์ช่วยยั้บยังเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงได้หลากหลายชนิด ทว่าคุณสมบัติในการต้านอักเสบและยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของขนุนจะนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ได้จริงหรือไม่ คงต้องรอให้มีการศึกษาในคนโดยตรงและยืนยันประสิทธิภาพได้อย่างแน่ชัดเสียก่อน

ข้อพึงระวังในการใช้ขนุน

การรับประทานขนุนในปริมาณมากเพื่อสรรพคุณทางการรักษาโรคนั้นไม่ปรากฏข้อมูลยืนยันความปลอดภัย แต่พบว่าสารสกัดจากขนุนอาจทำให้รู้สึกง่วงได้ นอกจากนี้ บุคคลที่อยู่ในกลุ่มต่อไปนี้ควรใช้อย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *