แพ้อาหารทะเล
แพ้อาหารทะเลคืออะไร?

แพ้อาหารทะเล (Seafood Allergy) เกิดขึ้นจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อโปรตีนในอาหารทะเล ทั้งกุ้ง กั้ง ปู หอย หมึก ปลาพันธุ์ต่างๆ โดยอาจมีอาการแพ้อาหารทะเลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือแพ้ทั้งหมดก็ได้ มักมีอาการแน่นหน้าอก ผื่น ลมพิษ บวมที่ตา หน้า ลิ้น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

ประเภทการแพ้อาหารทะเล
แพ้อาหารทะเล
สาเหตุของการแพ้อาหารทะเล

การ แพ้อาหารทะเล เป็นกลไกการทำงานของร่างกาย เมื่อผู้ที่แพ้ทานอาหารทะเลเข้าไป จะมีการสร้างภูมิต้านทาน (Antibody) ที่ชื่อว่า Immunoglobulin E (IgE) ขึ้นมา เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมองว่าโปรตีนเหล่านี้เป็นอันตราย หรือที่เรียกว่าสารก่อภูมิแพ้ (Allergen)

ครั้งต่อไปเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้อีก หรือมีการกินอาหารทะเลที่แพ้เข้าไป ระบบภูมิคุ้มกันก็จะหลั่งฮีสตามีนและสารเคมีต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายแสดงอาการแพ้ออกมา ซึ่งการที่ร่างกายจะสร้าง Antibody ที่ชื่อว่า IgE ขึ้นมาได้นั้น ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยต่อไปนี้

  1. ปัจจัยทางพันธุกรรม
  2. ปัจจัยทางสุขภาพในขณะที่รับประทานอาหารชนิดดังกล่าว
  3. ปัจจัยด้านเวลา เช่น ทานอาหารหลังจากเพิ่งออกกำลังกายเสร็จ อาจจะทำให้มีการหลังสารฮีสตามีนออกมาโดยไม่รู้ตัว
อาการแพ้อาหารทะเลมีอะไรบ้าง?

โดยอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นหลังการรับประทานหลายนาทีหรืออาจจะเป็นชั่วโมง สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหลังการรับประทานอาหารที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) ในบางครั้งอาการหายใจลำบากสามารถเกิดขึ้นได้เพียงแค่สูดดมไอระเหยระหว่างปรุงอาหารทะเล

แพ้อาหารทะเล
ภาวะแทรกซ้อนจากการแพ้อาหารทะเล

ในการแพ้อาหารทะเลสามารถเกิดอาการแพ้ที่รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) คือ อาจเกิดอาการหายใจลำบาก มีอาการแน่นหน้าอก มีอาการคอบวมจนปิดกั้นทางเดินหายใจ หรือเป็นลมล้มลง เนื่องจากเกิดอาการช็อก (Shock) เพราะความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว อาการเหล่านี้อาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงเกิดอาการแพ้อาหารทะเลรุนแรง ดังนี้

อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์

เมื่อมีอาการแพ้ขั้นรุนแรง ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว วิงเวียนศีรษะ มีอาการช็อก หายใจลำบาก หรือภาวะแทรกซ้อนจากการแพ้อาหารทะเล ควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อเข้ารับการรักษา

การรักษาอาการแพ้อาหารทะเล
แพ้อาหารทะเล
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการแพ้อาหารทะเล
1. อาการแพ้อาหารทะเลสามารถหายได้ไหม?

การแพ้อาหารทะเลไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงรักษาอาการเมื่ออาการแพ้เกิดขึ้น โดยการกินยาแก้แพ้หรือฉีดยาเอพิเนฟรินในกรณีแพ้รุนแรง

2. แพ้อาหารทะเลตอนโต ทั้งๆ ที่ตอนเด็กๆ ไม่เคยมีประวัติแพ้มาก่อน เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายได้รับโปรตีนที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน จนร่างกายเริ่มเรียนรู้และมีการสร้างภูมิต้านทาน IgE ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับอาหารชนิดดังกล่าวขึ้นมา หากมีการดม สัมผัส หรือกินอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้เข้าไป ร่างกายก็จะตอบสนองออกมาเป็นอาการแพ้ แม้ว่าตอนเด็กจะไม่เคยแพ้อาหารชนิดนี้มาเลยก็ตาม

3. แพ้อาหารทะเลฉีดวัคซีนได้ไหม?

หลักๆ แล้วสามารถฉีดได้ ไม่เหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่อาจทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบในคนที่แพ้ไข่ เนื่องจากมีการผลิตมาจากโปรตีนไข่ แต่ก่อนการฉีดวัคซีนทุกครั้งแพทย์หรือพยาบาลจะมีการถามประวัติการแพ้วัคซีน และอาการแพ้ต่างๆ ก่อนทุกครั้ง ควรแจ้งข้อมูลให้แพทย์หรือพยาบาลทราบอย่างครบถ้วน

4. แพ้อาหารทะเลแต่อยากกิน ทำยังไงได้บ้าง?

ไม่ควรกินเด็ดขาด แม้ในบางครั้งอาการแพ้อาจไม่รุนแรงมาก แต่ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารทะเลอยู่แล้ว อาจเกิดการแพ้รุนแรงเฉียบพลันได้ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

5. ทำไมแพ้กุ้งแม่น้ำ แต่กินกุ้งทะเลได้?

เพราะโปรตีนในกุ้งแม่น้ำและกุ้งทะเลมีความแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นการหลั่งสารฮีสตามีนแตกต่างกันไปด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *