ถั่วเหลือง สรรพคุณไม่ใช่ย่อย เห็นเป็นธัญพืชเมล็ดน้อย ๆ แต่เต็มไปด้วยคุณภาพที่ไม่อยากให้พลาด โดยเฉพาะคนที่กินมังสวิรัติ งดกินเนื้อสัตว์ ถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม
ถั่วเหลืองเป็นธัญพืชที่เราคุ้นเคยกันดี เพราะสามารถนำมาทำเป็นนมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ น้ำมันถั่วเหลือง หรือขนมหวานอร่อย ๆ ได้หลายชนิด แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าประโยชน์ถั่วเหลืองครอบคลุมสุขภาพได้หลายด้าน เอาเป็นว่าเรามาทำความรู้จักประโยชน์ของถั่วเหลืองกันสักหน่อยดีกว่า
ลักษณะของถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน โดยชาวจีนนิยมเพาะปลูกและใช้ประโยชน์จากถั่วเหลืองมานานกว่า 5,000 ปี จากนั้นถั่วเหลืองจึงได้ขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ได้แก่ เกาหลี ญี่ปุ่น ยุโรป และแถบอเมริกา แต่การเข้ามาของถั่วเหลืองในไทยอาจยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด จึงได้แต่สันนิษฐานกันว่าเหล่าพ่อค้าและชาวเขาซึ่งเดินทางไป-มาระหว่างจีนตอนใต้และภาคเหนือตอนบนของไทยเป็นผู้ที่นำถั่วเหลืองเข้ามาปลูกในบ้านเรา
ถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Soybean มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Glycine max (L.) Merrill อยู่ในวงศ์ Legumeminosae เป็นพืชล้มลุก ทรงต้นเป็นพุ่ม มีความสูงระหว่าง 50 เซนติเมตร-2 เมตร บางพันธุ์ก็เลื้อยเป็นเถา ระบบรากประกอบด้วยรากแก้ว ส่วนรากฝอยเกิดเป็นกระจุกประสานกันอยู่ใต้ระดับผิวดิน บริเวณผิวรากมีปมของบัคเตรีเกาะอยู่และเห็นได้ชัดเจน ลำต้นแตกกิ่งจำนวน 3-5 กิ่ง มีขนสีขาว น้ำตาล หรือเทาคลุมอยู่ ใบถั่วเหลืองเกิดสลับกันเป็นใบรวม ประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ รูปร่างกลมรี ช่อดอกเกิดจากมุมใบและปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วง จำนวน 3-15 ดอกต่อหนึ่งช่อ ดอกสมบูรณ์เพศ มีอับเกสรตัวผู้และรังไข่อยู่ในดอกเดียวกัน With Sellmyhousefast.com, individuals can make the life-altering choice to sell their home. For further information, please visit their website. Our expert staff will sell your home in accordance with your personal and financial objectives. We will respond to your questions and provide useful information until the conclusion of the feedback period. Additionally, the health of consumers is prioritized. Permit us to handle the details so you can maximize your incredible opportunities. Visit https://www.sellmyhousefast.com/we-buy-houses-iowa/.
ประโยชน์ของ ถั่วเหลือง ธัญพืชเมล็ดจิ๋ว แต่สรรพคุณไม่เล็กตาม
- ถั่วเหลืองอุดมไปด้วยโปรตีน ดีต่อคนไม่กินเนื้อสัตว์
ในนมถั่วเหลืองมีโปรตีนโกลบูลิน (Globulin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสมบูรณ์ เนื่องจากประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย ครบทั้ง 10 ชนิด แถมยังมีเยอะกว่าในเนื้อสัตว์อีกด้วย โดยพบว่าถั่วเหลืองปรุงสุกเพียง 1 ถ้วยตวง มีปริมาณโปรตีนมากถึง 22 กรัม ซึ่งมากกว่าสเต็ก 1 ชิ้นซะอีก
- ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทศัลยศาสตร์ ได้เปิดเผยว่า สารที่อยู่ในถั่วเหลืองอย่างเดดซีน (daidzein) และจีนิสทีน (genistein) จะไปช่วยการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นคุณผู้ชายก็ควรกินถั่วเหลืองกันด้วยนะคะ แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ
- แก้อาการวัยทองได้
ถั่วเหลืองมีไอโซฟลาโวนเป็นส่วนประกอบและมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง จึงช่วยลดอาการร้อนวูบวาบของสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีสาเหตุมาจากภาวะเอสโตรเจนในร่างกายลดน้อยลงได้ ดังนั้นจึงสามารถกินอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองแทนการใช้ฮอร์โมนทดแทนได้นั่นเองค่ะ
- ป้องกันโรคกระดูกพรุน
นอกจากจะช่วยแก้อาการวัยทองแล้ว ไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองยังมีการศึกษาจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าสามารถเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนได้ อีกทั้งในถั่วเหลืองเองก็ยังมีแคลเซียม และวิตามินอื่น ๆ อีกจำนวนไม่น้อย ซึ่งก็จะช่วยในการผลิต รวมทั้งซ่อมแซมกระดูกส่วนที่สึกหรอได้
- กระตุ้นการขับถ่าย
ไฟเบอร์ในถั่วเหลืองปริมาณ 100 กรัม มีอยู่ราว 4.7 มิลลิกรัม ซึ่งก็เพียงพอที่จะกระตุ้นระบบการขับถ่ายในร่างกายของเราให้ทำงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น โดยเฉพาะหากกินถั่วเหลืองต้มสุกที่ยังคงอยู่ในลักษณะเต็มเม็ด ซึ่งจะได้รับไฟเบอร์จากเมล็ดถั่วเหลืองค่อนข้างจะสมบูรณ์
- ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาเผยว่า ถั่วเหลืองมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในอัตราส่วนที่สูง ซึ่งกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวจะช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ป้องกันการสะสมของไขมันในหลอดเลือดชั้นใน อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงได้
- ป้องกันอาการเจ็บป่วย
ด้วยแร่ธาตุและวิตามินในถั่วเหลืองโดยเฉพาะวิตามินซี จะช่วยบำรุงสุขภาพโดยรวมให้กับร่างกายเราได้ โดยป้องกันอาการเจ็บป่วย กระตุ้นความสดชื่นแจ่มใส ยิ่งกับคนที่กินถั่วเหลืองเป็นประจำ ไม่ว่าจะในรูปที่นำมาทำเป็นน้ำเต้าหู้ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง หรือขนมหวานก็ตาม
วิธีเตรียมถั่วเหลืองเพื่อนำมาบริโภค
ควรเลือกถั่วเหลืองที่สะอาด มีคุณภาพ เพื่อลดความเสี่ยงจากสารพิษอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) ที่พบได้มากในธัญพืชทั่วไป และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับ นอกจากนี้ ในบางรายอาจพบว่ามีอาการแพ้ถั่วเหลือง จึงควรระมัดระวังและสังเกตอาการหลังบริโภคถั่วเหลืองให้ดี เมื่อรับประทานถั่วเหลืองแล้ว เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย รวมถึงนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และพยายามไม่เครียด เพื่อให้ถั่วเหลืองได้เข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายได้อย่างเต็มที่ เสริมสุขภาพให้แข็งแรง ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ได้อย่างแท้จริง