การทำIF
 IF (Intermittent Fasting) คืออะไร ? 
การทำIF

การทำIF คือ การอดอาหาร จำกัดช่วงเวลาการกิน และควบคุมการรับประทานอาหารแบบง่าย ๆ เพื่อลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมันส่วนเกิน โดย if ย่อมาจาก คำว่า Intermittent Fasting ซึ่งหากแปลแบบตรงตัว Intermittent แปลว่าการทำอะไรเป็นช่วง ๆ ส่วน Fasting คือ การอดอาหาร เมื่อเอา 2 คำนี้ มารวมกัน Intermittent Fasting คือ การอดอาหารในช่วงเวลาแต่ละวัน เพื่อเป้าหมายหลักคือ ลดน้ำหนัก และให้ร่างกายใช้ไขมันที่สะสมในร่างกายได้มากขึ้น 

โดยในแต่ละวันจะมีการแบ่งเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า Fasting การอด และช่วง Feeding คือ ช่วงกิน ในหนึ่งวันของแต่ละสูตร ซึ่งมีความแตกต่างกันในช่วงเวลาที่ไม่เท่ากัน

หลักการทำงานของการอดอาหาร if จะมีระบบช่วงเวลาที่ใช้ในการกิน ร่างกายก็จะได้รับพลังงานในรูปแบบที่สามารถคาดคะเนได้ง่ายขึ้น และร่างกายสามารถปรับตัวไม่ใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานหลัก แต่จะไปดึงไขมันมาใช้แทน 

หมอขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นคือ ถ้าเรารับประทานอาหารตลอดทั้งวัน ไม่ได้มีการกำกับเวลา ก็อาจจะได้รับสารอาหารที่มากเกินไป กลายเป็นการสะสมของไขมัน จนร่างกายไม่จำเป็นต้องดึงไขมันที่สะสมอยู่ออกมาใช้ หรือบางคนอดอาหาร if มากเกินไป กินน้อยไป ก็จะทำให้ผอมลง แต่ไม่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะเกิด Calories Deficit หรือกินน้อยกว่าที่ใช้ ทำให้เสียสุขภาพร่างกายนั่นเอง 

IF มีกี่แบบ ?
การทำIF

หลัก ๆ จะมีตารางทำ if  6 รูปแบบ แต่ที่ได้รับความนิยมมากสุดคือ If 16/8  หรือการจำกัดเวลาทานอาหาร 8 ชั่วโมง และงดมื้ออาหาร 16 ชั่วโมง ซึ่งหมอจะอธิบายแต่ละรูปแบบเป็นข้อ ๆ ดังนี้  

1. Intermittent Fasting แบบ Lean gains 

การทำ if แบบ  Lean Gains เป็นสูตรที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือเป็นการอดอาหาร 16 ชั่วโมง และกิน 8 ชั่วโมง หรือที่เรียกกันว่า if 16/8  ครับ 

2. Intermittent Fasting แบบ Fast 5

การทํา if  แบบ Fast 5 จะคล้าย ๆ กับ แบบ Lean Gains (If 16/8 )  แต่จะเป็น if 19/ 5 คือกินอาหารในช่วง 5 ชั่วโมง และจะอดอาหาร if 19 ชั่วโมงต่อเนื่อง วิธีนี้ค่อนข้างทำยาก จึงไม่ค่อยไม่รับความนิยมเพราะมีช่วงเวลางดอาหารยาวนาน เช่น ถ้าเป็นคนทำงานออฟฟิศ อาจจะกินมื้อแรกตอน 7.00 น. แล้วกินอีกทีตอน 02.00 น. ของอีกวัน  ดังนั้นบางคนอาจขยับช่วงเวลา เป็น ทำ if 18/6  แทน 

3. Intermittent Fasting แบบ Eat stop Eat

การทํา if  แบบ  Eat stop Eat คือ จะต้องอดอาหาร if  24 ชั่วโมง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนวันที่ไม่อดก็สามารถกินได้ตามปกติ  แต่จะต้องกินอาหารอย่างเหมาะสม เน้นอาหารดี มีประโยชน์ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ข้อเสียของรูปแบบนี้คือ คนไข้จะรู้สึกอยากอาหารมากขึ้นในวันต่อไป และส่งผลต่ออารมณ์ด้วย

4. Intermittent Fasting แบบ 5:2

การทํา if  แบบ 5:2 คือ การกินอาหารตามปกติ 5 วัน และกินอาหารแบบ Fasting 2 วัน โดยจะแบบติดกัน 2 วันหรือห่างกันก็ได้ วิธีนี้จะไม่ใช่การอดอาหารทั้งวัน แต่จะเป็นการลดปริมาณอาหารให้น้อยลงแทน เช่น กิน 500-600 แคลอรี หรือประมาณ1/4 ของแคลอรีที่ได้รับต่อวัน

5. Intermittent Fasting แบบ The Warrior Diet

การทํา if  แบบ  The Warrior Diet คือการอดอาหารในช่วงกลางวัน โดยสามารถดื่มได้แค่น้ำเปล่า และกลับมารับประทานอาหารหนักในมื้อค่ำเพียงมื้อเดียวเท่านั้น เฉลี่ยคือใช้เวลาในการอดอาหาร ประมาณ 19-20 ชั่วโมงต่อวัน 

6. Intermittent Fasting ADF (Alternate Day Fasting)

IF แบบ ADF คือการอดอาหารแบบวันเว้นวัน วิธีค่อนข้างยากสำหรับคนเริ่มทำ เพราะต้องอด อาหาร 1 วัน กินอาหาร 1 วัน แล้วกลับมาอดอีก 1 วัน  

การทำ IF ช่วยลดน้ำหนักได้จริงไหม ? 
การทำIF

การลดน้ำหนักแบบ if  นั้นสามารถลดได้จริง แต่ผลลัพธ์ลดได้มากน้อยแค่ไหนจากการทํา if  ขึ้นอยู่กับระบบการเผาผลาญของแต่ละบุคคล รวมถึงในบางคนอาจมีผลกระทบอื่น ๆ ตามมา จากการอดอาหาร if  เช่น ปวดศีรษะ ร่างกายอ่อนล้า ขาดพลังงานและขาดสมาธิ  รวมถึงมีผลต่ออารมณ์ หงุดหงิดง่าย เป็นต้น 

ข้อดี- ข้อเสียของการทำ IF

ข้อดี : การทํา if  หลัก ๆ คือช่วยลดน้ำหนัก แต่ก็ยังมีข้อดีอื่น ๆ ที่ส่งผลดีต่อร่างกาย ดังนี้

ข้อเสีย : การทํา if   ไม่ได้มีเฉพาะข้อดีเสมอไป ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ในบางคน เช่น 

การเริ่มต้นทำ IF ควรเริ่มแบบไหนดี 

สำหรับมือใหม่หัดทำ if  หมอแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการเริ่มจากสูตร 16/8  โดยจะใช้เวลาอดอาหาร  16 ชั่วโมง แล้วกิน 8 ชั่วโมง สูตรนี้สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวเข้ากับระบบ และอาจปรับเวลามื้ออาหาร เช่น โดยปกติเริ่มมื้อเช้า ตอน 8 โมงเช้า ให้ลองเริ่มกินมื้อแรกตอน 12.00 น. มื้อ 2 ประมาณ 16.00 น. และมื้อสุดท้ายเวลาไม่เกิน 20.00 น. ภายใน 8 ชั่วโมง เป็นการงดเช้า กินเที่ยงกับเย็น ก็จะสามารถทำ IF ได้อย่างสม่ำเสมอ 

แต่ถ้าใครกลัวว่าจะยอมแพ้ไปเสียก่อน สามารถลดจำนวนชั่วโมงอดอาหารลงและเพิ่มชั่วโมงการกิน เป็น ทำ if 14/10  ก่อนในช่วงแรกและค่อย ๆ ขยับเวลาหากทำได้ดี  

ทำ IF กี่วันเห็นผล

การลดน้ำหนักแบบ if  กี่วันเห็นผล ตรงนี้ขึ้นอยู่แล้วแต่ร่างกายของแต่ละบุคคลโดยทั่วไปสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงประมาณ 1 สัปดาห์เนื่องจากเป็นการควบคุมวินัยพฤติกรรมการกิน อาจรู้สึกว่าพุงลดลง และรู้สึกสบายตัวมากขึ้น แต่ในเคสที่มีน้ำหนักเกินมาก อาจใช้เวลาเป็นเดือน น้ำหนักจึงจะลดลง


ทำ IF กินอะไรได้บ้าง ?

ในช่วงเวลาที่เป็นช่วงกิน การทํา if สามารถกินอาหารได้ตามปกติ เพราะคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานที่ต้องใช้ตอนออกกำลังกาย โดยต้องใช้พลังงานของแป้งเข้าช่วย แนะนำกินให้พอดีอิ่ม ไม่เยอะเกินไป และเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มีประโยชน์ เลี่ยงของทอด ของมัน ขนมหวาน เครื่องดื่มติดหวาน แอลกอฮออล์ และหันมารับประทานผักผลไม้เพิ่มมากขึ้น 


ข้อควรระวังในการทำ IF 

ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจในการทำ Intermittent Fasting (IF) ปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ล่ะคนอาจไม่เหมือนกัน หากมีปัญหาโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำเพื่อความปลอดภัย และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการตรวจระดับวิตามินแร่ธาตุในเลือด หรือระดับฮอร์โมนในร่างกาย จะช่วยให้ การทำ IF ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *