DASH DIET

การปล่อยให้ร่างกายมีความดันโลหิตสูงย่อมส่งผลเสียต่อหัวใจ เนื่องจากค่าความดันโลหิตที่วัดได้คือแรงดันภายในหลอดเลือดขณะหัวใจบีบและคลายตัว เมื่อความดันโลหิตสูงจึงส่งผลให้หัวใจต้องออกแรงหนักมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ผลของแรงดันเลือดที่มาก ทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดความเสื่อมและเกิดไขมันเกาะได้ง่ายยิ่งขึ้นเป็นผลให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ทำให้มีความเสี่ยงเส้นเลือดหัวใจตีบและส่งผลต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ดังนั้นการดูแลอาหารที่รับประทานในแต่ละวันจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการกินแบบ DASH DIET (Dietary Approches to Stop Hypertension) ที่ออกแบบตามหลักโภชนาการ คืออีกทางเลือกที่ช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจได้ในระยะยาว
 

ทำความรู้จักกับ DASH DIET

DASH DIET

การรับประทานอาหารแบบแดช เป็นการรับประทานอาหารตามแนวทางโภชนาการ โดยเน้นการรับประทานอาหารร่วมกับการลดปริมาณโซเดียมและไขมันอิ่มตัว และเพิ่มการบริโภคใยอาหาร แมกนีเซียม โพแทสเซียม และแคลเซียมจากอาหาร เพื่อควบคุมความดันโลหิตและช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยมีรายงานผลการวิจัยที่พบว่า อาหารแบบแดชสามารถลดความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลรวมได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับอาหาร DASHDIET แต่มีไขมันสูง

อาหารแบบแดช คือ แนวทางการกินอาหารตามหลักโภชนา ที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันหรือลดความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะ (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet) โดยมีหลักการคือเน้นกินใยอาหาร โปรตีน และแร่ธาตุต่าง ๆ ร่วมกับการลดปริมาณโซเดียม ไขมัน และคอเลสเตอรอล เป็นแนวทางที่แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฏิบัติ ก่อนให้การรักษาด้วยยาหรือทำควบคู่กันไปกับการรักษาด้วยยา แนวทางอาหารแบบแดชเกิดจากการวิจัยของสถาบันโรคหัวใจ ปอด และโลหิตวิทยาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NHLBI) ร่วมกับศูนย์วิจัยทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา 5 แห่ง เพื่อวิจัยหาอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

หลักการรับประทานอาหารแบบ DASHDIET

DASH DIET

DASHDIET บำบัดได้แบบไม่ต้องพึ่งยารักษา

สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) แนะนำให้รับประทานอาหารแบบ DASHDIET เพราะช่วยควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันเลว (LDL-C) สามารถป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจขาดเลือด สิ่งสำคัญนอกจากนี้คือ การเพิ่มการบริโภคปลาทะเลน้ำลึกจะช่วยเพิ่มกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยควบคุมระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและต้องไม่ลืมออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และตรวจเช็กสุขภาพปีละครั้ง เพื่อจะได้มีระดับความดันที่เหมาะสมและมีหัวใจที่แข็งแรง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาหารเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลกับความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งหากเราหวังพึ่งพาแต่ยารักษา นาน ๆ เข้ายาเหล่านี้มักมีผลเสียข้างเคียงกับร่างกายได้ แต่หากเราหันมาปรับเปลี่ยนการกินอาหารและไลฟ์สไตล์ จะสามารถช่วยควบคุมความดันให้ลดลง อาจทำให้แพทย์สั่งลดยาให้น้อยลงหรืออาจจะไม่ต้องกินยาอีกเลยก็ได้ แถมอาหารที่ดียังช่วยเพิ่มสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *