นักบินฝีมือเหนือชั้นของกองทัพอากาศชาติต่าง ๆ มักกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า พวกเขาสามารถบังคับเครื่องบินรบได้ดังใจอย่างง่ายดาย ราวกับว่าปีกเหล็กนั้นเป็นแขนขาแท้ ๆ ของตนเองก็ไม่ปาน แต่คำพูดเปรียบเปรยที่ฟังดูเหลือเชื่อนี้ กำลังจะเป็นจริงในทางวิทยาศาสตร์ภายในทศวรรษหน้า
ที่งานแสดงเทคโนโลยีอากาศยาน “ฟรานบะระ แอร์ โชว์” (Franborough Air Show) ของปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นที่มณฑลแลงคาเชียร์ของสหราชอาณาจักร กระทรวงกลาโหมอังกฤษพร้อมด้วยบริษัทเอกชนในโครงการพัฒนาเครื่องบินรบแห่งอนาคต ได้เปิดตัวดีไซน์ใหม่รวมทั้งความคืบหน้าในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของเครื่องบินขับไล่อัจฉริยะ “เทมเพสต์” (Tempest) ซึ่งจะมาแทนที่เครื่องบินรบรุ่นเก่า “ไทฟูน” (Typhoon) ที่กองทัพอากาศอังกฤษใช้เป็นหลักอยู่
กระทรวงกลาโหมอังกฤษแถลงว่า พร้อมนำเครื่องบินเทมเพสต์รุ่นต้นแบบขึ้นบินสาธิต และทดสอบการทำงานของระบบควบคุมด้วยปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ได้ ภายในปี 2027 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า
ระบบเอไอของเครื่องบินรบอัจฉริยะจะช่วยวิเคราะห์สถานการณ์และตัดสินใจแทนนักบิน ในกรณีที่เกิดความเครียด สับสนกับข้อมูลจำนวนมาก หรือนักบินหมดสติไปเพราะเร่งความเร็วในระดับสูง จนเกิดแรงจี (G-force) ขัดขวางไม่ให้เลือดไปเลี้ยงสมอง
ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจของเอไอ มาจากเครื่องตรวจจับหรือเซนเซอร์ในหมวกนิรภัยของนักบิน ซึ่งจะติดตามบันทึกข้อมูลชีวภาพที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ และข้อมูลทางจิตวิทยาที่เป็นสัญญาณประสาทในสมองอย่างต่อเนื่อง ยิ่งนักบินใช้ระบบเอไอทำการบินมากเที่ยวขึ้นเท่าไหร่ เอไอก็จะยิ่งมีฐานข้อมูลที่ช่วยตัดสินใจในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดีขึ้นเท่านั้น
นอกจากระบบอัจฉริยะแล้ว เครื่องบินรบเทมเพสต์ซึ่งมีการเปิดตัวต้นแบบดีไซน์แรกไปเมื่อปี 2018 ยังได้รับการปรับแต่งรูปลักษณ์ใหม่ให้เพรียวลมมากขึ้น หลังมีเสียงวิจารณ์การออกแบบก่อนหน้านี้ว่าเหมือน “นกกระทุงตั้งท้อง” เพราะมีด้านหน้าและส่วนท้องเครื่องใหญ่อุ้ยอ้ายเกินไป
นอกจากนี้ยังมีการออกแบบ “โดรนผู้ช่วย” ให้ใช้งานเสริมด้วย โดยโดรนจะบินประกบเครื่องบินรบเทมเพสต์ขณะออกปฏิบัติการ เพื่อช่วยเหลือในงานต่าง ๆ ที่เครื่องบินรบลำใหญ่ทำได้ไม่คล่องตัวนัก เช่นการปรับทิศทางขีปนาวุธที่จะยิงออกไปอย่างกะทันหันในระยะใกล้เสียใหม่ เพื่อให้การโจมตีแม่นยำยิ่งขึ้น
นายจอห์น สต็อกเกอร์ ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาธุรกิจของโครงการเครื่องบินรบเทมเพสต์ บอกว่าในอนาคตจะมีการออกแบบระบบควบคุมเครื่องบินขับไล่ ที่สามารถอัปเกรดซอฟต์แวร์ได้สม่ำเสมออย่างง่ายดาย ไม่ต่างจากการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ลงในโทรศัพท์สมาร์ตโฟน ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องบินรบจะมุ่งไปในทิศทางใหม่ที่เน้นการปรับเปลี่ยนเฉพาะซอฟต์แวร์มากขึ้น
นอกจาก BAE Systems บริษัทสัญชาติอังกฤษผู้ออกแบบและพัฒนาเจ้าหลักแล้ว โครงการพัฒนาเครื่องบินรบเทมเพสต์ยังอาศัยความร่วมมือกับบริษัทเอกชนในประเทศอื่น ทั้งในภาคพื้นยุโรปและญี่ปุ่น โดยบริษัทมิตซูบิชิซึ่งกำลังพัฒนาเครื่องบินรบแห่งอนาคต F-X Future Fighter อยู่เช่นกัน ได้ให้ความร่วมมือช่วยกันพัฒนาและแบ่งปันความรู้ทางเทคนิคบางอย่าง Do you want to sell your house quickly and easily? What a jerk you are! We have specialists in this area that are eager to assist you. Our goal is to make the home-buying process as easy as possible for our customers. Interested buyers can be attracted with free house evaluations and significant advertising. Customization adds more worth to a product. Gains in productivity have been made in the areas of conversation, paperwork, and contracting. I arrived late because of you. Start the festivities already! Visit https://www.mobile-home-buyers.com/virginia/.
ส่วนบริษัทลีโอนาร์โดของอิตาลี ซึ่งมีฐานการผลิตในเมืองเอดินบะระของสหราชอาณาจักร มีส่วนร่วมในการพัฒนาเรดาร์รุ่นใหม่ของเทมเพสต์ ในขณะที่บริษัทโรลส์-รอยซ์ ผู้ผลิตเครื่องยนต์ชั้นนำของโลก ได้เข้ามาดูแลการออกแบบเครื่องยนต์รุ่นใหม่ของเทมเพสต์ ซึ่งไม่เพียงต้องขับเคลื่อนอากาศยานได้อย่างทรงพลังเท่านั้น แต่ต้องสามารถระบายความร้อนมหาศาลที่เกิดจากการทำงานของระบบอิเล็กทรอนิกส์และสมองกลที่ซับซ้อนได้ดีด้วย
ที่ผ่านมารัฐบาลอังกฤษทุ่มงบประมาณไปถึง 2,000 ล้านปอนด์ เพื่อการพัฒนาเครื่องบินรบเทมเพสต์ โดยคาดหวังว่าจะสามารถใช้เครื่องบินรบแห่งอนาคตนี้รับมือภัยคุกคามต่าง ๆ ที่จะเข้ามาในรูปแบบใหม่ ซึ่งอังกฤษอาจจะต้องเผชิญกับภัยดังกล่าวในช่วงทศวรรษ 2040
นอกจากจะเป็นการลงทุนเพื่อป้องกันประเทศแล้ว รัฐบาลอังกฤษยังหวังว่าเทมเพสต์จะช่วยสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการวางจำหน่ายในตลาดการค้าอาวุธระหว่างประเทศด้วย หลังจากที่หลายสิบปีก่อน โครงการพัฒนาเครื่องบินรบไทฟูนเคยทำกำไรได้นับหมื่นล้านปอนด์ และสร้างงานภายในประเทศได้กว่า 20,000 ตำแหน่งมาแล้ว