จากสถานการณ์การติดเชื้อ โควิด-19″ ในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี มีรายงานว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2564 ถึง 17 ก.พ. 2565 ประเทศไทยมีจำนวนเด็กปฐมวัยติดเชื้อสะสม 107,059 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 29 ราย โดยรายกลุ่มย่อยทุก 1 ปี มีจำนวนการติดเชื้ออยู่ในระดับมากกว่า 2 หมื่นราย แต่จะพบสูงกว่าในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี แสดงให้เห็นว่า กลุ่มเด็กเล็กน้อยกว่า 2 ปี โดยเฉพาะ 0-1 ปี เป็นกลุ่มที่ติดเชื้อง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆทั้งนี้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ อีกทั้งยังไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กเล็กมากๆ  ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อในครอบครัว และด้วยธรรมชาติของเด็กวัยนี้ ไม่สามารถป้องกันโรคด้วยตัวเองได้ดีพอ ส่งผลให้เป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

ก่อนหน้านี้ มีเรื่องเศร้าที่พูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ หลังคุณแม่ใจสลาย สูญเสียลูกชายหลังมีไข้สูง, อาเจียน เมื่อพาไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์กลับพบว่าถูกย้ายโดยไม่แจ้ง ก่อนอาการทรุดแล้วเสียชีวิต โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น “ลองโควิด” สร้างความเสียใจให้ครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่ต่อมา กรมควบคุมโรค” ก็ได้ออกมาเผยว่าการเสียชีวิตของเด็กชายวัย 2 ขวบนั้น ไม่ใช่ ลองโควิด” แต่เป็น ภาวะมิสซี” ซึ่งประเด็นนี้ได้สร้างความกังวลใจแก่ผู้ปกครองหลายคนเป็นจำนวนมาก

ขณะที่การสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ ของผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19 ของกรมการแพทย์ ผ่านทางเว็บไซต์กรมการแพทย์ ซึ่งเป็นข้อมูลในผู้ใหญ่ พบว่าอาการลองโควิดส่วนใหญ่ มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยอาการที่พบบ่อย 10 อันดับแรก มีดังนี้

อาการพบบ่อยในผู้ป่วย “ลองโควิด

ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ คุณหมอเผยว่ายังไม่แน่ชัด แต่มีข้อสังเกตที่พบในหลายการศึกษา อาทิ เพศหญิง, อายุมาก, ภาวะอ้วน, มีโรคประจำตัว มีอาการมากกว่า 5 อาการในช่วง 1 สัปดาห์แรกของการเจ็บป่วย และความรุนแรงของโรคมากในระยะแรก เป็นต้น

สำหรับกลุ่มอาการ มิสซี” เริ่มมีการรายงานครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นมีรายงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง พบได้ในเด็กทุกกลุ่มอายุ อายุโดยเฉลี่ย 8-10 ปี อุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 0.03 ของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิดทั้งหมด เด็กมักจะมาด้วยอาการเหล่านี้

อาการภาวะมิสซี (MIS-C)

ขณะที่ผู้ป่วยเด็กมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤติ เนื่องจากภาวะช็อก เนื่องจากมีอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 สามารถรักษาด้วยการให้อิมมูโนโกลบูลินและสเตียรอยด์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตอบสนองต่อการรักษาดี ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พบผู้ป่วยที่มารักษาด้วยภาวะนี้แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต ซึ่งยังต้องติดตามการรักษาต่อเนื่องโดยพบว่าร้อยละ 7-14 ยังมีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ

สุดท้ายนี้ สรุปได้ว่า “ลองโควิด” กับ “มิสซี” แตกต่างกัน ลองโควิดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากหายป่วยโควิด เป็นอาการที่หลงเหลืออยู่จะทำให้มีอาการอ่อนเพลียพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมิสซีเป็นภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ไตอักเสบ เส้นเลือด สมอง และไม่ได้เกิดจากโควิดเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้ปกครองหากพบอาการผิดปกติในลูกหลาน ควรรีบพาพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงที ซึ่งจะช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคนี้ไว้ได้.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *