ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า กับตัวย่อที่ใช้เรียกรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ทั้ง HEV, PHEV, BEV และ FCEV ย่อมาจากอะไร และแต่ละประเภทมีระบบการทำงานอย่างไรบ้าง เรามาทำความรู้จักและความหมายของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภทกัน
เชื่อว่าอีกไปถึง 10 ปี รถยนต์ไฟฟ้าจะกลายมาเป็นยานพาหนะหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มิได้เกิดขึ้นเพียงแค่กับธุรกิจยานยนต์เท่านั้น แต่ในหลายประเทศในแถบยุโรปเริ่มมีการเข้มงวดและจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ ประเทศนอร์เวย์ ที่มียอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุดในยุโรป และทางรัฐบาลนอร์เวย์ยังตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี พ.ศ. 2568 รถยนต์ทุกคันที่ใช้ในประเทศจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด
หรือแม้แต่ในประเทศอังกฤษเอง ที่ให้ประชาชนสามารถชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าได้จากเสาไฟฟ้าตามท้องถนนที่มีการจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน และเป็นการกระตุ้นให้พลเมืองของเค้าหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้นเรื่อย ๆ
ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า บนโลกใบนี้
1. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle, HEV)
2. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle, PHEV)
3. รถยนต์ไฟฟ้าเซลเชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV)
4. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV)
1. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle, HEV)
รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ กับ มอเตอร์ไฟฟ้า ทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนรถยนต์ มีการเปลี่ยนพลังงานจากเบรกมาเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บมาไว้ในแบตเตอรี่และสามารถนำพลังงานไฟฟ้าออกมาใช้ได้ ทำให้ประหยัดน้ำมัน ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมีการทำงานที่แตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 3 โหมด ได้แก่
- โหมดขับขี่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (EV Drive Mode) รถยนต์จะขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากแบตเตอรี่ และในขณะที่มีการปล่อยคันเร่ง หรือเหยียบเบรกจะเปลี่ยนพลังงานที่เกิดจากการลดความเร็วให้กลับไปเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ เรียกว่า Regenerative Braking System ในโหมดนี้มักจะใช้ในช่วงความเร็วต่ำที่ไม่ต้องการอัตราเร่ง แต่หากพลังงานในแบตเตอรี่มีมากพอ ก็สามารถใช้วิ่งในช่วงความเร็วปานกลาง หรือความเร็วสูงคงที่ได้เช่นกัน แต่จะใช้วิ่งได้ไม่ไกลก็ต้องสลับไปโหมดอื่น เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดมีแบตเตอรี่ค่อนข้างเล็ก
- โหมดการขับขี่ด้วยเครื่องยนต์ (Engine Drive Mode) จะใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ ส่งกำลังไปที่ล้อโดยตรง เหมาะสำหรับการขับขี่ด้วยความเร็วสูงคงที่
- โหมดการขับขี่ด้วยระบบไฮบริด (Hybrid Drive Mode) ในโหมดนี้เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้อัตราเร่งสูงสุด มักจะใช้ในช่วงที่ต้องการอัตราเร่งอย่างรวดเร็ว
นบ้านเรามีรถยนต์ไฮบริดหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งคนจะคุ้นตากันมากคือ Toyota เช่น PRIUS, Corolla ALTIS Hybrid, C-HR Hybrid, Corolla CROSS Hybrid, CAMRY Hybrid, ALPHARD Hybrid
ส่วนฝั่ง Honda ก็มี เช่น Jazz Hybrid, Civic Hybrid, City Hybrid e:HEV ขณะที่ทาง Nissan เคยมี X-Trail Hybrid แต่ปัจจุบันไม่ได้จำหน่ายแล้ว
2. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle, PHEV)
รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่สามารถเสียบปลั๊กชาร์จแบตได้โดยตรง และเพิ่มขนาดของแบตเตอรี่ ทำให้ขับเคลื่นด้วยโหมด EV ได้ไกลขึ้น ทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้นนั้นเอง
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV ในประเทศไทยก็มีหลายยี่ห้อเช่นเดียวกัน ได้แก่ MG HS Plug in Hybrid, Mitsubishi Outlander PHEV, BMW : X5 xDrive45e M Sport, Mercedes-Benz : GLC 300 e 4MATIC AMG Dynamic, GLE 350 de 4MATIC Exclusive, Volvo XC40 Recharge T5
ทั้งนี้ รถปลั๊กอินไฮบริด เหมาะสำหรับคนที่อาจจะยังไม่สะดวกในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ มีข้อดีคือ ไม่จำเป็นต้องชาร์จไฟเป็นประจำ เนื่องจากเครื่องยนต์ยังคงเป็นกำลังหลัก และไม่ต้องหาที่แวะชาร์จในเวลาขับ ไปได้ทุกที่ ไม่ต้องกังวล
3.รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV)
รถยนต์ประเภทเซลล์เชื้อเพลิง รถยนต์จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100% โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Fuel Cell Stack และแบตเตอรี่ ซึ่ง Fuel Cell Stack จะผลิตไฟฟ้าโดยปล่อยก๊าซไฮโดรเจนจากในถังเก็บและออกซิเจนในอากาศเข้าไปใน Fuel Cell เกิดปฏิกิริยาในทางเคมี จะได้พลังงานไฟฟ้าและไอน้ำ โดยไฟฟ้าที่ได้จะถูกส่งไปที่มอเตอร์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งแบตเตอรี่จะปล่อยพลังงานไฟฟ้าออกมาในช่วงที่ต้องการอัตราเร่งอย่างเฉียบพลัน โดยแบตเตอรี่จะรับพลังงานจากไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตจาก Fuel Cell Stack และ Regenerative Braking System
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า FCEV ได้แก่ Toyota Mirai, Honda Clarity Fuel Cell, Hyundai Nexo ซึ่งยังไม่มีการนำเข้ามาในประเทศไทย
4. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV)
รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแค่มอเตอร์ไฟฟ้า ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน 100% โดยตัวแบตเตอรี่จะได้รับพลังงานจากการเสียบชาร์ตโดยตรง และจาก Regenerative Braking System (ผ่อนคันเร่งหรือเหยียบเบรก) เท่านั้น ทำให้แบตเตอรี่ของรถยนต์ BEV มีขนาดค่อนข้างใหญ่เพื่อเก็บหลังงานในการขับเคลื่อน นิยมวางแบตเตอรี่ในตำแหน่งพื้นใต้ห้องโดยสาร เนื่องจากมีพื้นที่ค่อนข้างมาก และมีข้อดีคือจะทำให้จุดศูนย์ถ่วงของรถต่ำลง ทำให้รถทรงตัวดีขึ้น
สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบที่หลายคนรู้จักดีก็คือ Tesla จากทางฝั่งอเมริกา นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหลายยี่ห้อ เช่น MG รุ่น ZS EV, Nissan Leaf, Lexus UX300e, Honda e
ส่วนทางฝั่งยุโรปจะมี Porsche Taycan, Audi e-tron, BMW i3 / i4 / ix3/ ix, Mini Cooper SE เป็นต้น
ตัวอย่าง ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า ที่มีการวางจำหน่ายในไทย
1. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle, HEV)
ตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Hybrid ที่มีการวางจำหน่ายในไทย
▪️ Toyota Camry Hybrid, Toyota C-HR Hybrid, Toyota Alphard Hybrid, Toyota CHR Hybrid Toyota Prius, Toyota Altis Hybrid
▪️ Honda Accord Hybrid
▪️ Nissan X-Trail Hybrid
เป็นรถยนต์ที่มีการใช้เครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนทำงานร่วมกัน โดยในขณะที่รถยนต์ประเภทนี้มีการเบรค มอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่เป็น Generator และเปลี่ยนพลังงานจลน์กลับคืนเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้อีกด้วย เราเรียกกระบวนการนี้ว่า Regenerative braking จากกระบวนการออกแบบและการทำงานของรถยนต์ Hybrid ทำให้รถประเภทนี้มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียวค่อนข้างมาก
2. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle, PHEV)
ตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Plug-in Hybrid ที่มีการวางจำหน่ายในไทย
▪️ กลุ่ม Mercedes plug-in hybrid
▪️ BMW plug-in hybrid
▪️ Audi plug-in hybrid เป็นต้น
รถยนต์ประเภทปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV นั้นมีความคล้ายคลึงกับรถยนต์ไฮบริด (Hybrid, HEV) แต่จะแตกต่างกันตรงที่รถยนต์ประเภทนี้ สามารถที่จะชาร์จไฟฟ้าจากภายนอกได้ ซึ่งก็อาจจะใช้เป็น EV Charger หรือ สายชาร์จที่แถมมากับตัวรถก็ได้ ในการใช้งาน จึงทำให้รถยนต์ประเภทนี้สามารถที่จะขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวได้โดยไม่ต้องใช้น้ำมันแต่จะสามารถใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวได้ในระยะทางสั้นๆเท่านั้น ในด้านสมรรถนะในการขับขี่ มอเตอร์ไฟฟ้านั้นช่วยทำให้รถประเภทนี้นั้นออกตัวได้เร็วกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
3. รถยนต์ไฟฟ้าเซลเชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV)
ตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Fuel Cell Electric Vehicle ที่มีการวางจำหน่ายในไทย
▪️ Toyota Mirai
▪️ Hyundai Nexo
▪️ Honda Clarity Fuel Cell
รถยนต์ประเภทเซลเชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV) มีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อน เพียงแต่แหล่งพลังงานนั้นมาจากพลังงานของก๊าซไฮโดรเจน โดยก๊าซไฮโดรเจนจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศที่เซลเชื้อเพลิงทำให้ได้พลังงานส่งกำลังให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าใช้ในการขับเคลื่อน โดยรถประเภทนี้จะต้องมีการเติมพลังงานไฮโดรเจน ที่สถานีให้บริการ
4. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV)
ตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Battery Electric Vehicle ที่มีการวางจำหน่ายในไทย
▪️ Tesla
▪️ Nissan Leaf, MG ZS EV
▪️ Hyundai IONIQ EV,
▪️ BMW i3, Kia Soul EV, BYD E6, Audi e-tron เป็นต้น
รถยนต์ประเภทไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV) นั้นใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว จึงส่งผลให้รถประเภทนี้จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่มากกว่ารถประเภทอื่นๆที่กล่าวมาผู้ใช้งานรถประเภทนี้สามารถชาร์จไฟฟ้าด้วย EV Charger
1. ที่ติดตั้งตามบ้านพักอาศัย
2. ชาร์จโดย EV Station ที่เป็นแบบ Quick Charge กรณีที่เดินทางไกล
รถประเภทนี้จะมีอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นศูนย์ หรือพูดได้ว่าไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศเลยก็ว่าได้
รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ก็ยังถือได้ว่าช่วยลดอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ดีกว่ารถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงแน่นอน ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาในการผลิตกระแสไฟฟ้าของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน