ภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ได้รับ ทำให้กระหายน้ำและปัสสาวะมีสีเข้ม มักมีสาเหตุมาจากการอาเจียน ท้องเสีย การออกกำลังกาย หรือการใช้ยาบางชนิด สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มักเกิดขึ้นได้มากกับทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ หากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปจะทำให้เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

  ชีวิตมนุษย์ออฟฟิศอย่างเราๆ ในแต่ละวัน มักใช้เวลาหมดกับการเอาจริงเอาจังกับการทำงาน จนหลงลืมบางสิ่งที่สำคัญไป เช่น การดื่มน้ำ กิจวัตรง่ายๆ ที่เราลืมกันไปเลย ในภาวะร่างกายที่ปกติแข็งแรง เราก็จะใช้พลังงานจากร่างกายอย่างเต็มที่ จนบางเราก็ความต้องการเล็กๆ น้อยๆ ที่เราไม่ทันสังเกตว่าร่างกายส่งสัญญาณเรียกร้องออกมา ทำให้เราละเลยมันไป นานวันเข้า เมื่อเราหลงลืมไม่ใส่ใจดูแลร่างกายบ่อยๆ ก็อาจเกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงได้ วันนี้เรามาสังเกตสัญญาณบอกเหตุว่าร่างกายของเราขาดน้ำแล้วกันเถอะค่ะ

ภาวะขาดน้ำ

สาเหตุของ ภาวะขาดน้ำ

บางครั้งผู้ป่วยอาจเกิดภาวะขาดน้ำได้จากสาเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น ดื่มน้ำน้อยเกินไป ที่อาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วยหรือยุ่งจากการทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การทำงาน หรือการเล่นกีฬา รวมถึงสามารถเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป ในผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและแร่ธาตุเป็นจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียน้ำผ่านทางบาดแผลที่ผิวหนัง เช่น แผลไฟไหม้ แผลในปาก แผลติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือโรคผิวหนังอย่างรุนแรง เป็นต้น

ปัสสาวะมากผิดปกติ ในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะ ยาความดันโลหิต หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

เหงื่อออกมากผิดปกติ จากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน ผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีอากาศร้อนชื้น หรือในผู้ที่มีไข้สูง

ดื่มน้ำน้อยเกินไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการโคม่า ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงผู้ที่มีอาการป่วย เป็นหวัด หรือเจ็บคอ ทำให้รู้สึกเบื่ออาหารและดื่มน้ำน้อยลง

อาการ ภาวะขาดน้ำ

อาการภาวะขาดน้ำทั่วไป

อาการภาวะขาดน้ำ ที่มีความรุนแรง

การวินิจฉัยภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำ

แพทย์จะทำการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของการเกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น โดยมีแนวทางในการวินิจฉัยดังต่อไปนี้

การตรวจร่างกายเพื่อหาสัญญาณของภาวะขาดน้ำ เช่น การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ ชีพจรและความดันโลหิตในขณะที่ผู้ป่วยเปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่ายืน หากน้ำในเลือดน้อยเกินไปจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือเป็นลมได้หลังการเปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่ายืน

การตรวจปัสสาวะเช่น สีของปัสสาวะ การตรวจพบคีโตนในปัสสาวะ ระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน ปริมาณโปรตีนที่มากเกินไป อาจแสดงให้เห็นว่าไตมีปัญหา รวมถึงอาการของการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น โรคตับ เป็นต้น

การตรวจเลือด เช่น ปริมาณน้ำตาล ปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือด หรือการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าภาวะขาดน้ำมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ รวมถึงการตรวจค่าความเป็นกรดด่างในเลือด การทำงานของไต การทำงานของตับเพื่อหาสาเหตุของอาการต่อไป

เมื่อร่างกายขาดน้ำ…จะเกิดอะไรขึ้น?
เมื่อร่างกายขาดน้ำจะทำให้เซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ รวมถึงอาจกระตุ้นให้เกินภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ตะคริวแดด ลมแดด สมองบวมเนื่องจากสมองจะดึงน้ำเข้าเซลล์จำนวนมาก และยังส่งผลกระทบถึงไตและระบบทางเดินปัสสาวะได้ เช่น การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต หรือไตวาย และหากเกิดภาวะขาดน้ำบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน สามารถทำให้อาการชักได้ด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากแร่ธาตุในร่างกายที่ไม่สมดุล เช่น โพแทสเซียมและโซเดียม เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวหรือทำให้หมดสติได้

แต่! จะรู้ได้ยังไง…ว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ
1. สังเกตจากสีของปัสสาวะที่มีสีเข้มมากกว่าปกติ หรือถ้าเข้าขั้นที่มีสีแดงหรือสีน้ำตาลเจือปน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
2. เช็คความยืดหยุ่นของผิวหนัง โดยใช้มือดึงหนังที่บริเวณหลังมือขึ้นมาแล้วปล่อย ถ้าผิวสามารถเด้งกลับมาอยู่ที่เดิมได้ภายใน 2 วินาทีถือว่าปกติ แต่ถ้าใช้เวลานานกว่านั้น อาจเป็นสัญญาณของการขาดน้ำได้
3. เช็คการหมุนเวียนของเลือดบริเวณปลายนิ้ว โดยปกติแล้วเลือดเราจะวิ่งไปที่ส่วนปลายนิ้วมือ ทำให้เล็บของเรามีสีชมพูแดง วิธีเช็คคือให้บีบเล็บค้างไว้ 2-3 วินาที (เล็บจะกลายเป็นสีขาว) แล้วปล่อยออก เล็บควรกลับเป็นสีชมพูทันที แต่ถ้าปล่อยแล้วเกิน 3 วินาทียังเป็นสีขาว ให้ประเมินว่าอาจมีภาวะขาดน้ำเกิดขึ้นได้

ภาวะขาดน้ำ เกิดขึ้นได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน และส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงระดับรุนแรง ดังนั้นการดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันจึงเป็นสิ่งจำเป็น หรือใครเป็นสายชอบออกกำลังกาย ก็อย่าลืมเติมน้ำให้ร่างกายก่อนออกกำลังกายซัก 1-2 แก้วก่อนออกกำลังกายซักครึ่งชั่วโมง หากพบว่าที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ภาวะขาดน้ำ

การรักษาภาวะขาดน้ำ

การรักษา สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มหรือชดเชยปริมาณของเหลวในร่างกาย โดยการดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือแร่ หรือดื่มควบคู่กับน้ำเปล่า แพทย์อาจให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำจากอาการอาเจียนและท้องเสียที่ไม่สามารถดื่มน้ำผสมเกลือแร่ได้ และควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน สามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดน้ำ

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดน้ำสามารถเกิดขึ้นได้และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เช่น

การป้องกันภาวะขาดน้ำ

การป้องกัน สามารถทำได้โดยดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วย เช่น อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ หลอดลมอักเสบ การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น รวมถึงผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนชื้น อากาศหนาวเย็น หรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่สูง และสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้

One Response

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *