ข้าวเหนียวมะม่วง

ข้าวเหนียวมะม่วง แคลอรี่ดูท่าจะไม่น้อย แต่ของอร่อยสุดฟินในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ไม่กินก็แสนจะเสียดาย ดังนั้นจะกินข้าวเหนียวมะม่วงไม่ให้อ้วน ไม่เสี่ยงต่อสุขภาพก็ควรมีเคล็ดลับสักหน่อย นอกจากจะมีเทศกาลสำคัญแล้ว ในฤดูร้อนยังมีของอร่อยให้กินหลายเมนู โดยเฉพาะเมนูมะม่วงทั้งสุกและมะม่วงมัน แต่ที่น่ากินมาก ๆ และต้องจัดกันทุกปีคงเป็นเมนูข้าวเหนียวมะม่วงแน่ ๆ ใช่ไหมคะ แต่ข้าวเหนียวมูน+มะม่วงสุก ดูเป็นอาหารแคลอรีสูงและไขมันสูง ทีนี้ถ้าอยากกินข้าวเหนียวมะม่วงแบบไม่อ้วน ไม่เสี่ยงสุขภาพ ควรกินข้าวเหนียวมะม่วงแบบไหนดีล่ะ ลองมาอ่านเคล็ด​(ไม่)ลับ กินข้าวเหนียวมะม่วงแบบนี้สิ แล้วสุขภาพจะแฮปปี้ ไม่เสี่ยงโรค

เช่น กินมะม่วงสุกครึ่งลูก (ขนาดกลาง) จะได้พลังงานประมาณ 70 กิโลแคลอรี ส่วนข้าวเหนียวมูนให้กิน 100 กรัม หรือ 1 ขีด จะให้พลังงาน 280 กิโลแคลอรี เมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับ 350 กิโลแคลอรี ซึ่งเทียบเท่ากับแคลอรีที่ได้จากอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารที่เด็กวัยรุ่นที่นิยมกินกันหลาย ๆ ชนิด เช่น โดนัทเคลือบคาราเมล พิซซ่า และแฮมเบอร์เกอร์ ของพวกนี้ก็ให้พลังงานประมาณ 350 กิโลแคลอรี แต่ข้าวเหนียวมะม่วงมีคุณค่าทางโภชนาการและเชิงอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่า

กลางวันเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องใช้พลังงานทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นเราจะมีเวลาเผาผลาญพลังงานจากข้าวเหนียวมะม่วงได้บ้าง แต่หากกินข้าวเหนียวมะม่วงมื้อเย็น พลังงานจากข้าวเหนียวมะม่วงที่ร่างกายได้รับเข้าไปอาจเผาผลาญและนำไปใช้ไม่หมด เกิดเป็นไขมันสะสมตามร่างกายได้นะคะ

มะม่วงสุกครึ่งผลขนาดกลาง ก็ให้พลังงานประมาณ 70 กิโลแคลอรีแล้ว ส่วนข้าวเหนียวมูนรสกลมกล่อมปริมาณ 1 ขีด ก็ให้พลังงานมากถึง 280 กิโลแคลอรี รวม ๆ แล้วเมนูข้าวเหนียวมะม่วง 1 จาน ให้พลังงานประมาณ 350 กิโลแคลอรี กินบ่อย ๆ หลาย ๆ มื้อต่อวันก็เพิ่มแคลอรีไปอีกหลายเท่าตัว อ้วนชัวร์ไม่ต้องสืบ

ดังนั้นควรกินข้าวเหนียมมะม่วงสัปดาห์ละไม่เกิน 3 ครั้ง เพราะข้าวเหนียวมะม่วงเป็นอาหารที่มีทั้งน้ำตาลและไขมันปริมาณที่ค่อนข้างสูง กินมากเกินพอดีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพได้หลายด้าน และสำหรับคนที่มีโรคประจำตัว ก็ควรลดปริมาณข้าวเหนียวลงให้เหลือสักครึ่งขีด และลดความถี่ลงเป็นกินข้าวเหนียวมะม่วงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็พอนะคะ

ต้องไม่ลืมว่าข้าวเหนียวมะม่วงให้พลังงานเทียบเท่ากับการกินอาหารมื้อหลัก 1 มื้อเลยทีเดียว (บะหมี่แห้ง 1 ชาม หรือพิซซ่า 1 ชิ้น) เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานที่กินเข้าไปด้วย คราวนี้มาดูกันบ้างค่ะว่า ข้าวเหนียวมะม่วง 1 จาน ต้องเผาผลาญด้วยวิธีไหน

ตัวอย่างการออกกำลังกายที่จะเผาผลาญพลังงานที่ได้จากการกินข้าวเหนียวมะม่วง 1 จาน

  1. วิ่ง 45 นาที
  2. ว่ายน้ำ 32 นาที
  3. ปั่นจักรยาน 60 นาที
  4. เดิน 100 นาที

ข้าวเหนียวดำเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้ากว่าข้าวเหนียวข้าวที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว หรือถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็ควรเลือกกินข้าวเหนียวที่มูนด้วยน้ำกะทิที่ผสมสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ดอกอัญชัน แครอท ขมิ้น และใบเตย เพราะจะได้รับสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเข้าไปด้วย

เพื่อให้ได้รสชาติดีและสารอาหารจากมะม่วงครบถ้วน ควรซื้อมะม่วงที่แก่จัด และควรปล่อยให้สุกตามธรรมชาติ เนื่องจากมะม่วงที่บ่มแก๊สจะให้กลิ่นและรสที่ไม่ดีเท่ากับมะม่วงสุกตามธรรมชาติ วิธีการสังเกตคือ มะม่วงที่แก่จัดนั้นผลจะอวบ ด้านล่างของมะม่วงจะไม่แหลม ส่วนมะม่วงที่เก็บมาตอนไม่แก่จัดแล้วนำมาบ่มแก๊สผิวจะเหี่ยว

กะทิธัญพืชจะมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่ากะทิจากมะพร้าว ที่สำคัญกะทิธัญพืชยังให้พลังงานน้อยกว่ากะทิมะพร้าวอีกด้วยนะคะ ดังนั้นหากเลือกได้ หรือมีโอกาสเข้าครัวมูนข้าวเหนียวกินกับมะม่วงสุกเอง ลองเลือกใช้กะทิธัญพืชมาราดแทนกะทิมะพร้าว แล้วอย่าลืมลดหวาน ลดเค็ม เพื่อเซฟสุขภาพด้วยล่ะ

ข้าวเหนียวมะม่วง ประโยชน์ก็ไม่น้อย

ข้าวเหนียวมะม่วง

หลายคนอาจมองว่าข้าวเหนียวมะม่วงมีทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน คอเลสเตอรอล ซึ่งห่างไกลจากคำว่าอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง แต่ที่จริงแล้วประโยชน์ของข้าวเหนียวมะม่วงก็มีนะคะ โดยกะทิ จัดเป็นแหล่งของพลังงานที่ดี อีกทั้งในกะทิยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและมีกรดอะมิโนจำเป็นอีกหลายชนิด โดยเฉพาะถ้าเลือกใช้กะทิธัญพืช เราจะได้ประโยชน์จากธัญพืชเหล่านั้นเพิ่มเติมดังที่กล่าวไปข้างต้น
ที่สำคัญกะทิยังเป็นตัวช่วยให้ร่างกายสามารถนำวิตามินเอที่มีอยู่ในเนื้อมะม่วงไปใช้ได้ เพราะวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ต้องอาศัยไขมันเป็นตัวช่วยพาเข้าร่างกาย จึงนับเป็นความฉลาดของคนไทยสมัยก่อนที่จับคู่ข้าวเหนียวมูนด้วยกะทิคู่กับมะม่วง และในส่วนของมะม่วงนั้น ประโยชน์และสรรพคุณก็ไม่ธรรมดา โดยประโยชน์ของมะม่วง ก็ตามนี้เลย

ข้าวเหนียวมะม่วง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคใดบ้าง

ข้าวเหนียวมะม่วง

ข้าวเหนียวมะม่วงเป็นอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และให้พลังงานค่อนข้างสูง ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคอ้วน ควรระมัดระวังในการกินข้าวเหนียวมะม่วงด้วย โดยควรกินข้าวเหนียวมะม่วงไม่เกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และหากอยากกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ควรลดปริมาณข้าวเหนียวลงครึ่งขีดด้วย

ทั้งนี้ก็ควรกินมะม่วงสุกแต่น้อย โดยจำกัดการกินมะม่วงสุกครั้งละไม่เกิน 1 ผขนาดกลาง และในหนึ่งสัปดาห์ไม่ควรกินมะม่วงสุกเกิน 2 ครั้ง ส่วนผู้ป่วยโรคไตควรงดกินมะม่วงสุกทุกกรณี เพราะในมะม่วงสุกมีปริมาณโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจส่งผลให้อาการโรคไตกำเริบได้

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุก็ควรกินข้าวเหนียวมะม่วงในปริมาณพอเหมาะ สัปดาห์ละไม่เกิน 2 ครั้งด้วยนะคะ เพราะข้าวเหนียวจัดเป็นอาหารย่อยยาก อีกทั้งผู้สูงวัยมีระบบเผาผลาญพลังงานที่ไม่ดีเท่าวัยหนุ่ม-สาว ฉะนั้นบริโภคข้าวเหนียวมะม่วงแต่น้อย เน้นกินผัก-ผลไม้ อาหารประเภทต้ม นึ่ง อบ ให้มาก จะช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *