
แก้ท้องผูก ธาตุหนัก ขับถ่ายไม่ค่อยออก ยิ่งปล่อยไปนานยิ่งมีอาการมากขึ้น ในบางรายที่อาการหนักมากๆ อาการท้องผูกนั้น นอกจากจะสร้างความทรมานให้กับเราได้แล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ด้วย ทั้งการมีกลิ่นปาก กลิ่นตัว ผิวพรรณหมองคล้ำ รวมไปถึงความเสี่ยงในการเกิดโดรคมะเร็งลำไส้ ที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายโดยตรง
การเลือกกินอาหารที่มีไฟเบอร์ หรืออาหารที่มีเส้นใยสูงนั้นช่วยให้ การขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติได้ ซึ่งอาหารที่มีไฟเบอร์นั้นมักอยู่ในผักและผลไม้ แต่ถึงแม้ในผักและผลไม้จะมีไฟเบอร์อยู่ แต่ละชนิดก็มีไม่เท่ากัน วันนี้เราจะพาไปดูว่าผักชนิดไหนที่มีไฟเบอร์เยอะ และสามารถจะช่วย แก้ท้องผูก
จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเผชิญหน้ากับอาการท้องผูก เรื่องนี้ไม่ยาก ลองสังเกตดูตามนี้
- ปวดท้องถ่าย แต่เวลาถ่ายกลับต้องใช้แรงมากในการเบ่งถ่าย
- อุจจาระที่ออกมามีลักษณะแห้ง ก้อนแข็ง
- แม้จะถ่ายออกไปแล้วยังรู้สึกว่ายังอยากถ่ายท้องอีก
- รู้สึกแน่นๆ ท้องเหมือนว่ามีอะไรมาจุกหรืออุดกั้นบริเวณลำไส้หรือไส้ตรง
- รู้สึกท้องอืด เบื่ออาหาร เซื่องซึม เฉื่อยชา
ตำลึง

ไม่ได้มีประโยชน์แค่มีวิตามินเอ ที่ช่วยเรื่องสุขภาพตา แต่ในตำลึง 100 กรัม มีใยอาหารอยู่ถึง 2.08 กรัม จึงช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ทำให้ขับถ่ายได้ง่าย แถมยังทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น
ผักกาดขาว

แม้จะดูว่ามีส่วนที่เป็นสีเขียวน้อยซะเหลือเกิน แต่นั่นไม่เกี่ยวกับการมีกากใยสูงหรือน้อย เพราะ ผักกาดขาวมีไฟเบอร์สูงมาก นอกจากจะทำให้อิ่มนานอยู่ท้อง และแคลอรี่ต่ำ ในผักกาดยังมีน้ำเป็นส่วนประกอบ จึงไปกระตุ้นการขับถ่าย ฉะนั้นเรื่องท้องผูกจึงหายห่วงได้เลย
กระเจี๊ยบเขียว

เคยได้ยินไหมว่า ผักที่มีเมือกเป็นส่วนประกอบ จะมีส่วนช่วยในเรื่องขับถ่าย ซึ่งในหนึ่งผักมีเมือกที่ประโยชน์มากมายคือกระเจี๊ยบเขียว โดยในปริมาณ 100 กรัม มีเส้นใยอยู่ถึง 3.2 กรัม และเมือกที่ว่าเป็นเสมือนยาระบาย ที่ทำให้ถ่ายคล่องขึ้นเยอะ
ผักบุ้ง

ความดีงามของผักบุ้ง ที่นอกเหนือไปจากการบำรุงสายตา คือการระบาย เพราะไฟเบอร์ในผักบุ้งทำหน้าที่ ทำความสะอาดสิ่งตกค้างในลำไส้ จึงช่วยขับสารพิษในร่างกายออกไปได้โดยไม่รู้ตัว ทั้งยังกระตุ้นการขับถ่าย และช่วยให้ถ่ายคล่องขึ้นมาก
ชะอม

หลายคนบอกว่ากว่า จะได้กินชะอมแต่ละทีแสนยากเย็น เพราะต้องเด็ดใบจากก้านที่มีหนามแหลม แต่ถ้าดึงเสร็จนำมาทำอาหารกินเมื่อไหร่ บอกเลยว่า คุ้มค่า! เพราะชะอมถึงเป็นผักชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อ ในคุณสมบัติของการขับถ่าย เพราะมีเส้นใยอาหารที่ช่วยเรื่องสุขภาพลำไส้ ทั้งเส้นใยชนิดละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำ จึงช่วยทำความสะอาดลำไส้ เมื่อไหร่ที่รู้สึกการขับถ่ายสะดุด จัดเมนูชะอมมากินได้เลย ทั้งชะอมทอดไข่ หรือชะอมผัดวุ้นเส้น รับรองว่านอกจากอร่อย ยังดีต้องลำไส้แน่นอน
บวบ

รูปร่างหน้าตาอาจดูไม่น่ากินเท่าไหร่ แต่บวบจัดเป็นยาระบายตามธรรมชาติ เพราะมีปริมาณเส้นใยที่สูง จึงช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการขับถ่าย ได้อย่างเป็นปกติ แถมยังช่วยขับปัสสาวะ ขับน้ำนมอีกด้วย
กุยช่าย

ถือว่าเป็นผักอีกหนึ่งชนิดที่มีกากใยสูง จึงนิยมนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารหลัก และอาหารว่าง แต่ถ้าลองสังเกตให้ดีๆ ในกุยช่ายมีเมือกด้วยนะ ซึ่งเมือกที่ว่านี้เป็นตัวแปรอีกหนึ่งอย่างที่ช่วยเสริมให้ระบบขับถ่ายดี จึงช่วยลดปริมาณของเสียที่สะสมในลำไส้ ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะลำไส้อักเสบ และมะเร็งลำไส้ได้
สิ่งบั่นทอนสุขภาพระบบลำไส้ ทำท้องผูกขับถ่ายยาก
เพราะสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เราเข้าใกล้อาการท้องผูก ขับถ่ายยากได้ง่ายที่สุด มักมาจากพฤติกรรมใกล้ตัวที่เราชอบคิดว่า “ทนไหว” แต่อาจกำลังเป็นการสร้างนิสัยใหม่ๆ ที่ไม่ดีให้ระบบลำไส้ได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 5 สิ่งต่อไปนี้ที่มีผลต่อสุขภาพลำไส้ พร้อมทำให้ท้องผูกและนำไปสู่ การขับถ่าย ยากในที่สุด
- การอั้นอุจจาระ
- รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
- ดื่มน้ำเปล่าน้อย ดื่มชา กาแฟเยอะ
- เคลื่อนไหวร่างกายน้อย (นั่งนาน)
- ความเครียดสะสม
โดยเฉพาะการอั้นอุจจาระ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นด้วยเหตุสุดวิสัย เช่น การติดพันกิจกรรมบางอย่าง หรือการอดทนอดกลั้นแบบเกินพอดี รู้ตัวอีกทีก็หายปวดหนักไปแล้ว ซึ่งการทำพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำเดิมไปเรื่อยๆ ยิ่งทำให้ขยับเข้าใกล้วงจรขับถ่ายยากได้ง่ายขึ้น รวมถึงการเบ่งอุจจาระบ่อยๆ ยังเป็นการทำให้ความดันในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งค่อนข้างมีผลในคนที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อปัญหาขับถ่ายยากเกิดได้ง่ายเพราะไลฟ์สไตล์เป็นเหตุ วิธีแก้ท้องผูก ถ่ายยาก จึงต้องย้อนกลับไปที่การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์
3 Responses