มะเร็งปอด

มะเร็งปอด หนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดจะไม่ค่อยมีอาการแสดงในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

โรคมะเร็ง เป็นภัยร้ายสุขภาพ และยังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย โรคมะเร็ง จัดเป็นสาเหตุหลักของการเสียเชียชีวิตมาเป็นอันดับ 1 ของคนไทยมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี  “มะเร็งปอด” ซึ่งถือเป็นภัยร้ายซ่อนเงียบที่อยู่ใกล้ตัว และยังถูกจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

นายแพทย์ผดุงเกียรติ ตั้งพิรุฬห์ธรรม ศัลแพทย์ทรวงอกด้านผ่าตัดส่องกล้องปอด โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ระบุว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าความเสี่ยงหลักๆ ของมะเร็งปอด คือ บุหรี่ ยิ่งเราสูบบุหรี่มากขึ้น โอกาสที่จะเป็นมะเร็งปอด ร่วมกับอย่างอื่นด้วย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง ก็จะเป็นได้มากขึ้น แต่หลังๆ เราก็จะเจอว่า คนที่ไม่ได้สูบบุหรี่เลย ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้เหมือนกัน

มะเร็งจะแบ่งเป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ ระยะ 1-2 ก้อนมะเร็งจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก อาจจะมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองขั้วปอดบ้าง โอกาสที่คนไข้จะมีอาการจากก้อนมะเร็งนี้ยังมีน้อย

ถ้าเราสามารถเจอคนไข้ในระยะที่ 1 โอกาสหายขาดสูงมากถึง 80% ขึ้นไป ถ้าเจอในระยะที่ 2 ก็จะค่อยๆ ลดลงมา 60% ระยะที่ 3 เหลือ 30% แต่ถ้าเจอในระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะอันตรายของมะเร็งปอดแล้ว เนื่องจากระยะแรกๆ จะไม่ค่อยมีอาการบ่งบอก หลานคนก็เลยไม่ค่อยได้สังเกตุ ส่วนใหญคนไข้เกือบครึ่ง จะเจอในระยะที่ 4 แล้ว ทำให้โอกาสหายขาดน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย

ดังนั้นการตรวจคัดกรองสุขภาพมีความสำคัญมาก ซึ่งปัจจุบัน การคัดกรองมะเร็งปอด เราแนะนำด้วยการทำ Low-dose CT (Low-dose Computed Tomography) คือ การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดแบบรังสีต่ำ การทำ Low-dose CT หนึ่งครั้ง เทียบได้กับการเอกซเรย์ปอดประมาณสัก 10-20 ครั้ง แล้วแต่การเซ็ทของแต่ละโรงพยาบาลว่าเป็นอย่าไร ซึ่งการทำ Low-dose CT จะสร้างภาพสามมิติ ทำให้เราสามารถเห็นจุดในปอดได้เล็กมาก เล็กขนาดประมาณ 1 – 3 มิลลิเมตร ก็เริ่มเห็นได้แล้ว แต่ถ้าเทียบกับเอกซเรย์ปอดที่ทำๆ กันิยู่นั้น จะเป็นการคัดกรองแบบหยาบๆ ก็จะเห็นก้อนได้อย่างเล็กที่สุด ประมาณสัก  1-2 เซนติเมตรขึ้นไป เพราะฉะนั้นมันก็ไม่ใช่การคัดกรองที่ดีที่สุด เพราะว่าระยะที่ดีที่สุดคือ เจอระยะแรกๆ คือเจอตอนก้อนมะเร็งต่ำกว่า 1 เซนติเมตร และไม่มีการลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรือส่วนอื่นๆ จะมีโอกาสหายได้มากถึง 92% ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงสำคัญมากๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง

ส่วนโอกาสหายจากมะเร็ง หลัก ๆ ขึ้นอยู่กับว่า เราเจอมะเร็งในระยะที่เท่าไหร่ ถ้าเราเจอได้รวดเร็วมากขึ้น เราก็จะสามารถรักษาได้เร็วขึ้น ถ้าเราเจอคนไข้ในระยะที่ 1 ช่วงนี้ก็ดีที่สุด การรักษาก็จะง่าย ผ่าตัดอย่างเดียวก็เพียงพอ  แต่ถ้าเกิดว่าไปเจอในระยะที่ 2-3 ก็อาจจะต้องเพิ่มรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือฉายแสง

โดยปัจจุบัน ถ้าเราคัดกรองเจอในขณะที่ก้อนมะเร็งยังเล็ก อยู่ในระยะที่ 1 หรือ 2 เราจะรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องมะเร็งปอด แต่ในบางกรณีที่เจอจุดเล็กมาก เช่นถ้าเราเจอจุดขนาดประมาณ 7 มิล การที่จะทำการวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นนั้นค่อนข้างยาก ทางเราก็จะมีเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เราใช้ ระบบนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า Electromagnetic navigation bronchoscopy เป็นตัวนำทาง ลักษณะจะคล้ายๆ กับ Google Map ที่เราใช้ในโทรศัพท์เรา เป็นตัวไกด์ว่า จุดตรงนี้อยู่ตรงไหน พอเรามาร์คตำแหน่งได้ เราก็จะสามารถทำการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเดียว เข้าไปผ่าตัดตรงบริเวณตรงนั้นออกมา แล้วก็ส่งไปตรวจวินิจฉัย ถ้าเกิดว่ายืนยันว่ามนเป็นมะเร็งปอด เราก็จะสามารถผ่าตัดรักษาทั้งกลีบออกต่อไปได้เลย

การคัดกรองมะเร็งเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะ รู้เร็วรักษาเร็ว ช่วยยับยั้งก่อนลุกลาม

มะเร็งปอด เกิดจากอะไร

มะเร็งปอด

มะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมากและแพร่กระจายไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย โดยมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

ค้นหาระยะของมะเร็งปอด

ระยะของมะเร็งปอดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง โดยกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง เซลล์และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย ซึ่งระยะของมะเร็งนั้นมีความสำคัญต่อการรักษา เพราะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษา และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม

ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ

ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด

  1. การสูบบุหรี่ – ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากถึง 10 เท่า ของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  2. ควันบุหรี่มือสอง – แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่มือสอง มือสาม จากกาสูดหายใจเข้าไปจะทำให้มีสารพิษตกค้างซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง
  3. การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง – การสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น โครเมียม ไรแย่หิน แร่เรดอน นิกเกิล เป็นต้น
  4. สภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ – จากการศึกษาพบว่า ฝุ่น PM2.5 ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1 – 1.4 เท่า ซึ่งถือว่ามีความร้อยแรงเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่
  5. พันธุกรรม – แม้โรคมะเร็งปอดจะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง แต่พบว่า หากมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อยๆ สมาชิกในครอบครัวก็มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้วมักมีอาการแสดง ที่สามารถสังเกตได้ดังนี้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *