หลายๆท่านรู้หรือไม่ว่า ภาวะเงินฝืด คืออะไร มีหลักการคิดอย่างไร มันสามารถทำให้สินค้าต่างๆและบริการลดต่ำลงเรื่อยๆได้จริงหรือ แล้วหากเกิดภาวะเงินฝืดนี้ในประเทศไทย จะทำให้การจ้างงานลดต่ำลงจริงหรือ…? เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย
ภาวะเงินฝืด คืออะไร มีหลักการคิดอย่างไร
เงินฝืด (Deflation) ภาวะเงินฝืด หมายถึงภาวะที่ราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผลิตออกมามีมากกว่าความต้องการซื้อสินค้าของคนในประเทศ
โดยสาเหตุของเงินฝืด เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้ซื้อลดลง ไม่กล้าใช้จ่ายเงิน เนื่องจากปัจจัยที่เข้ามากระทบ เช่น ภัยธรรมชาติ หรือเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง รวมไปถึงปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอ เช่น เงินตราไหลออกนอกประเทศมากเกินไป เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ธปท. ได้ยืนยันว่าสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น ณ เวลานี้ ยังไม่เข้าข่าย “เงินฝืด” ตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจากนิยามภาวะเงินฝืดของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อดังนี้
1. อัตราเงินเฟ้อ ติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period)
2. อัตราเงินเฟ้อ ติดลบกระจายในหลายๆ หมวดสินค้าและบริการ
3. การคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อ ในระยะยาว (ปกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัยสำคัญ
4. อัตราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจติดลบ และอัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากภาวะเงินฝืด เกิดขึ้นจริง ย่อมมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน และระบบเศรษฐกิจของประเทศในมิติต่างๆ ดังต่อไปนี้
สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินฝืด
สาเหตุใหม่ๆ คือ ความต้องการซื้อสินค้า และบริการมีน้อยกว่าปริมาณสินค้า และบริการที่ผลิตได้ หรืออุปสงค์มวลรวมน้อยกว่า อุปทานมวลลรวม (AD<AS) ซึ่งทำให้เกิด อุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) หรือสินค้าขายไม่ออก ส่งผลให้โรงงาน หรือธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องลดปริมาณการผลิต ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานตามมาด้วย จนสุดท้ายทำให้รายได้ประชาชาติลดลงในที่สุด
ผลกระทบของภาวะเงินฝืดในมิติต่างๆ
หากเกิดภาวะ เงินฝืด จะทำให้ประชาชนมีความสามารถที่จะใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการได้ลดลงจนรวมไปถึงหยุดซื้อ จนทำให้ปริมาณสินค้าและบริการที่มีอยู่เมื่อสินค้าที่ผลิตได้ขายไม่ออก เหล่าโรงงานและเหล่าผู้ผลิตจะต้องลดราคาสินค้าและบริการจนขาดทุนหรือได้รับกำไรน้อยลงทุนแล้วไม่คุ้ม จนทำให้ผู้ผลิตบางส่วนอาจเลิกการผลิตหรือลดปริมาณการผลิตลง จคนตกงานเป็นจำนวนมาก รวมเกิดเป็นปัญหาลูกโซ่เพราะกลุ่มคนที่ว่างงานเหล่านี้จะไม่มีรายได้พอที่จะจับจ่ายใช้สอยตามปกติ ทำให้สินค้าและบริการที่ผลิตได้ก็ขายไม่ออก นอกจากการจ้างงานจะลดต่ำลงลง รายได้ของคนส่วนรวมจะลดต่ำลงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ในแผนพัฒนาประเทศภาวะเงินฝืดจึงมีผลกระทบต่อประชาชนแต่ละอาชีพ ดังนี้
ลูกจ้าง,พนักงานบริษัท
พ่อค้าและนักธุรกิจ
เกษตรกร
ผู้มีรายได้ประจำ
ลูกหนี้และเจ้าหนี้
รัฐบาล
- ผลต่อผู้ประกอบการ / ผู้ผลิต
ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลง เพราะหากผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้ไม่หมด ผลที่ตามมาคือ การจ้างงานและการซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตก็จะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว
- ผลต่อประชาชน
อัตราการว่างงานสูงขึ้น เนื่องจากภาคเอกชนขายสินค้าและบริการได้น้อย จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตทำให้ไม่เกิดการจ้างงานเพิ่ม แต่บางกิจการอาจมีผลกระทบมากจนต้องลดกำลังการผลิตเพื่อรักษากิจการให้สามารถอยู่รอดได้ในภาวะเงินฝืด จึงจะต้องลดพนักงานทำให้ประชาชนตกงานเพิ่มขึ้น
- ผลต่อระบบเศรษฐกิจ
หากราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากความต้องการสินค้าและบริการของประชาชนลดลง คนก็จะลดการจับจ่ายใช้สอย เมื่อคนไม่ซื้อสินค้ากันมากๆ ผู้ผลิตก็ขายสินค้าไม่ได้ เป็นวงจรวนไปไม่รู้จบ ท้ายที่สุดก็จะกระทบกับภาคการผลิตและการจ้างงาน ทําให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในที่สุด ดังนั้น ภาวะเงินฝืดจึงเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สําหรับระบบเศรษฐกิจ
แก้ไขภาวะเงินฝืดได้อย่างไร
เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดสามารถแก้ไขได้ โดย รัฐบาลจะต้องออกมาตรการหรือนโยบายการเงินการคลังต่าง เพราะนโยบายทั้งสองนี้ นอกจากจะมีมาตรการในการลดการใช้จ่ายมวลรวมแล้ว (ในกรณีแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ) ก็ยังมีมาตรการในการช่วยให้การใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถจัดอุปทานส่วนเกินให้หมดไปได้ภาวะเงินฝืดก็จะสินสุดลง มาตรการที่แก้ไขภาวะเงินฝืด