ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า

ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า กับตัวย่อที่ใช้เรียกรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ทั้ง HEV, PHEV, BEV และ FCEV ย่อมาจากอะไร และแต่ละประเภทมีระบบการทำงานอย่างไรบ้าง เรามาทำความรู้จักและความหมายของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภทกัน

เชื่อว่าอีกไปถึง 10 ปี รถยนต์ไฟฟ้าจะกลายมาเป็นยานพาหนะหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มิได้เกิดขึ้นเพียงแค่กับธุรกิจยานยนต์เท่านั้น แต่ในหลายประเทศในแถบยุโรปเริ่มมีการเข้มงวดและจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ ประเทศนอร์เวย์ ที่มียอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุดในยุโรป และทางรัฐบาลนอร์เวย์ยังตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี พ.ศ. 2568 รถยนต์ทุกคันที่ใช้ในประเทศจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

หรือแม้แต่ในประเทศอังกฤษเอง ที่ให้ประชาชนสามารถชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าได้จากเสาไฟฟ้าตามท้องถนนที่มีการจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน และเป็นการกระตุ้นให้พลเมืองของเค้าหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้นเรื่อย ๆ 

ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า บนโลกใบนี้

1. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle, HEV) 
2. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle, PHEV)
3. รถยนต์ไฟฟ้าเซลเชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV)
4. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV)

1. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle, HEV)

รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ กับ มอเตอร์ไฟฟ้า ทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนรถยนต์ มีการเปลี่ยนพลังงานจากเบรกมาเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บมาไว้ในแบตเตอรี่และสามารถนำพลังงานไฟฟ้าออกมาใช้ได้ ทำให้ประหยัดน้ำมัน ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมีการทำงานที่แตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 3 โหมด ได้แก่

นบ้านเรามีรถยนต์ไฮบริดหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งคนจะคุ้นตากันมากคือ Toyota เช่น PRIUS, Corolla ALTIS Hybrid, C-HR Hybrid, Corolla CROSS Hybrid, CAMRY Hybrid, ALPHARD Hybrid

ส่วนฝั่ง Honda ก็มี เช่น Jazz Hybrid, Civic Hybrid, City Hybrid e:HEV ขณะที่ทาง Nissan เคยมี X-Trail Hybrid แต่ปัจจุบันไม่ได้จำหน่ายแล้ว

2. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle, PHEV)

รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่สามารถเสียบปลั๊กชาร์จแบตได้โดยตรง และเพิ่มขนาดของแบตเตอรี่ ทำให้ขับเคลื่นด้วยโหมด EV ได้ไกลขึ้น ทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้นนั้นเอง

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV ในประเทศไทยก็มีหลายยี่ห้อเช่นเดียวกัน ได้แก่ MG HS Plug in Hybrid, Mitsubishi Outlander PHEV, BMW : X5 xDrive45e M Sport, Mercedes-Benz : GLC 300 e 4MATIC AMG Dynamic, GLE 350 de 4MATIC Exclusive, Volvo XC40 Recharge T5

ทั้งนี้ รถปลั๊กอินไฮบริด เหมาะสำหรับคนที่อาจจะยังไม่สะดวกในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ มีข้อดีคือ ไม่จำเป็นต้องชาร์จไฟเป็นประจำ เนื่องจากเครื่องยนต์ยังคงเป็นกำลังหลัก และไม่ต้องหาที่แวะชาร์จในเวลาขับ ไปได้ทุกที่ ไม่ต้องกังวล

3.รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV)

ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ประเภทเซลล์เชื้อเพลิง รถยนต์จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100% โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Fuel Cell Stack และแบตเตอรี่ ซึ่ง Fuel Cell Stack จะผลิตไฟฟ้าโดยปล่อยก๊าซไฮโดรเจนจากในถังเก็บและออกซิเจนในอากาศเข้าไปใน Fuel Cell เกิดปฏิกิริยาในทางเคมี จะได้พลังงานไฟฟ้าและไอน้ำ โดยไฟฟ้าที่ได้จะถูกส่งไปที่มอเตอร์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งแบตเตอรี่จะปล่อยพลังงานไฟฟ้าออกมาในช่วงที่ต้องการอัตราเร่งอย่างเฉียบพลัน โดยแบตเตอรี่จะรับพลังงานจากไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตจาก Fuel Cell Stack และ Regenerative Braking System

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า FCEV ได้แก่ Toyota Mirai, Honda Clarity Fuel Cell, Hyundai Nexo ซึ่งยังไม่มีการนำเข้ามาในประเทศไทย

4. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV)

ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแค่มอเตอร์ไฟฟ้า ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน 100% โดยตัวแบตเตอรี่จะได้รับพลังงานจากการเสียบชาร์ตโดยตรง และจาก Regenerative Braking System (ผ่อนคันเร่งหรือเหยียบเบรก) เท่านั้น ทำให้แบตเตอรี่ของรถยนต์ BEV มีขนาดค่อนข้างใหญ่เพื่อเก็บหลังงานในการขับเคลื่อน นิยมวางแบตเตอรี่ในตำแหน่งพื้นใต้ห้องโดยสาร เนื่องจากมีพื้นที่ค่อนข้างมาก และมีข้อดีคือจะทำให้จุดศูนย์ถ่วงของรถต่ำลง ทำให้รถทรงตัวดีขึ้น

สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบที่หลายคนรู้จักดีก็คือ Tesla จากทางฝั่งอเมริกา นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหลายยี่ห้อ เช่น MG รุ่น ZS EV, Nissan Leaf, Lexus UX300e, Honda e

ส่วนทางฝั่งยุโรปจะมี Porsche Taycan, Audi e-tron, BMW i3 / i4 / ix3/ ix, Mini Cooper SE เป็นต้น

ตัวอย่าง ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า ที่มีการวางจำหน่ายในไทย

1. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle, HEV)

ตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Hybrid ที่มีการวางจำหน่ายในไทย
▪️ Toyota Camry Hybrid, Toyota C-HR Hybrid, Toyota Alphard Hybrid, Toyota CHR Hybrid Toyota Prius, Toyota Altis Hybrid
▪️ Honda Accord Hybrid
▪️ Nissan X-Trail Hybrid

เป็นรถยนต์ที่มีการใช้เครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนทำงานร่วมกัน โดยในขณะที่รถยนต์ประเภทนี้มีการเบรค มอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่เป็น Generator และเปลี่ยนพลังงานจลน์กลับคืนเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้อีกด้วย เราเรียกกระบวนการนี้ว่า Regenerative braking จากกระบวนการออกแบบและการทำงานของรถยนต์ Hybrid ทำให้รถประเภทนี้มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียวค่อนข้างมาก

2. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle, PHEV)

ตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Plug-in Hybrid ที่มีการวางจำหน่ายในไทย
▪️ กลุ่ม Mercedes plug-in hybrid
▪️ BMW plug-in hybrid
▪️ Audi plug-in hybrid เป็นต้น 

รถยนต์ประเภทปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV นั้นมีความคล้ายคลึงกับรถยนต์ไฮบริด (Hybrid, HEV) แต่จะแตกต่างกันตรงที่รถยนต์ประเภทนี้ สามารถที่จะชาร์จไฟฟ้าจากภายนอกได้ ซึ่งก็อาจจะใช้เป็น EV Charger หรือ สายชาร์จที่แถมมากับตัวรถก็ได้ ในการใช้งาน จึงทำให้รถยนต์ประเภทนี้สามารถที่จะขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวได้โดยไม่ต้องใช้น้ำมันแต่จะสามารถใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวได้ในระยะทางสั้นๆเท่านั้น ในด้านสมรรถนะในการขับขี่ มอเตอร์ไฟฟ้านั้นช่วยทำให้รถประเภทนี้นั้นออกตัวได้เร็วกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน

3. รถยนต์ไฟฟ้าเซลเชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV)

ตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Fuel Cell Electric Vehicle ที่มีการวางจำหน่ายในไทย
▪️ Toyota Mirai
▪️ Hyundai Nexo
▪️ Honda Clarity Fuel Cell

รถยนต์ประเภทเซลเชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV) มีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อน เพียงแต่แหล่งพลังงานนั้นมาจากพลังงานของก๊าซไฮโดรเจน โดยก๊าซไฮโดรเจนจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศที่เซลเชื้อเพลิงทำให้ได้พลังงานส่งกำลังให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าใช้ในการขับเคลื่อน โดยรถประเภทนี้จะต้องมีการเติมพลังงานไฮโดรเจน ที่สถานีให้บริการ

4. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV)

ตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Battery Electric Vehicle ที่มีการวางจำหน่ายในไทย
▪️ Tesla 
▪️ Nissan Leaf, MG ZS EV
▪️ Hyundai IONIQ EV, 
▪️ BMW i3, Kia Soul EV, BYD E6, Audi e-tron  เป็นต้น 


รถยนต์ประเภทไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV) นั้นใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว จึงส่งผลให้รถประเภทนี้จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่มากกว่ารถประเภทอื่นๆที่กล่าวมาผู้ใช้งานรถประเภทนี้สามารถชาร์จไฟฟ้าด้วย EV Charger

1. ที่ติดตั้งตามบ้านพักอาศัย
2. ชาร์จโดย EV Station ที่เป็นแบบ Quick Charge กรณีที่เดินทางไกล 

รถประเภทนี้จะมีอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นศูนย์ หรือพูดได้ว่าไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศเลยก็ว่าได้ 

รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ก็ยังถือได้ว่าช่วยลดอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ดีกว่ารถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงแน่นอน ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาในการผลิตกระแสไฟฟ้าของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *