อาการหาว

หาวนอน หลายคนอาจเคยสังเกตพบว่า เวลาที่เราอ้าปากหาวนั้นไม่ได้รู้สึกง่วงนอนไปเสียทุกครั้ง สาเหตุที่ทำให้หาวอาจมาจากปัจจัยทางกายภาพอื่น ๆ รวมทั้งอาการ “หาวตามกัน” เมื่อเห็นคนหรือแม้กระทั่งสัตว์ต่าง ๆ อ้าปากหาวก่อน โดยเป็นพฤติกรรมอัตโนมัติที่ส่งต่อกันได้เหมือนกับโรคติดต่อไม่มีผิด

ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบชัดว่า สาเหตุของอาการหาวตามกันคืออะไรกันแน่ แต่ล่าสุดดร. แอนดรูว์ แกลลัป นักชีววิทยาวิวัฒนาการจากสถาบันโพลีเทคนิคของมหาวิทยาลัย State University of New York (SUNY) ได้สำรวจวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอดีตจำนวนมาก ก่อนจะเสนอถึงความเป็นไปได้ว่า อาการหาวตามกันที่พบในคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังเกือบทุกชนิด อาจเป็นผลมาจากวิวัฒนาการของสัตว์สังคมก็เป็นได้

ผลการศึกษาของดร. แกลลัป ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Animal Behavior ระบุว่า แม้เดิมทีนักวิทยาศาสตร์จะมองการหาวเป็นพฤติกรรมทางกายภาพส่วนบุคคล ซึ่งกล้ามเนื้อรอบขากรรไกรและกะบังลมจะเกร็งตัวโดยอัตโนมัติ เพื่อให้สูดหายใจลึกรับออกซิเจนเข้าไปเพิ่มส่วนที่ขาดแคลนในร่างกาย แต่งานวิจัยใหม่ ๆ กลับชี้ว่า การหาวคือความพยายามปรับสมดุลอุณหภูมิในระบบไหลเวียนโลหิต เพื่อทำให้สมองที่ร้อนและเฉื่อยชาเย็นตัวลงและกลับมาตื่นตัวมากขึ้น

เมื่อดร. แกลลัป นำงานวิจัยดังกล่าวมาอธิบายถึงสาเหตุของอาการหาวตามกัน โดยใช้มุมมองทางชีววิทยาวิวัฒนาการเข้าร่วมด้วย เขาพบว่าพฤติกรรมประหลาดที่เป็นไปโดยอัตโนมัตินี้ อาจเป็นวิธีที่สัตว์สังคมซึ่งอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะใช้ปรับพฤติกรรมของสมาชิกให้สอดคล้องกัน โดยการหาวเมื่อเห็นผู้อื่นหาวจะกระตุ้นสมองให้ตื่นตัว สามารถช่วยกันเฝ้าระวังภัยที่อาจมาถึงในขณะที่ผู้อื่นรู้สึกง่วงหรือหลับอยู่

ดร. แกลลัปคาดว่า พฤติกรรมหาวตามกันนี้ได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ สมัยที่บรรพบุรุษร่วมของสัตว์มีกระดูกสันหลังยังคงมีชีวิตอยู่ และได้กลายมาเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์และสัตว์หลายชนิดในปัจจุบัน รวมทั้งหนู กระรอก ลิง ปลา หรือแม้แต่นกฟลามิงโกด้วย

เมื่อปีที่แล้วดร. แกลลัปได้ทำการทดลองเพื่อยืนยันแนวคิดดังกล่าว โดยให้อาสาสมัครดูคลิปวิดีโอของคนที่อ้าปากในแบบต่าง ๆ รวมทั้งคนที่อ้าปากหาว จากนั้นให้ดูภาพของสัตว์หลายชนิด ซึ่งมีทั้งภาพงูที่ดูเป็นอันตรายและภาพของกบที่ดูไม่เป็นอันตรายปะปนอยู่

ผลปรากฏว่าอาสาสมัครที่ได้เห็นวิดีโอคนอ้าปากหาวและหาวตาม สามารถค้นหาภาพงูที่ดูเป็นอันตรายพบได้อย่างรวดเร็ว โดยความสามารถในการระวังภัยของพวกเขาดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับตอนที่ไม่ได้ดูวิดีโอคนอ้าปากหาวมาก่อน แต่สิ่งนี้ไม่มีผลต่อการมองเห็นรูปกบที่ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด

แต่การหาวบ่อย ไม่ใช่แค่ง่วงนอน แต่อาจเป็นสัญญาณของโรคเหล่านี้

ใครที่มีอาการหาวบ่อยๆ หรือง่วงนอนตอนกลางวันเป็นประจำ จริงๆ แล้วอาจไม่ใช่แค่ง่วงนอน แต่แท้จริงแล้วคุณอาจจะกำลังเผชิญกับสาเหตุเหล่านี้อยู่ก็เป็นได้

การหาว ถือได้ว่าเป็นกลไกหนึ่งของร่างกาย ที่ต้องการจะรับเอาออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่กระแสเลือด พร้อมกันนั้นก็ช่วยขับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดออกไป ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย ซึ่งการหาวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อร่างกายเรามีออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากเกินไป จนก่อให้เกิดอาการง่วง เหงา หาวนอนขึ้นมาได้นั่นเอง

ส่วนการหาวบ่อย ก็คือ อาการหาวที่เกิดขึ้นบ่อยๆ มากกว่า 1 ครั้งต่อนาที และถึงแม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของการหาวอาจมาจากความง่วง หรือความอ่อนเพลีย แต่ในบางครั้งแล้วนั้นการหาวมากจนผิดปกติอาจเป็นผลมาจากสาเหตุเหล่านี้…

พฤติกรรมการนอนไม่เพียงพอทำให้ส่งผลทำให้เกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวันได้ ถึงจะดูเหมือนไม่ได้ร้ายแรงอะไร แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงยังก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายอย่างโรคอ้วน โรคหัวใจ หรือโรคซึมเศร้า ฯลฯ ทั้งนี้ให้ลองเช็คตัวเองดูหากเป็นเช่นนั้นควรปรับพฤติกรรมการนอนและจัดตารางการนอนใหม่ โดย 1 วันควรนอนให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงจะดีที่สุด

เป็นอาการที่ร่างกายรู้สึกอยากจะนอน แต่ไม่สามารถหลับได้ อาจจะใช้เวลานานกว่าปกติ หลับไปแล้วแต่ตื่นเร็ว หรือตื่นขึ้นมากลางดึก แล้วไม่สามารถนอนหลับต่อไปได้ ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เต็มที่ ดังนั้นควรเข้านอนให้เป็นเวลาเพื่อให้ร่างกายชิน และควรงดเครื่องดื่มที่มีสารออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง เช่น สารคาเฟอีนที่มีอยู่ในชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น แต่หากอยากดื่มควรเลือกดื่มก่อน 14.00 น. เพราะถ้าดื่มหลัง 14.00 น. อาจทำให้ร่างกายมีปัญหานอนไม่หลับได้

ภาวะอาการป่วยรุนแรงที่อาจทำให้เกิดอาการหาวบ่อย ๆ ได้แก่

วิธีแก้อาการหาวบ่อย

1.หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า

2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เพราะการรับประทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากจนเกินไป เป็นตัวการที่ทำให้ร่างกายง่วงซึมได้ เพราะตับอ่อนจะส่งอินซูลินออกมาเพื่อย่อยน้ำตาลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก่อให้เกิดอาการง่วงนอนตามมานั่นเอง

3.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและเป็นเวลา ให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

4.ดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ เพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย

5.หากใครเป็นมนุษย์ออฟฟิศอย่ามัวนั่งแต่หน้าคอมพิวเตอร์ ให้หาเวลาเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อผ่อนคลายบ้าง

6.งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มคาเฟอีน

อย่างไรก็ตามหากใครที่มีอาการหาวบ่อยๆ ก็อย่าเพิ่งกังวลใจไป ให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับพักผ่อนและสังเกตอาการต่างๆ ของตัวเองร่วมด้วย ซึ่งหากว่าลองทำแล้วแต่ยังพบว่ามีอาการหาวบ่อยเช่นเดิม ให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการดังกล่าวจะดีที่สุด หรือหากมีอาการหาวบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากโรคหรือภาวะเจ็บป่วยที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคลมชัก ตับวาย ฯลฯ ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้องและเร่งด่วน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *