มังกรโคโมโด

เทพนิยายของชนหลายชาติมักกล่าวถึงมังกรสำหรับคนเอเชีย มังกรเป็นสัตว์ไม่มีปีก และมีจิตใจดีงามนิทานพระอภัยมณีของสุนทรภู่มีม้ามังกร คนเกาหลีเชื่อว่าแม่น้ำทุกสายมีมังกรคุ้มครอง คนจีนเชื่อว่า เมื่อมังกรหายใจออกแรงๆ ฝนจะตก และเมื่อมังกรต่อสู้กัน มักจะเกิดพายุในทะเล มังกรจีนชอบอาศัยอยู่ในปราสาทมุกใต้ทะเล และกระดูกมังกรใช้รักษาโรคได้ สำหรับสีของมังกรจีนนั้นใช้บอกนิสัย เช่น สีดำแสดงความดุร้าย สีเหลืองแสดงการเป็นสัตว์นำโชค และสีฟ้าแสดงว่ามีความสำคัญ  ชาวตะวันตกก็มีมังกรเช่นกัน แต่เป็นสัตว์ร้ายที่มีปีก และสามารถพ่นไฟจากปากได้ เทพนิยายอังกฤษกล่าวถึงนักบุญ St. George ว่า ได้ฆ่ามังกรที่กำลังจะทำร้ายหญิงสาว เทพเจ้า Quetzalcoatl ของซนเผ่า Aztec ในทวีปอเมริกากลาง เป็นสัตว์ผสมระหว่างงูกับมังกร

มังกรที่โลกมีและนักชีววิทยารู้จักดีที่สุด

          ในความเป็นจริง มังกรที่โลกมีและนักชีววิทยารู้จักดีที่สุด คือ มังกรโคโมโด (Komodo) ที่มีมากบนเกาะ Komodoซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินโดนีเซียในเขต Timor ตะวันตก และอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะซวาโดยเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะ Lesser Sunda เกาะนี้มีพื้นที่ 340 ตารางกิโลเมตร เนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยมียอดเขาสูงสุดที่ 735 เมตร และพื้นที่เกาะถูกปกคลุมด้วยป่าปาล์ม ทะเลที่ล้อมรอบเกาะมีกระแสน้ำเชี่ยวไหลผ่าน สภาพแวดล้อมที่รุนแรงเช่นนี้ทำให้โลกไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเกาะ Komodo จนกระทั่งปีค.ศ. 1912 เมื่อนักดำน้ำหาไข่มุกชาวมาเลย์คนหนึ่งนำเรือไปจอดที่เกาะ และตั้งใจจะงมหาไข่มุกในหอยที่คิดว่ามีอย่างบริบูรณ์ แต่ทันทีที่เดินขึ้นฝั่งก็ได้เห็นมังกรหลายตัวเดินเพ่นพ่านไปมา ขนาดและรูปร่างที่ดุร้ายทำให้ต้องวิ่งกลับขึ้นเรือ และได้รายงานข่าวการเห็นสัตว์อสุรกายที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อนให้ P.A. Ouwens ซึ่งเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สัตว์แห่งเมือง Bogor บนเกาะซวารับทราบ

          Ouwens ได้รับฟังเรื่องสัตว์ประหลาดมาหลายครั้งคราวนี้เขาตัดสินใจส่งเจ้าหน้าที่ไปดู และถ้าเป็นไปได้ก็ให้เก็บซากสัตว์ประหลาดกลับมาเป็นหลักฐาน และเมื่อ Ouwens ประจักษ์ว่าสัตว์ลึกลับมีจริง เพราะซากที่เขาเห็นมีลำตัวยาวประมาณ 3 เมตร และเป็นสัตว์สปีชีส์ใหม่ จึงตั้งชื่อว่า Varamus Komodoensis แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า มังกรโคโมโด

          อีก 14 ปีต่อมา W. Douglas Burden แห่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ American Museum of Natural History ในอเมริกาเมื่อได้ข่าวมังกรโคโมโด จึงตัดสินใจไปล่าจับมังกรตัวเป็น ๆ มาให้ซาวยุโรปดู และตั้งใจจะโชว์ซากมังกรในพิพิธภัณฑ์เพราะ Burden ชอบเก็บสะสมสัตว์แปลกๆ ดังนั้น จึงได้ระดมนักล่ามังกร ช่างภาพ และพรานป่าที่มีประสบการณ์สูงในการล่าสัตว์ รวมถึงนักชีววิทยาผู้เชี่ยวซาญเรื่องสัตว์เลื้อยคลานพร้อมลูกหาบอีก 15 คนเดินทางไปที่เกาะ Komodo เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1926 Burden กับคณะก็ได้เห็นมังกรโคโมโดตัวเป็น ๆ บนฝั่ง จึงนำเรือจอดที่อ่าว Python และรู้สึกเสมือนกำลังอยู่ในโลกดึกดำบรรพ์ ที่มีใดโนเสาร์จำนวนมากกำลังไล่ล่าฆ่ากวาง หมูป่า และควายบนเกาะ โดยได้เห็นมันคลานย่องเข้าหาเหยื่อที่ไม่ระวังตัว จนอยู่ห่างประมาณ 1 เมตร แล้วกระโจนเข้ากัดที่ท้อง สะโพก หรือขา ให้เหยื่อล้มแล้วอ้าปากที่มีฟันคมกัดทึ้งเนื้อของเหยื่อ โดยการเหวี่ยงไปมาให้เลือดไหลนอง ซึ่งทำให้เหยื่อช็อคจนหมดสติ แล้วมันก็จะกัดกินเหยื่ออย่างเลือดเย็นและรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่เหยื่อมีน้ำหนักตัวมากกว่ามันหลายเท่า แต่มันก็สามารถกินเหยื่อหมดทั้งตัวได้ภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง เช่น หมูป่าที่หนัก 50 กิโลกรัม อาจถูกกินหมดภายในเวลา 17 นาที Burden ต้องการบันทึกเหตุการณ์นี้เป็นภาพยนตร์ จึงนำซากแพะตายมาล่อและพบว่ามันชอบกินซากสัตว์ตายแล้วมากกว่าสัตว์ที่มีชีวิต

สัตว์ตระกูลกิ้งก่า

          มังกรโคโมใดเป็นสัตว์ตระกูลกิ้งก่า ตัวที่โตเต็มวัยมีลำตัวยาวตั้งแต่ 2-3.2 เมตร และอาจจะหนักมากถึง 160 กิโลกรัมสามารถวิ่งได้เร็ว 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ประมาณ 5.6 เมตร/วินาที) ชอบออกหาเหยื่อในเวลากลางวัน เพราะสายตาเห็นได้ไกล 300 เมตร เวลาอากาศร้อน อุณหภูมิร่างกายของมันจะสูงตามชอบขดตัวอยู่ในรูเพื่อลดการสูญเสียความร้อน ในเวลากลางคืนตาของมันจะเห็นเหยื่อได้ยาก จึงใช้หูและลิ้นช่วยในการหาอาหาร โดยการแลบลิ้นสองแฉกออกมาสัมผัสโมเลกุลที่ลอยมาจากตัวเหยื่อ แล้วดึงลิ้นกลับไปแตะอวัยวะรับกลิ่น ซึ่งอยู่ที่เพดานปาก จากนั้นต่อมรับกลิ่นจะส่งสัญญาณไปที่สมอง เพื่อบอกให้มันรู้ว่า สัตว์ที่กำลังจะเป็นเหยื่อคือสัตว์อะไร มังกรใคโมโดมีจมูกที่ไวมาก สามารถได้กลิ่นเหยื่อจากที่ไกล ในกรณีเหยื่อเน่าที่ส่งกลิ่นรุนแรง มังกรจะเดินถึงซากได้ในเวลาไม่นาน

          ตามปกติมังกรโคโมใดไม่ชอบกลิ่นอุจจาระ ดังนั้นลูกอ่อนของมันมักใช้วิธีหลบอยู่บนตันไม้ เพื่อหนีพ่อแม่หรือมังกรอื่นที่หิวโหย และจะลงมาคลุกตัวด้วยอุจจาระเพื่อความปลอดภัย ลูกมังกรซอบกินแมลง งู และนก เมื่อเติบใหญ่ น้ำหนักตัวของมันจะเพิ่ม และจะลงมาใช้ชีวิตบนดินมากขึ้น เหยื่อที่ชอบกินก็มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หมูป่า กวาง และควาย เมื่อขาดแคลนอาหาร มังกรโคโมโดจะว่ายน้ำข้ามทะเลไปที่เกาะใกล้เคียงซึ่งมีคนอาศัยอยู่เพื่อกินแพะ ม้า และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ของซาวบ้าน

          เมื่อถึงฤดูสืบพันธุ์ มังกรตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียจะต่อสู้กันเพื่อแย่งตัวเมีย ตัวที่ชนะจะได้ครอบครองตัวเมีย ในเดือนกันยายนของทุกปี มังกรตัวเมียจะวางไข่ในหลุมที่ขุดลึกลงไปในดิน ลูกมังกรที่เกิดใหม่มีตัวยาวประมาณ 30 เซนติเมตร และหนักประมาณ 100 กรัม ชีวิตเริ่มต้นของมันมักไม่ปลอดภัย เพราะอาจถูกมังกรตัวใหญ่กว่ากินเป็นอาหารแต่ถ้ามันรอดชีวิต อายุขัยของมังกรอาจมากถึง 25 ปี

โลกเริ่มรู้จักมังกรโคโมโดรัฐบาลเนเธอร์แลนด์

          ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1915 ที่โลกเริ่มรู้จักมังกรโคโมโดรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ที่ปกครองอินโดนีเซียในเวลานั้น ได้ออกกฎหมายคุ้มครองให้โคโมโดเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธ์ สถิติการท่องเที่ยวบนเกาะ Komodo เกาะ Ringa และเกาะ Flores แสดงว่าในทุกปีจะมีนักทัศนาจรและนักธรรมชาติประมาณ 20,000 คนไปแวะดูมังกรโคโมโดปัจจุบันความน่าสนใจของมังกรโคโมโดในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์ คือ พิษของมันซึ่งอาจจะใช้เป็นยามหัศจรรย์ได้ในอนาคต

เมื่อมังกรโคโมโดกัดเหยื่อ พิษที่อยู่ในน้ำลายของมันจะทำให้เลือดของเหยื่อไม่แข็งตัว เมื่อเลือดของเหยื่อไหลออกมาเรื่อย ๆ ความดันเลือดของเหยื่อจะลดลงจนร่างกายช็อคหมดสติ แต่เมื่อมังกรโคโมโดกัดกัน ตัวมันทั้งคู่จะไม่เป็นอะไร

เลือดของมังกรโคโมใด

          ในปีค.ศ. 2013 นักเคมีชื่อ Barney Bishop แห่งมหาวิทยาลัย George Mason ได้พบสารประกอบ Peptide หลายชนิดในเลือดของมังกรโคโมใด และคิดจะใช้ Peptide เหล่านี้เป็นยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะ Peptide ชื่อ DRGN-1 ซึ่งเมื่อนำมาทดสอบกับแบคที่เรียที่บาดแผล และพบว่าบาดแผลหายเร็ว ถึงวันนี้ Bishop กับคณะได้พบ Peptide มากกว่า 200 ชนิดแล้วในเลือดของมังกรโคโมใด และได้ทำให้โลกของยาปฏิชีวนะมีความหวังมากขึ้นว่า Peptide ที่พบจะเป็นยาที่อัศจรรย์ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Peptide ชนิด Antimicrobial AMP 48 รูปแบบ ซึ่งมีศักยภาพในการรักษาโรคได้ตั้งแต่ปอดบวม สิว วัณโรค หนองใน แม้กระทั่งโรค Anthrax องค์การอนามัยโลกมีสถิติว่า ในทุกปีคนประมาณ 700,000 คนเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อ เพราะแบคทีเรียที่คุกคามมีฤทธิ์ในการต่อต้านยาปฏิชีวนะ และ WHO คาดว่าจำนวนผู้ที่เสียชีวิตอาจจะสูงถึง 10 ล้านคนในปีค.ศ. 2050

          เมื่อ Bishop กับคณะวิจัยได้ทดสอบ AMP ที่พบในเลือดมังกรโคโมโดกับแบคที่เรียชนิดต่าง ๆ และพบว่า AMP มีสมบัติต่อต้านแบคทีเรียได้ดี จนคิดว่ามันเป็นยาวิเศษ ซึ่งหมายความว่า การจะมียานี้ โลกต้องเลี้ยงมังกรโคโมโดอย่างขนาดใหญ่ เพราะมันเป็นสัตว์ที่มีจำนวนไม่มาก ดังนั้นการทำฟาร์มมังกรโคโมโดคงไม่ใช่คำตอบ Bishop กำลังวิเคราะห์หาโครงสร้างของ Peptide ชนิดต่าง ๆ เพื่อหาทางสังเคราะห์ Peptide ทั้งหมดให้ได้ในระดับอุตสาหกรรมซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน แต่ก็ต้องทำเพื่อให้มนุษย์ปลอดภัย นอกจากมังกรโคโมโดแล้ว นักวิจัยคนอื่น ๆ ก็กำลังหาพิษจากสัตว์ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ เช่น พิษแมงมุมที่ใช้ฆ่าเซลล์มะเร็ง พิษงู Taipan ของออสเตรเลียที่ใช้ระงับอาการที่เลือดไหลไม่หยุด

คงได้รู้จักกับ มังกรโคโมโด กันแล้ว ยังไงกดติดตามคอยรับสาระดีๆแบบนี้ทางช่องของเราได้ตลอด แล้วเจอกันโอกาสหน้าครับบ!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *