อาหารรสจัด เป็นที่นิยมของคนไทยมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ยิ่งเผ็ดก็ยิ่งอร่อย พริก จึงกลายเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ขาดไปไม่ได้เลย เพราะถ้าไม่มีพริก ก็คงจะปรุงอาหารให้จัดจ้านถึงใจกันไม่ได้แน่ๆ แต่รู้มั้ยว่า พริกไม่ได้มีดีแค่ความแซ่บนะ แต่ยังดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย
พริก มาจากที่ไหน
พริกถูกค้นพบครั้งแรกที่อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ตั้งแต่เมื่อราว 7,000 ปีก่อน โดย คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส หลังจากนั้นได้มีการนำพริกมาปลูก และเผยแพร่ไปทั่วยุโรป ก่อนจะแผ่ขยายไปทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยของเรานั้น ก็รู้จักและคุ้นเคยกับการปลูกพริกมานานแล้ว สายพันธุ์ของพริกในประเทศไทย มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 831 สายพันธุ์ และสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ และพริกขี้หนูเม็ดเล็ก คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของพริก ก็คงไม่พ้นเรื่องความเผ็ด เนื่องจากในพริกมีสารแคปไซซิน (Capsicin) ซึ่งเป็นสารที่ให้ความเผ็ดร้อน โดยสารชนิดนี้จะกระจายอยู่ในทุกส่วนของพริก ส่วนที่เผ็ดที่สุดก็คือ รกหรือไส้ของพริก ในขณะที่เปลือก และเมล็ด ที่คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นส่วนที่เผ็ดที่สุด กลับมีสารนี้อยู่น้อยกว่ามาก สารแคปไซซินนี้ นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ยังมีคุณสมบัติพิเศษตรงที่ สามารถทนความร้อนได้ดี ทำให้ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการทำให้สุก หรือตากแดดจนแห้ง ก็ยังคงความเผ็ดร้อนไว้ได้ดังเดิม
พริก ยอดนิยมในประเทศไทย
- พริกจินดา ลักษณะเม็ดเป็นสีแดงสด และ สีเขียวสด มีขนาดใหญ่กว่าพริกชี้ฟ้านิดหน่อย และให้ผลดกกว่า จะมีระดับความเผ็ดที่มากกว่าพริกชี้ฟ้า และมีขนาดเม็ดที่ใหญ่กว่า
- พริกชี้ฟ้า นำมาใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ประเภทแกง ผัดพริก หลนปูหลนกุ้ง หรือ ทำ เป็น พริกน้ำส้ม พริกดอง และมีความเผ็ดที่ไม่แพ้กับพริกชนิดอื่นๆ เลย ด้วยความเด่นของพริกชี้ฟ้านั้น คือ ผลของพริกจะตั้งละชี้ไปบนฟ้า ทั้งผลดิบและผลสุก พริกจริงไม่ได้มีแต่ความเผ็ดเพียงอย่างเดียว แต่มีความสวยที่โดดเด่นที่รูปลักษณ์อีกด้วย
- พริกขี้หนูสวน เป็นพริกขนาดเล็กที่มีความเผ็ด เมื่อดิบจะมีผลสีเขียวเข็ม เมื่อสุกจะค่อยเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสเผ็ดจัด เรามักจะพบเห็นการนำพริกชนิดนี้มาปรุงเป็นเครื่องเครื่องเทศในอาหารไทยหลายชนิด
- พริกหยวก เป็นพริกที่ไม่เผ็ดมาก มีผลสีเขียว มีความแตกต่างกันพริกหนุ่มตรงที่มีขนาดผลที่อวบและใหญ่กว่า พริกหนุ่ม แต่ไม่ดิบหรือสุกก็จะมีผลสีเขียวเหมือนกัน
- พริกหวาน มีรสชาติเผ็ดน้อย เผ็ดแบบเบาๆ พอรู้สึกได้ สามารถนำมารับประทานสดในสลัดหรือนำมาผัดกับผักชนิดอื่น ๆ
ประโยชน์ของ พริก ที่มีมากกว่าเผ็ด
- ประโยชน์ของพริก ในสารแคปไซซิน ( capsaicin) ที่เป็นส่วนที่ทำให้พริกนั้นเผ็ดร้อน ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น แก้หวัด ขับลม ช่วยสูบฉีดโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ บำรุงธาตุ นำมาดองสุราหรือบดผสมวาสลิน ใช้ทาถูนวด ทาแก้เคล็ดขัดยอก แก้ปวดตามข้อฟกช้ำดำเขียว ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น และยังมีวิตามินเอสูงซึ่งเป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระอันก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ต้น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- บรรเทาอาการเจ็บปวด มีการสกัดเอาสารแคปไซซินในพ นำไปทำเป็น ขี้ผึ้ง หรือเจล ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ปวดเมื่อยตามตัว งูสวัด สารแคปไซซินในพริก จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ตามธรรมชาติ
- ช่วยลดสารที่มากีดขวางระบบทางเดินหายใจ อันเนื่องมาจากการเป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง
- ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น สังเกตได้เวลาที่เราทานพริก จะมีน้ำมูกน้ำตาไหลออกมา นั่นเป็นเพราะรสเผ็ด และสารก่อความร้อนในพริก ซึ่งช่วยลดปริมาณน้ำมูก และสิ่งกีดขวางในทางเดินระบบเราจะรู้สึกจมูกโล่ง บรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น
- ในพริกนั้นมีวิตามินซีด้วยนะ ช่วยสร้างคอลลาเจน และยังมีเบต้าแคโรทีนในพริก สารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถลดการกลายพันธุ์ของเซลล์ และช่วยทำลายเซลล์มะเร็งได้ พริกมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
- ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โดยพริกสามารถช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสได้ ซึ่งช่วยทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดลง
- ในสารแคปไซซินสามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ได้ดี ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรงขึ้น
- ป้องกันโรคโลหิตจาง เนื่องจากพบว่าในพริกนั้นมีธาตุเหล็กอยู่พอสมควร รวมถึงยังมีทองแดงที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีกรดโฟลิกที่ช่วยเสริมให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแข็งแรง
- ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ พริกยังช่วยละลายลิ่มเลือด ไม่ให้เลือดจับกันเป็นก้อน ต้านการแข็งตัวของเลือด ไม่ให้จับกันเป็นก้อน จนอุดตันหลอดเลือด ซึ่งเป็นหลายๆ สาเหตุที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจตามมาได้
- ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ค้นพบว่าในพริกขี้หนูนั้นช่วยลดอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (โดยอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะเกิดแบบค่อยเป็น ค่อยไป หรือไม่มีอาการ)
- ช่วยบำรุงสมอ มีค้นพบโดยเฉพาะในพริกขี้หนูมีธาตุเหล็กที่ช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดในสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยปรับปรุงการรับรู้ของระบบประสาทและสมองรวมถึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอัลไซเมอร์ด้วย